http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

คนไทยบริโภคเกลือสูง เสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง

คนไทยบริโภคเกลือสูง เสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง

การกินอาหารที่มีโซเดียมมากเกินไป จึงมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรค ความดันโลหิตสูง และทำให้มีการสะสมของน้ำตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย

แพทย์หญิงจุฑาธิป ลิ้มคุณากูล อาจารย์สาขาวิชาอายุรกรรม ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เผยว่า การใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนทุกวันนี้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล  บริโภคอาหารที่มีรสชาติหวานจัด มันและเค็มจัดมากเกินไป อีกทั้งยังขาดการออกกำลังกายจนส่งผลเสียต่อสุขภาพและเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ซึ่งจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2554 พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 21.4 หรือ 1.5 ล้านคน  โรคไต ร้อยละ 17.5 หรือ 7.6 ล้านคน  โรคหัวใจขาดเลือด ร้อยละ 1.4 หรือ 0.75 ล้านคน  โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ร้อยละ 1.1 หรือ 0.5 ล้านคน  โรคกลุ่มนี้เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง  โดยเฉพาะการกินอาหารรสเค็มจัด คือ อาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง โดยเฉพาะจากเครื่องปรุงรสเค็ม ได้แก่ น้ำปลา ซีอิ้วขาว เกลือ กะปิ และซอสหอยนางรม  โดยมีการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคเกลือและโซเดียมสูงเกินที่แนะนำ 2 เท่า หรือเกลือ 10.8 กรัม หรือโซเดียม 5,000 มิลลิกรัมต่อวัน

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเกลือโซเดียมเพื่อที่จะปรับพฤติกรรมการกินอาหาร “โซเดียม” เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีในอาหารธรรมชาติ เช่น ข้าว แป้ง หมู ปลา ไข่ ผัก ผลไม้  และยังมีอยู่ในเครื่องปรุงรสต่างๆ เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ้วขาว ซอสหอยนางรม ผงชูรส  รวมทั้งมีในอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง อาหารหมัก ดอง เป็นต้น  ดังนั้นแม้จะไม่ได้ปรุงอาหารเพิ่มเราก็ได้รับโซเดียมจากอาหารธรรมชาติแล้ว สำหรับหน้าที่ของโซเดียมคือคอยควบคุมการกระจายตัวของน้ำในส่วนต่างๆ ของร่างกาย  และมีผล อย่างมากต่อความดันโลหิต  ดังนั้นการกินอาหารที่มีโซเดียมมากเกินไปจึงมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรค ความดันโลหิตสูง และทำให้มีการสะสมของน้ำตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย อาทิ เกิดภาวะบวมน้ำ และการที่มีความดันโลหิตสูงในระยะยาวส่งผลต่อหลอดเลือดแดงและนำไปสู่ภาวะอันตรายต่ออวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย เช่น หัวใจ และนำไปสู่การเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และไตวายในที่สุด สำหรับปริมาณโซเดียมตามปกติที่ควรได้รับคือประมาณ 2,000 – 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน  ซึ่งในแต่ละวันเรารับประทานอาหารหลักจากธรรมชาติจะมีปริมาณโซเดียมอยู่แล้ว 350 – 450 มิลลิกรัมต่อวัน  ดังนั้นเมื่อนำไปหักจากปริมาณโซเดียมที่แนะนำต่อวัน เราจึงสามารถเติมเครื่องปรุงรสชนิดต่างๆ ได้อีกประมาณ 1,650 – 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือคิดเป็นเกลือป่น 1 ช้อนชาต่อวัน  หรือ ซีอิ้วขาว 3 – 4 ช้อนชาต่อวัน ดังนั้นหากซื้ออาหารปรุงสำเร็จรับประทานก็ควรหลีกเลี่ยงการเติมพริกน้ำปลาหรือซอสปรุงรสต่างๆ เพิ่มเติม ซึ่งการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มลงครึ่งหนึ่ง นับเป็นการป้องกันการเกิดโรคเรื้องรังต่างๆ และสร้างสุขภาพที่ดีได้อย่างยั่งยืน

http://www.thaihealth.or.th/Content/38856-คนไทยบริโภคเกลือสูง%20เสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,754,001
Page Views2,019,487
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view