http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

สายดื่มระวังเสี่ยงลำไส้แตก

สายดื่มระวังเสี่ยงลำไส้แตก 

กรณีโลกออนไลน์ สมาชิกเฟซบุ๊กชื่อว่า “Wananon Pradmontin” โพสต์ข้อความเตือนเรื่องการดื่มสุรา ระบุว่า “ขอเขียนอะไรมีประโยชน์หน่อยละกัน คนไข้มาด้วยอึดำ อ้วกเป็นเลือดถึง 4 คน เกริ่นก่อนว่านี่คือเรื่องเหล้าที่เห็นในมือไม่ใช่ขี้นะ จริงๆ มันคือเลือด เลือดที่ไหลซึมจากหลอดอาหาร เป็นเลือดที่หมักหมมอยู่ในลำไส้แตก โดนแบคทีเรียในลำไส้ย่อยสลายมาอย่างน้อยก็ 12 ชม. จนเป็นสีดำเหนียว” ภายหลังจึงมีการแชร์เพื่อเป็นอุทาหรณ์ ตามที่ปรากฏบนโลกออนไลน์

          เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 11 ก.ย. “เดลินิวส์ออนไลน์” ได้สอบถามไปยัง นพ.พลเทพ วิจิตรคุณากร อ.ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาสตร์ป้องกัน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนักวิจัยในศูนย์วิจัยปัญหาสุรา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ความรู้ว่า ปกติแล้วถ้าคนไข้มาด้วยอาการอาเจียนเป็นเลือดและถ่ายอุจจาระสีดำเหนียว จะสงสัยภาวะเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนบน โดยส่วนใหญ่แล้วสาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุด คือ โรคบาดแผลที่กระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็ก และโรคเส้นเลือดในหลอดอาหารแตก ซึ่งเมื่อผู้ป่วยอาเจียนออกมาจากตำแหน่งดังกล่าวจึงมีสีแดงสด แต่หากเลือดดังกล่าวไหลออกทางทวารหนัก จะกลายเป็นสีดำเหนียวคล้ายยางมะตอย เนื่องจากสารในเม็ดเลือดแดงในเลือดได้รวมกับกรดในกระเพาะอาหาร เลือดสีแดงสดกลายเป็นสีดำเหนียว ทั้งนี้การดื่มสุราติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน คือ สาเหตุหลักของโรคตับแข็ง ซึ่งมีโรคเส้นเลือดในหลอดอาหารแตก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการอาเจียนเป็นเลือด และถ่ายอุจจาระสีดำเหนียวดังกล่าวได้

          “เบื้องต้นแพทย์ประเมินภาวะวิกฤตฉุกเฉิน ที่อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยอาจให้สารน้ำหรือเลือดทดแทนทางหลอดเลือดดำกับคนไข้ รวมถึงอาจใส่สายสวนทางจมูกเพื่อหาสาเหตุ ก่อนที่จะปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร เพื่อส่องกล้องตรวจทางปากเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจนและให้การรักษาที่ถูกต้อง การดื่มสุราเป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรคตับแข็ง (สาเหตุอื่นๆ เช่น ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ) ที่จะทำให้เซลล์ตับได้รับความเสียหาย และมีลักษณะที่เนื้อตับเกิดพังผืด ซึ่งจะทำให้การทำงานขอบตับเสียไป และส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด ทำให้ความดันเลือดสูงในระบบหลอดเลือดดำของตับ ซึ่งจะทำให้เกิดโรคเส้นเลือดในหลอดอาหารแตกได้” นักวิจัยในศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ระบุ

          นพ.พลเทพ กล่าวต่ออีกว่า จากงานวิจัยทางการแพทย์ในปัจจุบัน ผู้ชายถ้าดื่มวันละ 60-80 กรัมของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์/วัน ส่วนผู้หญิง 20 กรัมของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์/วัน ติดกัน 10 ปีหรือมากกว่า จะเสี่ยงเป็นโรคตับแข็ง ถ้าจะอธิบายง่าย ๆ 10 กรัมของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ (1 หน่วยดื่มมาตรฐาน) จะประมาณได้กับเบียร์ 1 กระป๋อง หรือไวน์ 1 แก้ว หรือเหล้า 1 เป็ก หรือไวน์คูลเลอร์ 1 ขวด เมื่อป่วยเป็นโรคตับแข็งแล้ว ก็จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับได้

http://www.thaihealth.or.th/Content/38640-สายดื่มระวังเสี่ยงลำไส้แตก%20.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,754,000
Page Views2,019,481
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view