http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แค่วูบเดียวอาจเสียชีวิตได้!

แค่วูบเดียวอาจเสียชีวิตได้! 

จากกรณี นายสำราญ ขันทอง หน.กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น จว.พิษณุโลก เกิดวูบล้มหมดสติและเสียชีวิตขณะเดินลงจากเวทีในงานประชุมบริหารจัดการขยะมูลฝอยฯ เนื่องจากมีโรคความดันโลหิตสูง และครูวีราภรณ์ จิรวรรณาภรณ์ รร.วัดป่าประดู่ จ.ระยอง วูบล้มทั้งยืนหงายหลังเสียชีวิตในงานสัมนาพัฒนาองค์กร ด้วยโรคหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ทำให้หลายคนเริ่มรู้สึกหวาดกลัว “อาการวูบล้มหมดสติ” ว่าเกี่ยวกับโรคใดบ้างและป้องกันได้อย่างไร

          ศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ให้ความรู้ว่าอาการวูบเกิดจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คือภาวะที่หัวใจไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้แบบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่เกิดจากการที่เป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งข้อมูลจากสหรัฐอเมริกาพบการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลันปีละ 300,000-400,000 คน

          กลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการเหล่านี้คือมีคนในครอบครัวเป็นมาก่อน คนที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ยิ่งอายุมากยิ่งมีความเสี่ยงมาก โดยผู้ชายเริ่มที่อายุ 40 ปี ส่วนผู้หญิงเริ่มมีความเสี่ยงช่วงหลังหมดประจำเดือน เมื่อทราบแล้วป้องกันตัวเองก่อนโอกาสเกิดเรื่องร้ายแรงก็จะลดลงด้วย

          จากการศึกษาวิจัยที่สหรัฐอเมริกา และสวีเดน โดยติดตามประชากรกลุ่มเป้าหมายมานานกว่า 20 ปี พบว่าพฤติกรรมง่ายๆ ไม่กี่อย่างที่จะป้องกันโรคนี้ หรือคนที่เป็นโรคอยู่ก็จะลดความรุนแรง ลดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ คือ 1. ไม่สูบบุหรี่ ยิ่งเลิกได้เร็วก็ยิ่งดี และเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด 2. การไม่อ้วน ซึ่งลองวัดได้เองง่ายๆ ด้วยการเอาเชือกวัดเส้นรอบพุง กับรอบตะโพก หากรอบพุงใหญ่กว่าถือว่าเป็นโรคอ้วน 3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และ 4. การทานอาหารสุขภาพ เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ลดหวาน มัน เค็ม

          คนที่มีภาวะดังกล่าวถือว่าอันตราย จำต้องส่งถึงมือหมอเพื่อรักษาอย่างถูกวิธีประมาณ 7-8 นาที พร้อมคำนึงถึง 3 ขั้นตอนการช่วยชีวิตคือ โทรฯ แจ้งสายด่วน 1669 ระหว่างนั้นก็ทำการปฐมพยาบาลด้วยการปั๊มหัวใจ โดยต้องวางผู้ป่วยราบไปกับพื้นแข็ง ใช้มือประสานกลางอก กดให้ยุบลงประมาณ 3-5 เซนติเมตร 100-120 ครั้งต่อนาที ซึ่งทำไปจนกว่ารถพยาบาลกู้ชีพจะมารับตัว ไม่ควรย้ายผู้ป่วยเองเพราะจะทำให้การปั๊มหัวใจหยุดชะงัก เพราะตามหลักหยุดปั๊มได้ไม่เกิน 10 วินาที หรือปัจจุบันนี้จะมีเครื่องช่วยฟื้นคืนคลื่นหัวใจ (AED) ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสรอดให้ผู้ป่วยได้

http://www.thaihealth.or.th/Content/38642-แค่วูบเดียวอาจเสียชีวิตได้!%20.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,998
Page Views2,019,446
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view