http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

กำหนดหลักเกณฑ์อัตราค่ารักษาผู้ป่วย

กำหนดหลักเกณฑ์อัตราค่ารักษาผู้ป่วย 

กรมบัญชีกลางจึงกำหนดหลักเกณฑ์ และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน สถานพยาบาลของเอกชนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ. 2560 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 เมษายน 2560 ไปแล้ว

กำหนดหลักเกณฑ์อัตราค่ารักษาผู้ป่วย  thaihealth

นางสาวอรนุช ไวนุสิทธิ์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP)”  สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ กรณีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง) สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนที่ไหนก็ได้ที่ใกล้ที่สุด โดยไม่ต้องทดรองจ่ายเงินในระยะ 72 ชั่วโมงแรก  หากต้องเข้ารับการรักษาเกินกว่า 72 ชั่วโมง ให้ทดรองจ่ายในส่วนที่เกินกว่า 72 ชั่วโมง ไปก่อน แล้วนำใบเสร็จเบิกกับต้นสังกัดในภายหลัง

โฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลจะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1.กรณียังไม่พ้นภาวะวิกฤต และไม่สามารถย้ายไปโรงพยาบาลของรัฐได้ จะเบิกได้ครึ่งหนึ่งของเงินที่จ่ายไปจริง 2.กรณีพ้นภาวะวิกฤตและสามารถย้ายกลับไปยังโรงพยาบาลของรัฐได้แล้ว แต่โรงพยาบาลของรัฐไม่มีเตียงรองรับนั้น กรมบัญชีกลางจะให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของเงินที่จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 8,000 บาท ทั้ง 2 กรณี อนุญาตให้เบิกค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ได้ในอัตราของทางราชการ หากแพทย์วินิจฉัยว่าพ้นภาวะวิกฤตและสามารถย้ายไปยังโรงพยาบาลรัฐได้ แต่ปฏิเสธการย้าย ผู้ป่วยจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากพ้นภาวะวิกฤตเอง

นางสาวอรนุช กล่าวอีกว่า สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (สีเหลือง) และผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (สีเขียว) สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ครึ่งหนึ่งของเงินที่จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 8,000 บาท  โดยสามารถเบิกค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ได้เช่นเดียวกับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐโดยนำใบเสร็จและใบประเมินผลคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินมาเบิกกับต้นสังกัดในภายหลัง ในกรณีฉุกเฉินจะต้องเป็นผู้ป่วยที่บาดเจ็บ หรือป่วยกะทันหัน และต้องผ่านการพิจารณาจากระบบคัดแยกของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จึงสามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้

“การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉิน จะไม่รวมการนัดมาตรวจรักษาพยาบาล หรือการนัดมาทำหัตถการ การกำหนดหลักเกณฑ์ในครั้งนี้ กรมบัญชีกลางได้คำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้มีสิทธิ และบุคคลในครอบครัวจะได้รับ และเพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณด้านสุขภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่าเหมาะสม” โฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าว

http://www.thaihealth.or.th/Content/38649-กำหนดหลักเกณฑ์อัตราค่ารักษาผู้ป่วย%20.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,994
Page Views2,019,383
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view