http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ป้องกันผู้สูงอายุเกิด “ภาวะสำลักอาหาร”

ป้องกันผู้สูงอายุเกิด “ภาวะสำลักอาหาร”

คุณตาคุณยายหลายคนเคยไหมค่ะ เวลาที่นั่งรับประทานอาหารและพูดคุยกันอยู่ดีๆ สามารถ "เกิดภาวะสำลัก" ได้ ซึ่งอาการดังกล่าวเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ทั้งการติดเชื้อในปอดและกระแสเลือด รวมถึงจากการที่มีอาหารไปอุดกั้นทางเดินหายใจ หากลูกหลานหรือผู้ดูแลไม่ทราบถึงวิธีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง

          ในงาน "วันปฐมพยาบาลโลก 2560" ที่จัดขึ้นโดยศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุข ภาพอนามัย สภากาชาดไทย ที่ปีนี้จัดขึ้นในหัวข้อ "Domestic Accident : รู้ปฐมพยาบาล ทุกบ้านปลอดภัย" โดยมี "นายแผน วรรณเมธี" เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย "สุธาทิพย์ เชื้อภักดี" วิทยาจารย์ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย สภากาชาดไทย มีคำแนะเกี่ยวกับรับมือกับภาวะดังกล่าว ที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้อย่างคาดไม่ถึง

          วิทยาจารย์สุธาทิพย์เล่าว่า "การสำลักสิ่งของในผู้สูงวัย คือการมีสิ่งแปลกปลอม เช่น อาหารอย่างขนมปัง, ลูกชิ้นปิ้ง หรือเมล็ดผลไม้ อุดตันที่หลอดลม ซึ่งหากทิ้งไว้นานๆ จะทำให้ขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตได้ ทั้งนี้สาเหตุของการสำลักเกิดได้ทั้งจากการ 1.รับประทานอาหาร และพูดในเวลาเดียวกัน 2.ฟันปลอมหลุด หรือหากเกิดในเด็กเล็กก็มักมาจากการรับประทานอาหารและวิ่งเล่นในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาการที่พบนั้นได้แก่ 1.ผู้สูงอายุชี้ที่คอ หรือเอามือกุมคอ 2.พูดไม่ออก 3.หายใจลำบาก หรือหายใจมีเสียงดัง 4.ไอไม่มีเสียงและขย้อน 5.ผิวหน้าซีดเขียว 6.อาจชักหรือหมดสติถ้าขาดอากาศนาน

          สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น แนะนำให้ผู้สูงอายุไอก่อนเพื่อขับสิ่งของแปลกปลอมออกมา แต่ถ้าไอแล้วไม่ออกนั้นให้ใช้วิธี "ดันกะบังลม" 5 ครั้ง หรือทำไปเรื่อยๆ จนกว่าสิ่งของจะหลุดออกมา โดย "ผู้ที่ทำด้วยตัวเอง" 1.ใช้ 3 นิ้ว เช่น นิ้วโป้ง, นิ้วกลาง, นิ้วชี้ เพื่อหาตำแหน่งกะบังลม โดยวางทาบลงไปที่บริเวณลิ้นปี่ หรือเหนือสะดือต่ำกว่าอก 2.ให้กำมืออีกข้างแล้ววางลงไปยังตำแหน่งของนิ้วชี้ (นิ้วที่อยู่ตรงกลาง) 3.ใช้มือข้างที่กางนิ้วทั้ง 3 สลับมากุมยังมืออีกข้าง 4. กางแขนออกพร้อมกับก้มหน้าลงในท่ากำมือ จากนั้นให้ดันกำปั้นเข้าหาตัว และกระแทกขึ้นบนที่กะบังลมต่อเนื่องกัน 5 ครั้ง หากสิ่งของยังไม่ออกให้ทำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา

          ส่วนบ้านไหนที่มี "ลูกหลานคอยช่วยเหลือ" ให้ยืนด้านหลังผู้ป่วย และสอดขาข้างใดข้างหนึ่งของผู้ช่วยเหลือเข้าไปอยู่ตรงกลางของผู้ป่วย หลังจากนั้นกางนิ้วทั้ง 3 เพื่อหาตำแหน่งกะบังลม และกำมือของผู้ช่วยเหลือเหมือนท่าดันกะบังลมด้วยตัวเอง จากนั้นให้ผู้ป่วยก้มหน้าลง โดยที่คนช่วยเหลือดันกำมือเข้าหาตัวผู้ป่วย พร้อมกับกระแทกมือขึ้นด้านบนกะบังลม เพื่อกระตุ้นให้สิ่งของหลุดออกมา

          ขณะที่การป้องกันการสำลักนั้น 1.ไม่ควรหัวเราะ หรือดูหนังและละครตลกขำขันขณะรับประทานอาหาร 2.ควรเคี้ยวอาหารอย่าง ช้าๆ เพื่อให้ละเอียดที่สุดก่อนกลืนอาหาร 3.ผู้สูงอายุควร หลีกเลี่ยงอาหารเหนียวเคี้ยวยาก ที่อาจทำให้ติดคอและสำลักในที่สุด 4.การปรุง อาหารให้ผู้สูงอายุเน้นอาหารอ่อนนิ่ม หรือหั่นเนื้อสัตว์ให้เล็กที่สุด หรือหากเป็นผักก็หั่นให้เล็กลง และต้มให้นิ่ม เช่นกัน 

http://www.thaihealth.or.th/Content/38647-ป้องกันผู้สูงอายุเกิด%20“ภาวะสำลักอาหาร”.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,997
Page Views2,019,430
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view