http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

วอนสังคม...ร่วมแก้ปัญหาโรคซึมเศร้า

วอนสังคม...ร่วมแก้ปัญหาโรคซึมเศร้า

สถานการณ์โรคซึมเศร้าในประเทศไทย ปัจจุบันพบว่ามีคนป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การป้องกันจึงเป็นอีกหนึ่งมาตราการที่กรมสุขภาพจิตนำมาใช้ นั่นก็คือการให้ความรู้ที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวของผู้ที่ป่วยและคนใกล้เคียง ให้เกิดความรู้ความเข้าใจผ่านสื่อ หวังจะยับยั้งการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นในสังคม

          การจากไปของนักร้องดังของ เชสเตอร์ เบนนิงตัน นักร้องนำวง Linkin Park จากการฆ่าตัวตายที่มีการประเมินว่ามาจากการเป็นโรคซึมเศร้า ทำให้สังคมหันมาตระหนักและให้ความสำคัญกับโรคนี้มากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยเอง ที่โรคซึมเศร้ากำลังคืบคลานเข้ามาสู่สังคมและกำลังขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างเงียบ ๆ ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้านี้ทั้งหมดมากถึง 300 ล้านคนทั่วโลก และประเทศไทย พบว่าผู้ป่วยด้วยโลกนี้มีอยู่ 1 ล้าน 5 แสนคน ซึ่งสาเหตุของการเป็นโรคประกอบด้วยหลายปัจจัยร่วมกัน อาทิ ผิดหวังอย่างรุนแรง เศร้าเสียใจจากเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจากชีวิต โดยสาเหตุเหล่านี้กลับก่อให้เกิดการเป็นโรคซึมเศร้าขึ้นภายในจิตใจได้อย่างไม่รู้ตัว

          กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จึงได้หามาตรการการป้องกันและการหาทางออก ไม่ให้เกิดโรคซึมเศร้านี้ได้ ซึ่งการสื่อสารมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหา โดยหวังพึ่งพาการสื่อสารและหารือร่วมกันกับนักวิชาการด้านสื่อ และผู้ผลิตในแวดวงสื่อสารมวลชนของประเทศ ภาคประชาชนสังคมต้องเข้ามาเป็นส่วนร่วม สร้างความตระหนักรู้ ว่าการเป็นโรคซึมเศร้า เป็นเรื่องที่คนรอบข้างต้องให้ความใส่ใจ พร้อมใส่ความรู้เหล่านี้ลงในสื่อหลายรูปแบบ ซึ่งจะทำให้สถานการณ์โรคซึมเศร้านั้นดีขึ้น

          อาการโรคซึมเศร้านั้นนอกจากจะเกิดจากความผิดหวังแล้ว อีกสาเหตุหนึ่ง เป็นผลมาจากการไม่เชื่อมั่นในตัวเอง มีโอกาสคิดลบกับตัวเอง ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมที่ทำอันตรายกับตัวเองได้ การหาทางออกที่ดี คือ การระบายปัญหาของตัวเอง ด้วยการพูดคุยกับบุคคลอื่น เพื่อรับฟังปัญหาที่คิดมาก หรือการปรับวิธีคิดให้มีความเชื่อมั่นกับตัวเอง

          นอจากนี้ เทคโนโลยีการสื่อสารที่ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว การสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องอย่างโรคซึมเศร้าจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีขึ้นให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เพื่อที่ช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมสู่การสื่อสารความรู้สุขภาพจิตได้อย่างสร้างสรรค์และมีความเข้าใจที่ถูกต้องมากที่สุด

          ที่สำคัญคนในสังคมจะต้องร่วมกันรณรงค์สร้างความตระหนักเพื่อลดอคติหรือซ้ำเติมคนที่เป็นโรคซึมเศร้า เพราะอาจจะยิ่งกลายเป็นการตอกย้ำหรือสร้างตราบาปให้เกิดขึ้นได้ และหันมาเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องภาวะซึมเศร้าแทน เพื่อที่จะให้คนเหล่านี้ได้กลับมาสู่สภาวะปกติและหายขาดจาการเป็นโรคซึมเศร้า

http://www.thaihealth.or.th/Content/38525-วอนสังคม...ร่วมแก้ปัญหาโรคซึมเศร้า.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,993
Page Views2,019,373
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view