http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

คนไทย 80% เลี้ยงลูกด้วยสื่อไอที

คนไทย 80% เลี้ยงลูกด้วยสื่อไอที

ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2560 . เรื่องการเลี้ยงดูพ่อแม่ไทย พบการให้เด็กดูสื่อไอที ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 2 ขวบ มากถึง 80% ทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องพัฒนาการด้านภาษา

นพ.พนิต โล่เสถียรกิจ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี กรมอนามัย ในฐานะผู้วิจัยสถานการณ์พัฒนาเด็กปฐมวัยไทย พ.ศ.2557 อนาคต ที่น่าห่วง ซึ่งได้รับรางวัลผลงานวิจัยยอดเยี่ยม กล่าวว่า การสำรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัย อายุ 0-5 ปี กรมอนามัยจะดำเนินการทุก 3-5 ปี โดยจากการเก็บข้อมูลเมื่อปี 2557 ซึ่งเก็บข้อมูลจากเด็กปฐมวัยทุกเขตสุขภาพรวมมากกว่า 10,000 คน พบว่า ภาพรวมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทยอยู่ที่ 70% แต่เมื่อแยกเป็นรายเขตสุขภาพจะพบว่า พัฒนาการสมวัยนั้นมีความแตกต่างกัน

โดยพื้นที่ภาคเหนือมีพัฒนาการสมวัยสูงสุดประมาณ 85% ส่วนที่น่าเป็นห่วง คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ พัฒนาการสมวัยอยู่ที่ประมาณ 50-60%  เท่านั้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กนั้น หากไม่นับเรื่องของพันธุกรรมแล้ว ปัจจัยหลักๆ จะมีอยู่ 3 ด้าน คือ 1. ตัวเด็กเอง เช่น การคลอดก่อนกำหนด การขาดออกซิเจน เป็นต้น ซึ่งประเด็นนี้ทางระบบบริการสาธารณสุขพยายามเร่งดูแลให้เด็ก มีพัฒนาการสมวัยขึ้น

2. สิ่งแวดล้อม เช่น เศรษฐานะของครอบครัว โดยพบว่าหากครอบครัว ที่มีรายได้สูงกว่า 20,000 บาทต่อเดือน เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีกว่าครอบครัว ที่มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่าหมื่นบาท อย่างชัดเจน เพราะครอบครัวที่มีรายได้ ดีกว่าก็จะมีเวลาในการเลี้ยงลูก เล่นกับลูก อ่านนิทานให้ลูกฟังมากกว่าครอบครัวที่ รายได้น้อยที่อาจให้ความสำคัญกับเรื่อง ปากท้องมากกว่า หรือเรื่องของการศึกษาของพ่อแม่ โดยพบว่าพ่อแม่ที่มีวุฒิการศึกษาสูง จะเลี้ยงลูกได้มีคุณภาพกว่า เป็นต้น

3. เรื่องการเลี้ยงดู ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญ เพราะแม้เด็กปกติที่มีพัฒนาการดี แต่หากมีการเลี้ยงดูที่ไม่ดีก็ทำให้พัฒนาการเด็กต่ำลงได้ หรือแม้พัฒนาการเด็กจะไม่ดีตั้งแต่เกิด แต่หากมีการเลี้ยงลูกที่ดีก็ช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ดีขึ้นมาได้เช่นกัน

โดยเฉพาะเรื่องของการให้เด็กดูสื่อไอที ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 2 ขวบ ซึ่งพบมากถึง 80% ทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องพัฒนาการด้านภาษา ขณะที่พ่อแม่ที่เล่นกับเด็กอย่างมีคุณภาพ คือ เล่นกับลูก 5 วันต่อสัปดาห์ นานวันละ 30 นาที มีเพียง 50% และพ่อแม่ ที่เล่านิทานให้เด็กฟังอย่างมีคุณภาพมีเพียง 20% เท่านั้น ทั้งที่เป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

"ที่ภาคอีสานมีเด็กพัฒนาการไม่สมวัย สูงที่สุด คาดว่ามาจากวัยทำงานของภาคอีสาน เดินทางมาใช้แรงงานอยู่ที่ภาคอื่นมาก และ เมื่อมีบุตรก็จะส่งกลับมาให้ปู่ย่าตายายเลี้ยงดูแทน ซึ่งต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่ง อาจดูแลเด็กได้ไม่ดีเท่าไร โดยให้เด็กดูโทรทัศน์ และมีการเล่นกับเด็กน้อย เนื่องจากอายุที่มากทำให้ลงไปเล่นกับเด็กไม่ไหว เป็นต้น"

ทั้งนี้ จากการทำวิจัยดังกล่าวทำให้ ผู้บริหาร สธ.เข้าใจภาพรวมของพัฒนาการเด็กมากขึ้น และเป็นข้อมูลให้ผู้ตรวจราชการ สธ.ในแต่ละเขตสุขภาพใช้ในการผลักดันนโยบายแก้ปัญหาพัฒนาการเด็ก ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีความจำเพาะแตกต่างกัน เช่น เขตสุขภาพที่ 6 พบว่า มีการให้ยาน้ำเสริม ธาตุเหล็กน้อยเพียง 20% ก็ทำให้เกิดนโยบายที่ส่งเสริมให้ใช้ยาดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น

จึงทำให้เกิดการขับเคลื่อนทั้งประเทศ และทุกเขตสุขภาพ ซึ่งในปี 2560 นี้ อยู่ระหว่างการสำรวจพัฒนาการเด็ก ปฐมวัยครั้งใหม่ ก็จะนำผลมาดูว่าหลังจากมีการขับเคลื่อนนโยบายแล้ว พัฒนาการของเด็กดีขึ้นหรือไม่ ยังมีปัญหาอะไร ที่ต้องแก้ไขหรือไม่

พัฒนาการเด็กปฐมวัยแต่ละเขตสุขภาพ

พัฒนาการของเด็กแต่ละเขตสุขภาพตามงานวิจัยดังกล่าว แบ่งตามได้ดังนี้ เขตสุขภาพที่ 1 (เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา) อยู่ที่ 85.6% ถือว่าสูงที่สุดในประเทศ เขตสุขภาพที่ 2 (ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์) อยู่ที่ 74.9% เขตสุขภาพที่ 3 (ชัยนาท กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี) อยู่ที่ 84.7%

เขตสุขภาพที่ 4 (สระบุรี อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นครนายก) อยู่ที่ 81.6% เขตสุขภาพที่ 5 (กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร) อยู่ที่ 70.7% เขตสุขภาพที่ 6 (ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว สมุทรปราการ จันทบุรี ชลบุรี  ระยอง ตราด) อยู่ที่ 73.7%

เขตสุขภาพที่ 7 (กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด) อยู่ที่ 71.1% เขตสุขภาพ ที่ 8 (บึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี นครพนม สกลนคร) อยู่ที่ 66.3% เขตสุขภาพที่ 9 (ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์) อยู่ที่ 74.9% เขตสุขภาพที่ 10 (มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ) อยู่ที่ 56.6% ถือว่าต่ำที่สุดในประเทศ

เขตสุขภาพที่ 11 (ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง) อยู่ที่ 64.5% และเขตสุขภาพที่ 12 (พัทลุง ตรัง นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา สตูล) อยู่ที่ 70.9%

http://www.thaihealth.or.th/Content/38539-คนไทย%2080%20เลี้ยงลูกด้วยสื่อไอที.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,993
Page Views2,019,363
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view