http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เผย ‘วัยทำงาน’ เสี่ยง ‘ฆ่าตัวตายสูง’

เผย ‘วัยทำงาน’ เสี่ยง ‘ฆ่าตัวตายสูง’

แพทย์เผย ‘วัยทำงาน’ เสี่ยง ‘ฆ่าตัวตายสูง’ ย้ำมีปัญหาชีวิตปรึกษาสายด่วน 1323

          วันที่ 7 กันยายน 2560 ที่โรงพยาบาลราชวิถี นพ.ณัฐกร จำปาทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กล่าวในงานสัมมนาเนื่องในวันการป้องกันการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 11 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 กันยายนว่า ปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายมาก ซึ่งในประเทศไทยมีการพยายามฆ่าตัวตายอยู่ที่ปีละ 30,000 ถึง 40,000 รายต่อปี และมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จเฉลี่ยปีละ 6 ต่อหนึ่งแสนประชากร หรือปีละ 4,000 คน หรือ 2 ชั่วโมงต่อหนึ่งคน ซึ่งจากข้อมูลใน 2 ปีที่ผ่านมา พบว่าในปี 2558 มีค่าเฉลี่ยที่ 6.47 คนต่อ 1 แสนประชากร และในปี 2559 คาดว่าจะมีค่าเฉลี่ยที่ 6.35 คนต่อ 1 แสนประชากร อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล ซึ่งภายในปี 2564 จะต้องทำให้เหลือค่าเฉลี่ยที่ 6 คนต่อ 1 แสนประชากร และจังหวัดที่ฆ่าตัวตายเยอะที่สุดในปี 2557-2558 คือ จ.ลำพูน และในปี 2559 ที่กำลังรวบรวมข้อมูล คาดว่าจะสูงสุดใน จ.จันทบุรี และภาคกลางมีแนวโน้มว่าจะมีการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น

          นพ.ณัฐกรกล่าวอีกว่า ยังพบว่าจะมีการฆ่าตัวตายสูงที่สุดใน 3 ช่วง คือ ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ช่วงเดือนกรกฎาคมในเทศกาลเข้าพรรษา และช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ กลุ่มที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุดคือ 1.วัยทำงานอายุ 35-43 ปี รองลงมาคือผู้สูงอายุอายุ 70 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ ในการลดจำนวนการฆ่าตัวตาย ควรรณรงค์ให้ทุกคนเห็นคุณค่าในตัวเอง เอาชนะตัวเองจากปัญหาบางสิ่งบางอย่างให้ได้ เพราะกำลังใจที่ดีที่สุดคือกำลังใจจากตัวเอง นอกจากนี้ ผู้ใกล้ชิดก็ควรรับฟัง เพราะผู้ที่จะฆ่าตัวตายมักจะลังเล ซึ่งควรรับฟังโดยใช้เหตุผล และอย่าลืมขอบคุณที่เขาเล่าเรื่องให้ฟัง อย่ามองข้ามคำว่าขอบคุณ เพราะสำคัญมาก การที่มีคนมาขอบคุณเรา จะรู้สึกว่าเรามีตัวตนในโลก มีค่าต่อคนอื่น

          ผศ.นพ.ปราการ ถมยางกูร นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช รพ.ราชวิถี กล่าวว่า คนที่กำลังคิดจะฆ่าตัวตายจะมีอีกความคิดว่าต้องการคนที่เข้าใจ คนที่จะมาช่วยเขาได้ ดังนั้น การฆ่าตัวตายป้องกันและช่วยเหลือได้หากเข้าไปได้ทันเวลา เห็นได้จากที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะมีสายด่วนให้คำปรึกษา เช่น สายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 สายด่วนสมาคมมาริตันส์แห่งประเทศไทย 0-2713-6793 ซึ่งคนที่กำลังคิดจะฆ่าตัวตายจะมีสัญญานเตือนที่แตกต่างกันไป เช่น บางคนจากเคยเป็นคนร่าเริงก็กลับมีความซึมเศร้า ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง บางคนมีสัญญาณของความซึมเศร้าให้เห็น แต่เมื่อตัดสินใจว่าจะฆ่าตัวตายกลับร่าเริง

          “รายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่า การฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 ครั้ง จะส่งผลกระทบต่อคน 6 คนขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นพ่อ-แม่ ญาติ หรือเพื่อน หรือแม้กระทั่งในกรณีผู้ฆ่าตัวตายเคยเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ผู้ให้คำปรึกษาจะรู้สึกเศร้าเช่นเดียวกัน และผู้ที่ได้รับข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ 10% จะรู้สึกสะเทือนใจ วิธีที่จะเยียวยาได้คือ ครอบครัวต้องคิดถึงสิ่งดีๆ ที่ผู้จากไปเคยทำ และอยู่ต่อไปเพื่อทำสิ่งดีๆ ให้ผู้จากไปแล้ว นอกจากนี้ สังคมหรือคนใกล้ชิดสามารถช่วยด้วยการทำให้เขารู้สึกว่าไม่ได้อยู่คนเดียว ให้เขาสามารถออกมาจากมุมมืดได้” ผศ.นพ.ปราการกล่าว

http://www.thaihealth.or.th/Content/38542-เผย%20‘วัยทำงาน’%20เสี่ยง%20‘ฆ่าตัวตายสูง’.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,754,000
Page Views2,019,471
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view