http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะกินแคลเซียมให้พอดี

แนะกินแคลเซียมให้พอดี

ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2560 ของสำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.) หน่วยวิจัยด้านแคลเซียม และกระดูก และภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคแคลเซียม ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมที่มีประสิทธิภาพการดูดซึมสูง

ศ.ดร.นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ เมธีวิจัยอาวุโส เปิดเผยว่า แม้ร่างกายจะต้องการแคลเซียมเพียงเล็กน้อยวันละ 800 มิลลิกรัมสำหรับผู้ใหญ่ แต่ก็เป็นแร่ธาตุ ที่มีความสำคัญต่อร่างกายทุกระบบ แคลเซียมกว่าร้อยละ 99 เก็บสะสมภายในกระดูกทั่วร่างกาย จึงใช้ "ความหนาแน่นของกระดูก" เป็นตัวชี้วัด รวมถึงการคาดการณ์ถึงความแข็งแรงและความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหัก โดย มีตัวแปรที่ขึ้นอยู่กับอายุและตำแหน่งของกระดูก

กระดูกจะมีความหนาแน่นสูงสุดที่อายุประมาณ 30 ปี และจะค่อนข้างคงที่อีก ประมาณ 15-20 ปี จากนั้นจะเริ่มลดลงโดยเฉพาะในผู้หญิงที่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนหลังหมดประจำเดือน กระดูกจะเริ่มสูญเสียแคลเซียมอย่างรวดเร็วจนเกิดกระดูกพรุนและกระดูกหักได้

ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงวัยกระดูกพรุน ทั้งจากอายุที่มากขึ้น โรคในผู้สูงอายุทั้งความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันสูงในเลือด อ้วน และโรคทางเมแทบอลิซึม เป็นต้น

เมธีวิจัยอาวุโส สกว.ระบุว่า เราควรรับประทานแคลเซียมเสริมหรือยาเม็ดแคลเซียมเมื่อมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่า ร่างกายขาดแคลเซียม ส่วนเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ยังไม่สูงอายุควรรับประทานแคลเซียมตามที่สำนักโภชนาการ กรมอนามัย แนะนำ โดยปรับอาหารให้มีแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสม การเสริมแคลเซียมมากเกินแทบจะไม่ได้ประโยชน์ แต่เนื่องจากคนไทยทั่วไปรับประทานแคลเซียมไม่ถึงปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน การพัฒนาอาหารเสริมแคลเซียมหรือผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมที่ดูดซึมได้ดีจึงยังมีความจำเป็น เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมเสริม

"ผลการวิจัยยืนยันว่าเซลล์ของลำไส้ดูดซึมแคลเซียมได้จำกัด คือ ดูดซึมได้ประมาณร้อยละ 15-20 ของปริมาณที่รับประทาน หากต้องการให้อัตราการดูดซึมสูงขึ้น เซลล์ต้องได้รับการกระตุ้น ด้วยฮอร์โมน เช่น วิตามินดี โพรแลคติน (ในระหว่างให้นมบุตร) หรือเอสโตรเจน แต่การให้ฮอร์โมนเสริมไม่ใช่ทางเลือกที่ปลอดภัย จึงต้องมีการวิจัยเพื่อเติมองค์ประกอบบางอย่างลงในผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม เพื่อกระตุ้นให้เซลล์ลำไส้ทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น"

ผู้ที่รับประทานแคลเซียมเกินกว่าปริมาณที่แนะนำ โอกาสเกิดโทษจากแคลเซียมเกินขนาดก็ยังไม่สูงมากนัก (เว้นแต่รับประทานสูงกว่าปกติ 2-3 เท่าขึ้นไป) เช่น อาจเพิ่มโอกาสที่ทำให้เกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหรือโรคทางสมองบางชนิดได้ ทั้งนี้ในร่างกายมีกลไกระดับเซลล์และการใช้ฮอร์โมนในการควบคุมอัตราการดูดซึมแคลเซียม จากอาหารเข้าสู่ร่างกาย หากดูดซึมมากเกินไปเซลล์ของลำไส้จะมีการสร้างสารเคมี "ไฟ โบรบลาสต์โกรทแฟคเตอร์-23" เพื่อยับยั้งการดูดซึมแคลเซียม เป็นต้น

http://www.thaihealth.or.th/Content/38415-แนะกินแคลเซียมให้พอดี.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,996
Page Views2,019,411
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view