http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ขึ้นภาษีเครื่องดื่มรสหวานจัด

ขึ้นภาษีเครื่องดื่มรสหวานจัด

อย.ชี้เก็บภาษีเครื่องดื่มตามปริมาณ "น้ำตาล" ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ชนิดผง "ทรีอินวัน" กลุ่มหัวเชื้อที่ต้องผสมน้ำ ย้ำวัดค่าน้ำตาลตามหน่วยบริโภค ยัน "น้ำผัก-ผลไม้" ต้องเสียภาษีด้วย หวังเติมน้ำตาลน้อยลงเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแท้จริง เชื่อไม่เป็นภาระ ปชช. เหตุผู้ประกอบการหันทำสูตรน้ำตาลน้อยมากขึ้น รองรับตลาดสุขภาพ

น.ส.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีกระทรวงการคลังเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอัตราภาษีเครื่องดื่มตามระดับความหวาน รองรับ พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ว่า คำนิยามของเครื่องดื่มที่จะต้องเสียภาษีตามค่าความหวานหรือภาษีน้ำตาลนั้น กรมสรรพสามิตได้อ้างอิงตามคำนิยามของ อย. ซึ่งไม่ได้มีแค่เครื่องดื่มที่เป็นน้ำเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเครื่องดื่มผงที่ต้องชงดื่ม เช่น กลุ่มทรีอินวัน เป็นต้น หรือเครื่องดื่มที่เป็นหัวเชื้อ เช่น น้ำหวานเข้มข้น เป็นต้น ที่จะต้องนำมาผสมน้ำตามอัตราส่วนบนฉลากเพื่อเป็นเครื่องดื่มในการบริโภคด้วย

"สำหรับการคิดอัตราภาษีความหวานนั้นจะเป็นลักษณะของ "เซิร์ฟวิงไซส์ (Serving Size)" คือวัดค่าน้ำตาลตามหน่วยบริโภค อย่างน้ำหวานเข้มข้น ก็จะคิดหลังจากผสมน้ำตามสัดส่วนที่กำหนดแล้ว เช่น ผสมออกมาเป็น 1 แก้ว 200 มิลลิลิตร มีน้ำตาลอยู่เท่าไร ก็ค่อยคิดภาษีตามอัตราใหม่ที่กรมสรรพาสามิตกำหนด" น.ส.ทิพย์วรรณ กล่าวและว่า การที่ อย.มีข้อกำหนดในเรื่องของฉลากโภชนาการด้านหลังของผลิตภัณฑ์ และฉลากหวานมันเค็ม หรือฉลากจีดีเอ เพื่อแสดงข้อมูลส่วนผสมของเครื่องดื่ม ช่วยให้กรมสรรพสามิตทราบถึงส่วนประกอบทั้งหมดภายในผลิตภัณฑ์นั้น และจัดเก็บภาษีได้ง่ายขึ้น

เมื่อถามถึงน้ำผักผลไม้จำนวน 111 รายการที่ได้รับการยกเว้นการเสียภาษีสรรพสามิต เพื่อช่วยเหลือภาคเกษตรกร แต่ต้องมาเสียภาษีน้ำตาลแทน น.ส.ทิพย์วรรณ กล่าวว่า ปัจจุบันเครื่องดื่มมากกว่า 50-60% ล้วนมีส่วนผสมของน้ำตาลทั้งสิ้น อย่างน้ำผัก น้ำผลไม้ก็มีการเติมน้ำตาลลงไปอีก ทั้งที่ผักหรือผลไม้ก็มีน้ำตาลในตัวเองอยู่แล้ว อย.จึงเสนอว่าไม่ควรยกเว้น ควรมีการจัดเก็บภาษีที่ทัดเทียมกัน ที่สำคัญเพื่อให้เป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพจริงๆ สำหรับการคิดภาษีน้ำตาลจะคิดแบบ "โทเทิลซูการ์ (Total Sugar)" คือน้ำตาลทั้งหมดในเครื่องดื่ม ไม่มีการแยกว่าเป็นน้ำตาลที่เกิดจากวัตถุดิบของเครื่องดื่มอยู่แล้ว เช่น น้ำตาลจากผักและผลไม้ เป็นต้น แล้วจะไม่คิดภาษี เพราะการตรวจสอบทำได้ยากและค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงใช้วิธีการคิดน้ำตาลทั้งหมดในเครื่องดื่ม

ผู้สื่อข่าวถามถึงข้อกังวลจะเป็นการผลักภาระให้ผู้บริโภค เพราะเมื่อเสียภาษีมากขึ้นจากน้ำตาล อาจมีการขึ้นราคาเครื่องดื่ม น.ส.ทิพย์วรรณ กล่าวว่า แนวโน้มไม่น่าเป็นเช่นนั้น เพราะจากการที่มีการส่งสัญญาณเรื่องการเก็บภาษีตามค่าน้ำตาลหรือความหวานมาก่อนหน้านี้ พบว่า ผู้ประกอบการเครื่องดื่มให้ความสนใจจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าตลาดเครื่องดื่มขณะนี้มีผลิตภัณฑ์ประเภทสูตรน้ำตาลน้อยออกมามากขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการเองก็อยากจะปรับตัวทำเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เพื่อรองรับเทรนด์รักสุขภาพที่กำลังมาในช่วงนี้ และเป็นการทดลองตลาดก่อนที่จะมีการเก็บภาษีจริง ซึ่งเท่าที่มีผู้ประกอบการเครื่องดื่มเข้ามาพูดคุยกับ อย.หลายรายก็พบว่า ยินดีที่จะทำสูตรน้ำตาลน้อยลงทั้งนั้น เพราะตลาดมีความเป็นไปได้ ลดต้นทุนจากการใช้น้ำตาล และจ่ายภาษีน้อยลง และที่สำคัญเป็นการเริ่มพร้อมกันทั่วประเทศในการคิดภาษี ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ ที่สำคัญหากเป็นสูตรน้ำตาลน้อย ก็สามารถมาขอฉลาก "ทางเลือกเพื่อสุขภาพ (Healthier Choice)" จาก อย.ได้อีก ก็เป็นการการันตีว่า เป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ

http://www.thaihealth.or.th/Content/38188-ขึ้นภาษีเครื่องดื่มรสหวานจัด.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,987
Page Views2,019,299
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view