http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่

เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่

สพฉ.ชื่นชมนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่” ประสบผลสำเร็จ และลดปัญหาความแออัดของผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน

นายแพทย์สัญชัย ชาสมบัติ  ผู้ช่วยเลขาธิการและโฆษกสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่า การดำเนินงานตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่”(Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) ที่ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติทุกสิทธิ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ต้องสำรองจ่ายในระยะ 72 ชั่วโมงแรก ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาหลังประกาศนโยบายฯ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน จนถึง 31 กรกฎาคม2560 พบว่า ประสบความสำเร็จด้วยดี และยังสามารถแบ่งเบาปัญหาความแออัดของผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลรัฐได้

นายแพทย์สัญชัย กล่าวต่อไปว่า มีผู้ขอใช้บริการแล้ว จำนวน 10,554 ราย เข้าเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจำนวน 4,654ราย คิดเป็น 44% ของผู้ของใช้บริการทั้งหมด ที่โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 264 แห่ง    ใน 62 จังหวัด กลุ่มผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ พบว่า มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน3,001ราย           สิทธิสวัสดิการข้าราชการฯ จำนวน 884ราย สิทธิประกันสังคม จำนวน 568 ราย ที่เหลือเป็นสิทธิอื่นๆ โดยกลุ่มอาการเจ็บป่วยส่วนใหญ่ได้แก่ หายใจติดขัดลำบาก (19.75%), อัมพาต แขนขาอ่อนแรง (14.31%), เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน (13.79%)และ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว (11.22%) ตามลำดับ

นายแพทย์สัญชัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติที่จะเข้าเกณฑ์การใช้สิทธิ UCEP ได้ คือ มีการกู้ชีพหรือประคองชีพด้วยมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น ใส่เครื่องช่วยหายใจ ให้ยาควบคุมความดันและการเต้นของหัวใจ หรือมีความเสี่ยงสูงที่จะต้องมีการกู้ชีพหรือประคองชีพ โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่มอาการเจ็บป่วยหลักที่จะนำมาสู่ภาวะฉุกเฉินวิกฤติ คือ1) หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ2) หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง3) ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม4) เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง5) แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด และ6) มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

ทั้งนี้ ความสำเร็จจากการดำเนินงานดังกล่าวต้องขอขอบคุณและขอชื่นชมโรงพยาบาลเอกชน ที่ให้ความร่วมมือต่อนโยบายดังกล่าวเป็นอย่างดี ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ป่วยตามสิทธิต่างๆ จะต้องเข้ารับบริการในโรงพยาบาลตามสิทธิ ที่ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลรัฐ นโยบายนี้ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอดจากภาวะฉุกเฉินวิกฤติ ช่วยให้เข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว และช่วยลดความแออัดในการรับบริการที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลรัฐต่างๆ ลงได้อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่สามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้ เช่น การสร้างความเข้าใจในคำนิยามต่างๆ ให้ตรงกัน และการกำหนดอัตราเรียกเก็บค่าบริการให้สอดคล้องกับต้นทุน เป็นต้น

นายแพทย์สัญชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า หากประชาชนมีการเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเรียกใช้บริการแพทย์ฉุกเฉิน ได้ที่สายด่วน 1669 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการประจำอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

http://www.thaihealth.or.th/Content/38153-เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ%20มีสิทธิทุกที่.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,987
Page Views2,019,302
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view