http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย. ยืนยัน สารกันเสียในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวไม่เป็นอันตราย หากใส่ในปริมาณที่กำหนด

อย. ยืนยัน สารกันเสียในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวไม่เป็นอันตราย ย้ำผู้ประกอบการตรวจสอบปริมาณที่สามารถใส่ได้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เตือนผู้บริโภคที่ผิวแพ้ง่ายอ่านฉลากก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัย

          เภสัชกรสมชาย ปรีชาทวีกิจ ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่มีการส่งต่อข้อมูลเรื่องสารตกค้างในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว 4 ชนิด ได้แก่ ไตรโคลซาน (Triclosan), เมทิลไอโซไทอะโซลิโนน (Methylisothiazolinone), พาราเบน (Parabens) และ โซเดียมลอริลซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulfate) เป็นสารที่ต้องระวังเนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. ) ขอชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวว่า อย. ได้มีการทบทวนติดตามมาตรฐานการใช้   ของสารไตรโคลซาน เมทิลไอโซไทอะโซลิโนน และสารกลุ่มพาราเบน ซึ่งจัดเป็นสารกันเสีย ยังอนุญาตให้ใช้   ในเครื่องสำอางได้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง วัตถุกันเสียที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง พ.ศ.2560 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2560 ซึ่งในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนและสหภาพยุโรปก็ได้กำหนดปริมาณและเงื่อนไขการใช้เช่นเดียวกับประเทศไทย โดยกำหนดชนิดและความเข้มข้นสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ นอกจากนี้ สารกันเสียบางรายการได้ถูกกำหนดเงื่อนไขการใช้ เช่น เครื่องสำอาง       ที่อนุญาตให้ใช้สารไตรโคลซานเป็นสารกันเสียในความเข้มข้นไม่เกิน 0.3% ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด   ที่ใช้แล้วล้างออก (ยาสีฟัน สบู่เหลว แชมพู ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเล็บก่อนทำเล็บเทียม ผลิตภัณฑ์         ทำความสะอาดผิวหน้า), ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย (ไม่ใช่รูปแบบสเปรย์), แป้งทาหน้า และผลิตภัณฑ์ปกปิดริ้วรอยเฉพาะที่ (Blemish concealers) ในกรณีที่ใช้ในช่องปากจะใช้ได้ไม่เกิน 0.2% ส่วนสารกลุ่มพาราเบน แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ สารพาราเบนที่มีความเสี่ยงสูงอาจก่อให้เกิดมะเร็ง ได้แก่ สารไอโซโพรพิลพาราเบน (Isopropylparaben), ไอโซบูทิลพาราเบน (Isobutylparaben), ฟีนิลพาราเบน (Phenylparaben), เบนซิลพาราเบน (Benzylparaben) และเพนทิลพาราเบน (Pentylparaben) ซึ่งได้ถูกจัดให้เป็นสารห้ามใช้ ในเครื่องสำอางแล้ว และสารพาราเบนตัวอื่น ๆ ที่จัดเป็นสารกันเสียตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ใช้ได้ตามปริมาณและเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น สำหรับกรณีของสารโซเดียม ลอริล ซัลเฟต จัดเป็นสารที่ใช้ทำความสะอาดชำระสิ่งสกปรก เป็นสารลดแรงตึงผิว และทำให้เกิดฟองในเครื่องสำอาง สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และอาเซียน ได้อนุญาตให้ใช้ในเครื่องสำอางมาเป็นเวลานานแล้ว ปัจจุบันยังมีการใช้ได้ซึ่งไม่ควรเกิน 15% สำหรับผู้บริโภคที่ผิวแพ้ง่ายอาจพิจารณาส่วนผสมจากฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อหลีกเลี่ยงสารดังกล่าว

          เลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า อย. ขอเตือนผู้บริโภคขอให้ระมัดระวังการซื้อเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ โดยดูฉลากผลิตภัณฑ์และสูตรส่วนประกอบ ทางด้านของผู้ผลิตและจำหน่ายขอให้ประกอบการอย่างมีคุณธรรม อย่าเห็นแก่ผลกำไร หรือหลอกลวงผู้บริโภคไม่ว่าจะช่องทางใดก็ตาม หาก อย. ตรวจพบสารห้ามใช้ หรือสารที่ผสมเกินปริมาณที่กำหนด จะต้องถูกดำเนินคดีทางกฎหมายอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ หากผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือมีข้อสงสัยในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือผ่านทาง Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทั่วประเทศ 

https://oryor.com/oryor2015/news-update-detail.php?cat&id=1167

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,996
Page Views2,019,405
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view