http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เตือนหลับในรถ'อันตราย'

เตือนหลับในรถ'อันตราย'

หากรู้ตัวว่าตัวเองนั้นต้องขับรถเดินทางไปไหนไกลๆ สิ่งแรกที่ควรคำนึงเลยก็คือ การพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อที่จะได้ขับรถอย่างมีสติ ไม่หลับใน ปลอดภัยทั้งเราและคนที่นั่งมาด้วย หากเราพักผ่อนมาไม่เพียงพอแล้ว ร่างกายจะอ่อนเพลีย รู้สึกง่วงจนต้องหยุดนอนพักข้างทาง สิ่งที่อันตรายที่สุดของการนอนในรถ คือ ด้วยความรักสบาย คนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะเปิดแอร์ทิ้งไว้ขณะหลับ นั่นถือว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า การสตาร์ตเครื่องยนต์ทิ้งไว้แล้วเปิดแอร์นอนเป็นภัยใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม และด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพื่อความปลอดภัยขอแนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันการเสียชีวิตจากการนอนหลับในรถที่สตาร์ตเครื่องยนต์  ดังนี้   เนื่องจากระบบเครื่องปรับอากาศในรถยนต์จะดูดควันจากท่อไอเสียรถยนต์ที่เป็นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้ามาหมุนเวียน เมื่อสูดดมเข้าสู่ร่างกายปริมาณมากเป็นเวลานานจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ เซื่องซึม และมึนงง หายใจติดขัด หมดสติและไม่รู้สึกตัว หัวใจเต้นผิดปกติ เพราะฮีโมโกลบินในเลือดลดลงระบบประสาทส่วนกลางได้รับผลกระทบ หมดสติและอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

เมื่อจำเป็นต้องนอนในรถหาที่จอดรถพักบริเวณที่ปลอดภัย อาทิสถานีบริการน้ำมัน จุดพักรถริมทาง ป้อมตำรวจทางหลวง หรือบริเวณที่มีแสงไฟส่องสว่าง ไม่จอดรถบริเวณที่ไม่มีอากาศถ่ายเท อาทิ ลานจอดรถชั้นใต้ดินเพราะอากาศไม่ไหลเวียน ทำให้สูดดมควันจากท่อไอเสียเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากดับเครื่องยนต์และปิดเครื่องปรับอากาศป้องกันเครื่องปรับอากาศดูดควันจากท่อไอเสียเข้ามาหมุนเวียนในห้องโดยสารทางช่องแอร์หรือขอบยางรอยต่อกระจก เปิดพัดลมแอร์แทนเครื่องปรับอากาศจะช่วยดูดอากาศจากภายนอกให้เข้ามาหมุนเวียนในห้องโดยสาร ลดกระจกลงทั้ง 4 ด้าน หรือด้านใดด้านหนึ่งเล็กน้อยเพื่อระบายอากาศ

ไม่นอนหลับในรถนานเกินไป ควรพักหลับ 30-40 นาที จะช่วยคลายความอ่อนล้า ทั้งนี้ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เบากว่าอากาศเมื่อเข้าไปสะสมในร่างกาย ทำให้ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ได้น้อยลง ส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานผิดปกติ หากได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณมากจะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนอย่างฉับพลันจนถึงขั้นเสียชีวิตได้.

http://www.thaihealth.or.th/Content/37820-เตือนหลับในรถ'อันตราย'.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,993
Page Views2,019,374
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view