http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

มาตรการดูแลสุขภาพหน้าหนาว

มาตรการดูแลสุขภาพรับหน้าหนาว

           ‘กรมควบคุมโรค แนะนำประชาชนปฏิบัติตาม 3 มาตรการ รู้เตรียม-รู้ระวัง-รู้สะอาด ดูแลสุขภาพในช่วงหน้าหนาว ขณะที่สภาพอากาศแห้ง อาจก่อให้เกิดโรคผิวหนังได้

           ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่เข้าสู่ฤดูหนาว กรมควบคุมโรค จึงมีความห่วงใยในสุขภาพของประชาชน เพราะจากสภาวะอากาศเช่นนี้อาจส่งผลให้เกิดโรคภัยต่างๆ แทรกซ้อนได้ง่าย โดยเฉพาะใน 3 กลุ่มเสี่ยง คือ 1.กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี 2.กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และ 3.กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคตับ โรคไต และโรคโลหิตจาง เป็นต้น เนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคต่ำ จะเจ็บป่วยง่าย และเมื่อป่วยแล้ว อาการมักรุนแรงกว่าประชาชนทั่วๆไป กรมควบคุมโรคจึงขอแนะนำประชาชนปฏิบัติตาม 3 มาตรการ คือ รู้เตรียม รู้ระวัง รู้สะอาด โดยใช้หลัก 555 ได้แก่ 5 เตรียม 5 ระวัง และ 5 สะอาด ดังนี้

           รู้เตรียม-รู้ระวัง-รู้สะอาด

          “รู้เตรียม” คือ รู้จักเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อนเข้าสู่ฤดูหนาวประกอบด้วย 5 สิ่งควรเตรียม ได้แก่ 1.เตรียมเสื้อผ้าและผ้าห่มกันหนาว 2.เตรียมยารักษาโรคเรื้อรังที่จำเป็น 3.เตรียมของใช้ที่จำเป็นสำหรับตนเองและครอบครัว 4.เตรียมฟังข้อมูลข่าวสาร เรื่องการประกาศภัยหนาว และ 5.เตรียมตัว โดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเสี่ยงควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลทุกปี

          “รู้ระวัง” คือ รู้จักระวังสิ่งที่อยู่รอบตัวที่อาจก่อให้เกิดโรคและภัยสุขภาพ ประกอบด้วย 5 สิ่งควรระวัง ได้แก่ 1.ระวังการแพร่กระจายโรคด้วยการสวมหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูกเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ 2.ระวังไม่ให้ร่างกายขาดความอบอุ่นและความชุ่มชื้น 3.ระวังไม่ดื่มสุราเพื่อแก้หนาว เพราะฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะกดประสาท ทำให้มีอาการง่วงซึมเร็ว และอาจหมดสติ โดยไม่รู้ตัว หากมีโรคประจำตัวจะทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ 4.ระวังไม่นอนในที่โล่งแจ้งลมโกรก เพราะอากาศที่หนาวเย็นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว การไหลเวียนของโลหิตช้าลง ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน หัวใจต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย อาจส่งผลให้เกิดอาการช็อกจนเสียชีวิตได้ และ 5.ระวังไม่ผิงไฟในที่อับอากาศ ไม่นำเด็กเล็กเข้าใกล้ควันไฟหรือห่มผ้าคลุมศีรษะเด็กอ่อนจนหมด

          “รู้สะอาด” คือ รู้จักรักษาความสะอาดในตัวเอง 5 สิ่งควรสะอาดได้แก่ 1.ทำความสะอาดเสื้อผ้าและผ้าห่มกันหนาว 2.ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย 3.ล้างมือให้สะอาด 4.มีสุขอนามัยที่ดีและสะอาด และ 5.ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่สะดวกเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ

          อากาศแห้ง-ระวังโรคผิวหนังคุกคาม

          อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวต่อไปว่า โรคที่เกิดจากสภาพอากาศที่แห้งก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน เพราะทำให้เกิดอาการทางผิวหนัง โดยโรคที่พบบ่อย ได้แก่ ผิวหนังแห้ง แตก คัน และอักเสบ เป็นต้น ซึ่งสามารถพบได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เพราะเด็กเล็กผิวหนังของร่างกายยังไม่มีการพัฒนาสมบูรณ์เหมือนผิวหนังของผู้ใหญ่ จึงบางแต่จะชุ่มชื้นมากกว่าผู้ใหญ่ และในวัยผู้สูงอายุ จะมีเซลล์ผิวหนังที่เริ่มเสื่อมถอยตามอายุ ทำให้ผิวมีความบางและแห้งมากขึ้น ทำให้ผิวของคนทั้งสองวัยนี้มีโอกาสแห้งและแตกได้ง่ายกว่าคนในวัยอื่นๆ เช่น บริเวณแก้มและใบหน้า แขนและขา เป็นต้น สำหรับการดูแลผิวหนัง ถ้าผิวเริ่มแตกหรืออากาศไม่หนาวเย็นแห้งมาก ก็สามารถจะใช้โลชั่นหรือครีมก็ได้ผลดี แต่ถ้าผิวแห้งมากๆ หรือผิวแตก คัน และอักเสบมาก อาจต้องใช้น้ำมันหรือขี้ผึ้งที่จะช่วยปกป้องความชุ่มชื้นของผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น

          เทคนิคการดูแล “ผิว”

         สำหรับการทำความสะอาด ควรดูแลผิวตามปกติ หรืออาจลดการชะล้างฟอกสบู่ลงบ้างในช่วงที่อากาศแห้งและหนาวเย็น ควรเลือกใช้สบู่เด็กที่อ่อนกว่าหรือสบู่ที่มีส่วนผสมของครีมในเนื้อของสบู่ หลังอาบน้ำเสร็จควรทาโลชั่นหรือครีมบำรุงผิวก็จะช่วยลดอาการผิวแห้งและแตกได้ ที่สำคัญเมื่อเกิดอาการคันที่ผิวหนัง อย่าเกา เพราะการเกามากๆ บ่อยๆ แรงๆ ทำให้เกิดการระคายเคือง อักเสบ อาจเกิดเป็นแผลที่ผิวหนังได้ และทำให้เกิดการลุกลามมากขึ้น ควรหยุดหรือชะลอการเกา ด้วยการลูบเบาๆ และตัดเล็บมือให้สั้นที่สุด

         “หากประชาชนมีอาการคันและเกิดการอักเสบที่ผิวหนังอย่างรุนแรง หรือมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างทันท่วงที และให้อาการคันหรืออักเสบบรรเทาลดน้อยลง ถ้ามีข้อสงสัยถึงอาการของโรคและวิธีปฏิบัติ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0-2590-3333” ดร.น.พ.พรเทพ กล่าว

 

          ที่มา : เว็บไซต์แนวหน้าออนไลน์

http://www.thaihealth.or.th/Content/26405-มาตรการดูแลสุขภาพรับหน้าหนาว.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,543
Page Views2,010,716
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view