http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ผู้หญิงเสี่ยงอัมพฤกษ์ -อัมพาต

ผู้หญิงเสี่ยง `อัมพฤกษ์ -อัมพาต` เฉียบพลัน

สคร.7 เผย 1 ใน 5 ของผู้หญิงป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง แนะหมั่นสำรวจร่างกาย หากพบความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อลดอัตราพิการหรือเสียชีวิตได้

          นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผอ.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จ.อุบลราชธานี (สคร.7) กล่าวว่า วันที่ 29 ตุลาคมของทุกปี องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นวันอัมพฤกษ์ อัมพาตโลก เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการป้องกันโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยมีคำขวัญในการรณรงค์ คือ“โรคหลอดเลือดสมอง: เพราะฉันเป็นผู้หญิง... (เสี่ยง)” ซึ่งประเทศไทยพบผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มผู้ป่วยรายใหม่ สูงขึ้นทุกปี พบ 1 ใน 5 ของผู้หญิงป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะผู้หญิงอายุ 85 ปีขึ้นไป แต่หากประชาชนรู้จักวิธีการดูแลตนเองและหมั่นสำรวจความผิด ปกติของร่างกายอยู่เสมอ จะสามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าวได้

          นพ.ศรายุธ กล่าวต่อว่า โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้มีอาการของแขน ขาหรือหน้า ซีกใดซีกหนึ่งชา อ่อนแรง เคลื่อนไหวลำบาก เคลื่อนไหวไม่ได้อย่างทันทีทันใด เป็นนาทีหรือเป็นชั่วโมง ถ้าผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องรวดเร็วตั้งแต่แรกจะสามารถลดอัตราตายหรือความพิการ และสามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบคนปกติได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มีประวัติญาติสายตรงเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม ภาวะน้ำหนักเกิน สูบบุหรี่ และภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเตือนที่สำคัญ คือ สมองขาดเลือดชั่วคราว โดยพบผู้ที่มีอาการสมองขาดเลือดชั่วคราว 1 ใน 5 คน จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน และส่วนใหญ่จะพบใน 2-3 วันแรก หลังจากมีอาการสมองขาดเลือดชั่วคราว สำหรับผู้ป่วยที่หลอดเลือดสมองแตกนั้น อาจมีอาการปวดศีรษะเฉียบพลัน อาเจียน ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการซึม หมดสติและเสียชีวิตได้

          ดังนั้น หากพบว่าตนเองมีอาการอ่อนแรงของหน้า แขน ขา ซึ่งจะเป็นซีกเดียวของร่างกาย สับสน พูดลำบาก พูดไม่รู้เรื่อง มีปัญหาการพูด การมองเห็นลดลง 1 หรือทั้ง 2 ข้าง และมีปัญหาการเดิน มึนงง สูญเสียสมดุลของการเดิน โดยอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว สิ่งที่สำคัญคือผู้ป่วยต้องสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หากพบอาการข้างต้น ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุดภายใน 3 ชั่วโมง จะสามารถช่วยรักษาชีวิตและฟื้นฟูให้กลับมาเป็นปกติหรือใกล้เคียงได้มากที่สุด

          สำหรับแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง คือ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด ไขมันสูง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก จำกัดการบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ รวมถึงตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่แล้ว ต้องรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ หากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้เข้ารับการ รักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว และได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและความ เสี่ยงจากความพิการลงได้ หากประชาชนมีข้อสงสัยถึงอาการของโรคและวิธีปฏิบัติ สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทร.1422 .นพ.ศรายุธ กล่าวปิดท้าย

           ที่มา : สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 อุบลราชธานี
http://www.thaihealth.or.th/Content/26226-ผู้หญิงเสี่ยง%20'อัมพฤกษ์%20-อัมพาต'%20เฉียบพลัน.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,673
Page Views2,010,847
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view