http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เตือนภัยยา-เครื่องสำอางจากเน็ต

เตือนภัยยา-เครื่องสำอางจากเน็ต

          อย.เตือนภัยซื้อยา อาหาร เครื่องสำอาง ผ่านเน็ต ระวัง ได้ของไม่มีคุณภาพ ทำให้เกิด อันตรายมากกว่าเดิม เผยได้ รับร้องเรียนเข้ามามาก นอกจากนี้พวกอาหารเสริมสมรรถภาพทางเพศก็โฆษณาขายกันโจ๋งครึ่มทางเฟซบุ๊ก-อินสตาแกรม นำดาราคนดังมาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ระบุผิดกฎหมายชัดเจนทั้งจำคุกและปรับ

          เมื่อวันที่ 12 ต.ค. นายประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงการประกาศเตือนประชาชนเรื่องซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพทางอินเตอร์เน็ต ว่า แม้ผลิตภัณฑ์จะราคาไม่แพงนัก แต่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน อาจลักลอบผสมยาหรือสารอันตรายลงไป ไม่ให้ผลในการใช้หรือรักษา โดยผลิตภัณฑ์ที่มักพบปัญหาได้แก่ ยา อาหาร เครื่องสำอาง ที่ผ่านมาอย.ได้รับข้อร้องเรียนจำนวนมาก อาทิ ใช้แล้วไม่เห็นผล เสียเงินโดยไม่คุ้มค่า โรคที่เป็นรุนแรงขึ้น ได้รับอันตรายจากสินค้า เช่น เกิดอาการแพ้ โฆษณาหลอกลวง ฯลฯ ทั้งนี้ การขายยาตาม พ.ร.บ.ยา มีข้อกำหนดเรื่องสถานที่ ว่าจะต้องไม่ขายนอกสถานที่ตามที่อนุญาต เพราะยาไม่ใช่สินค้าทั่วไป การซื้อจึงต้องได้รับ คำแนะนำที่ถูกต้องจากผู้ปฏิบัติวิชาชีพโดยตรง

          รองเลขาธิการ อย. กล่าวอีกว่า การขายยานอกสถานที่ที่อนุญาตถือว่าผิดกฎหมายตามมาตรา 12 พ.ร.บ.ยา โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังมีความผิดฐานโฆษณาด้วย เพราะยาถือเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้โฆษณา มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนสินค้าอื่นๆ เช่น เครื่องสำอาง หรืออาหารเสริม แม้ยังไม่มีกฎหมายห้ามขายผ่านอินเตอร์เน็ต แต่ผู้บริโภคต้องใช้ความระวังในการเลือกซื้อ เพราะมักพบกรณีการโฆษณาอวดอ้างเกินจริงและการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง การเติมสารปลอมปน เป็นต้น

          รองเลขาธิการ อย. กล่าวต่อว่า ขอความร่วมมือประชาชนไม่สนับสนุนผู้กระทำผิดกฎหมายเหล่านี้ เพราะการดำเนินการทางกฎหมายแม้ว่าจะตรวจจับอยู่ตลอด แต่กระบวนการต้องอาศัยความร่วมมือหลายหน่วยงาน ใช้เวลาปิดบางครั้งนานถึง 2 เดือน แต่การเปิดเว็บไซต์ใหม่ใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน ทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานยาก จึงต้องช่วยกันแจ้งเบาะแส และไม่สนับสนุนเว็บไซต์เหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเองด้วย

          ด้าน น.ส.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักอาหาร สำนักงาน อย. กล่าวว่า นอกจากการขายยาต้องห้ามผ่านเว็บไซต์ และสังคมออนไลน์ต่างๆแล้ว ยังพบปัญหาการขายอาหารเสริม อวดอ้างสรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ทำให้แข็ง ทน นาน ซึ่งมักโฆษณาผ่านเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม อีกทั้งยังมีภาพดารามาโฆษณาสินค้าอีก ถือว่าผิดกฎหมาย อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง โดยไม่ทราบว่าผสมสารชนิดใดซึ่งอาจส่งผลต่อร่างกายได้ และการผสมดังกล่าวอาจทำให้เข้าข่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ด้วย

          น.ส.ทิพย์วรรณกล่าวด้วยว่า ส่วนใหญ่การโฆษณาลักษณะนี้ถือว่าผิด พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ฐานโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต โทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หากตรวจสอบแล้วพบสารปนเปื้อนและสารที่อาจก่อโทษ จะกลายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ถือว่ามีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้ากระทำโดยจำหน่ายปลีกให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ

         ที่มา : เว็บไซต์ข่าวสด
http://www.thaihealth.or.th/Content/26093-เตือนภัยยา-เครื่องสำอางจากเน็ต.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,780
Page Views2,010,954
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view