http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เร่งผ่าตัดต้อกระจกผู้ป่วยพื้นที่จำกัด

เร่งผ่าตัดต้อกระจกผู้ป่วยในพื้นที่จำกัด

ผู้ป่วยต้อกระจกมีปัญหาการเข้าถึงการรักษาอย่างมาก  เนื่องจากข้อจำกัดของหน่วยบริการและบุคลากรทางการแพทย์ ส่งผลให้ผู้ป่วยตาบอด รัฐเร่งแก้ไขด่วน

      ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า โรคต้อกระจกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย จากรายงานผลการสำรวจสภาวะตาบอด สายตาเลือนราง โรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุข ครั้งที่ 4 ในประเทศไทยระบุว่า ก่อนมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบว่าประชาชนมีปัญหาการเข้าถึงการรักษาอย่างมาก ทั้งจากข้อจำกัดของหน่วยบริการและบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้หน่วยบริการของรัฐสามารถผ่าตัดต้อกระจกให้กับผู้ป่วยได้เพียง 40,000 รายต่อปีเท่านั้น ส่งผลให้มีผู้ป่วยต้อกระจกที่ตกค้างและรอคิวผ่าตัดจำนวนมาก โดยในจำนวนนี้มีภาวะตาบอดรวมอยู่ด้วย จากผลวิจัยปี 2549-2550 มีประชาชนที่มีภาวะตาบอดถึง 0.59% ของจำนวนประชากร ในจำนวนนี้ 51.89% เกิดจากโรคต้อกระจก นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป กว่า 50% จะเป็นโรคต้อกระจก ขณะที่อัตราความชุกต้อกระจกทุกกลุ่มอายุจะอยู่ที่ 9.22%

      ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า เมื่อดูเฉพาะประชากรผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 48 ล้านคน พบว่าในจำนวนนี้เป็นต้อกระจกถึง 4.3 ล้านราย และจากอุบัติการณ์ดังกล่าว หากไม่มีการเร่งรัดจัดบริการผ่าตัด จะมีคนตาบอดจากโรคต้อกระจกเพิ่มขึ้น 42,840 ราย เป็นไปตามอัตราจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นตามฐานประชากร นอกจากนี้ยังพบว่าปี 2549-2550 มีผู้ป่วยอยู่ในภาวะตาบอดจากโรคต้อกระจกและรอการผ่าตัดอยู่ถึง 120,000 ราย

      “จากสถานการณ์ดังกล่าว สปสช.จึงกำหนดให้มีการบริหารจัดการโรคต้อกระจกขึ้นมาเป็นบริการเฉพาะ เนื่องจากเป็นบริการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก โดย สปสช.ได้ร่วมกับราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) มูลนิธิการกุศลต่างๆ รวมทั้งโรงพยาบาลเอกชน ร่วมกันดำเนินโครงการผ่าตัดตาต้อกระจกเชิงรุกในพื้นที่ที่เป็นปัญหาการเข้าถึงบริการ โดยเฉพาะในพื้นที่ขาดแคลนจักษุแพทย์และทุรกันดารประธานบอร์ด สปสช. กล่าว

      ด้าน น.พ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า จากที่ สปสช.ได้บริหารจัดการโรคต้อกระจกเป็นบริการเฉพาะ ส่งผลให้ตั้งแต่ปี 2550-2557 มีผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดไปแล้ว 988,308 ราย หรือคิดเป็น 45.9% ของกลุ่มผู้ป่วยที่ควรได้รับการผ่าตัดตามเกณฑ์ที่กำหนด ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระยะตาบอด 128,480 ราย และจากที่ได้บริหารเชิงรุกยังส่งผลให้ผู้ป่วยต้อกระจกได้รับการผ่าตัดเพิ่มขึ้นจาก 65,000 ราย ในปี 2555 เป็น 100,000 ราย ในปี 2556 ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะตาบอดจากต้อกระจกที่ตกค้างการรักษาได้รับบริการเพิ่มขึ้น จาก 15.7% ในปี 2556 เพิ่มขึ้นเป็น 25.1% ในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2557 ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าอัตราการเข้าถึงบริการผ่าตัดของผู้ป่วยโรคต้อกระจกจะดีขึ้นกว่าในระยะแรกมาก แต่พบว่าบางพื้นที่ยังมีข้อจำกัดด้านบริการ ดังนั้นจำเป็นที่ สปสช.และ สธ.ต้องร่วมกันสนับสนุนให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเข้าถึงบริการเช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป 

      ที่มา: เว็บไซต์บ้านเมือง
http://www.thaihealth.or.th/Content/25941-เร่งผ่าตัดต้อกระจกผู้ป่วยในพื้นที่จำกัด.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,596
Page Views2,010,770
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view