http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เด็กไทยห่างไกลพิษสารตะกั่ว

ปกป้องเด็กไทยห่างไกลพิษสารตะกั่ว

          สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี  กรมการแพทย์ร่วมมือกับหลายภาคส่วนปกป้องเด็กและครอบครัว  ห่างไกลจากพิษสารตะกั่ว พร้อมทบทวนการเฝ้าระวังการสัมผัสสารตะกั่วในเด็กไทยอย่างเป็นระบบ

          นายแพทย์สุพรรณ  ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดภายหลังเป็นประธานเปิดงานรวมพลังปกป้องเด็กไทย ห่างไกลพิษสารตะกั่ว” ว่า องค์การอนามัยโลก ศูนย์ควบคุมโรค แห่งสหรัฐอเมริกา และสมาคมกุมารแพทย์ของสหรัฐอเมริกา กำหนดว่าระดับสารตะกั่วในเลือดที่ยอมรับได้สำหรับเด็ก ต้องมีค่าน้อยกว่า 10 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร ข้อมูลปัจจุบันพบว่าค่าระดับสารตะกั่วในเด็กโดยเฉพาะเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 6 ปี   เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมากที่จะได้รับผลกระทบจากพิษของสารตะกั่ว  เพราะเด็กเล็กสามารถดูดซึมสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายถึง 50% เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ที่ดูดซึมเพียงแค่ 10-15%

          กรมการแพทย์โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ในฐานะองค์กรที่ดูแลสุขภาพของเด็กไทยในทุกมิติ  มีบทบาทและหน้าที่รักษาส่งเสริมสุขภาพ  และปกป้องเด็กให้ปลอดภัยจากโรคภัยต่างๆ จึงได้จัดงาน “รวมพลังปกป้องเด็กไทย ห่างไกลพิษสารตะกั่ว”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กไทยมีโอกาสเติบโตอย่างมีคุณภาพและเต็มศักยภาพ  ประชาชนทั่วไปในชุมชนมีความรู้ ในการดูแลสุขภาพตนเองให้ห่างไกลจากการสัมผัสสารตะกั่ว  รวมทั้งสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในการทำงานร่วมกันเพื่อปกป้องเด็กและครอบครัวห่างไกลพิษสารตะกั่ว เช่น กรมต่างๆ ภายในกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อรวบรวมปัญหาพิษสารตะกั่วของประเทศไทยและแนวทางการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ   และพัฒนาคู่มือแนวทางการดูแลรักษาเด็กและผู้ใหญ่ที่มีการสัมผัสสารตะกั่ว ตลอดจนพัฒนาเครื่องมือแบบสอบถาม เพื่อค้นหากลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารตะกั่ว            

          รศ.แพทย์หญิงศิราภรณ์  สวัสดิวร  ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี  กล่าวว่า โครงการปกป้องเด็กและครอบครัว ห่างไกลพิษสารตะกั่ว เป็นหนึ่งในโครงการที่ดำเนินการภายใต้โครงการหลักของกระทรวงสาธารณสุข คือ   “โครงการอาหารปลอดภัยเด็กไทยฉลาด” เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 ซึ่งทำต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน  เป็นงานเชิงรุกด้านสาธารณสุขที่ขนาดปัญหาไม่ใหญ่ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากพิษสารตะกั่วนั้นรุนแรง เมื่อเด็กได้รับสารพิษจากตะกั่วเข้าไปแล้วจะส่งผลเสียชัดเจนต่อร่างกายและระดับสติปัญญา โดยเฉพาะสมองที่กำลังพัฒนาจะไม่สามารถกลับคืนเป็นปกติได้ ทำให้ไอคิวต่ำ และถ้าได้รับในปริมาณสูงจะมีผลต่อสมอง ตับ และไต ทำให้มีอาการซีด ชัก และเสียชีวิต นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์ที่สัมผัสสารตะกั่วมีความเสี่ยงที่จะแท้ง คลอดก่อนกำหนด หรือลูกมีน้ำหนักตัวน้อย 

           ซึ่งการทำงานปีแรก เริ่มด้วยการทบทวนความรู้  ผลิตสื่อรณรงค์ให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และเด็กๆ เพื่อให้ตระหนักถึงพิษภัยของสารตะกั่ว โดยร่วมกับ กรมอนามัยแจกสื่อ VCD เกม โปสเตอร์ แผ่นพับ โดยมอบให้โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจำนวน 926 แห่งทั่วประเทศ การทำงานในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2553-2555) เป็นการทำงาน ในพื้นที่ที่มีรายงานว่า มีเด็กไทยมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารตะกั่ว ที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก โดยทำการสำรวจสถานการณ์การสัมผัสสารตะกั่วจำนวน 2 ครั้ง เพื่อทราบสถานการณ์ที่แท้จริงและนำเสนอข้อมูลเหล่านี้เพื่อให้ทราบว่า เด็กไทยในบางพื้นที่ยังมีความเสี่ยงต่อพิษของสารตะกั่ว และเพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานด้านสุขภาพแบบยั่งยืน ระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และการทำงานในช่วงสุดท้าย (พ.ศ. 2556-2557)  เป็นการทำงานเพื่อสรุปเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายงานด้านวิชาการ และมีการเฝ้าระวังการสัมผัสสารตะกั่วในเด็กไทยอย่างเป็นระบบ  ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและกระทรวงสาธารณสุข เสนอให้ตรวจคัดกรองหาระดับตะกั่วในเลือดในเด็กอายุ 6 เดือน - 2 ปี เฉพาะกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการสัมผัสสารตะกั่ว เพื่อให้เด็กไทยมีต้นทุนสมองและต้นทุนสุขภาพที่ดีและเป็นต้นทุนอันมีค่ายิ่งของประเทศต่อไป

          สำหรับขอแนะนำให้ดูแลเด็กให้ห่างไกลพิษสารตะกั่วเบื้องต้น คือ ควรเลือกใช้สีน้ำทาภายในตัวบ้านแทนการใช้สีน้ำมัน  สีที่ใช้ควรมีปริมาณตะกั่วไม่เกิน 90-100 ppm ดูแลเด็กไม่ให้เล่นเครื่องเล่น ของเล่นที่สีหลุดร่อน ล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงอาหารและก่อนรับประทานอาหาร ตลอดจนดูแลเด็กให้ได้รับสารอาหารครบทุกหมวดหมู่ โดยเฉพาะผักใบเขียว ผลไม้ นมสด ปลาเล็กปลาน้อย เนื้อแดง เพราะสารอาหารเหล่านี้จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารตะกั่วได้น้อยลง

          ที่มา : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์
http://www.thaihealth.or.th/Content/25891-ปกป้องเด็กไทยห่างไกลพิษสารตะกั่ว.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,611
Page Views2,010,785
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view