http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โรคกลุ่มเสี่ยง งดทำใบขับขี่

"เบาหวาน-หัวใจ-จิตผิดปกติ" งดทำใบขับขี่  

         ขนส่งทางบกเร่งแก้ปัฐหาเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันจากกลุ่มมีอาการผิดปกติ ถกแพทยสภากำหนดคุณสมบัติ เพิ่มเติมในการทำใบขับขี่ เพิ่มกลุ่มเสี่ยงต่อการขับรถอีก 10 อาการ อาทิ อาการทางสมอง กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน กลุ่มเสี่ยงอาการวูบหมดสติ กลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจ ฯลฯ

          นายอัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า จะประชุมร่วมกับตัวแทนแพทยสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมในการทำใบขับขี่ โดยจะเพิ่มกลุ่มภาวะเสี่ยงต่อการขับรถอีก 10 อาการ จากเดิม ที่กำหนดอาการต้องห้ามเพียง 5 ประเภท คือ ต้องไม่เป็นโรคติดต่อเป็นที่รังเกียจ เช่น โรคเท้าช้าง โรคเรื้อน ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต ไม่ติดสุรา ยาเสพติด หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท

          ซึ่งถือว่ายังไม่ครอบคลุมอาการบางประเภทที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการขับรถ จึงเพิ่ม 10 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงในระบบประสาทและสมอง เช่น โรคลมชัก กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน กลุ่มเสี่ยงอาการวูบหมดสติ กลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มเสี่ยงด้านการมองเห็น เช่น ลานประสาทตา มองเห็นด้านตรงแต่มองไม่เห็นด้านข้าง

          กลุ่มเสี่ยงประสาทการได้ยิน เช่น หูหนวก หูตึง กลุ่มเสี่ยงการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น โรคพาร์กินสัน กลุ่มเสี่ยงปัญหาทางจิตผิดปกติ ความเสี่ยงนอนหลับผิดปกติ ซึ่งเสี่ยงอาจให้เกิดโรคหลับใน และกลุ่มเสี่ยงจากใช้ยาประเภทต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดการกดประสาท ง่วงซึม ดังนั้นต่อไปผู้สอบใบขับขี่จะต้องตรวจสุขภาพและได้รับใบรับรองแพทย์ 10 อาการก่อนมาทำใบขับขี่ทุกครั้ง

          "สาเหตุที่ต้องปรับปรุงคุณสมบัติเพิ่มเติม เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันใช้มานานถึง 35 ปีแล้ว ตามพ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ประกอบกับทุกวันนี้ วิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก สามารถวินิจฉัยอาการเสี่ยงของโรคภัยต่างๆ ได้แม่นยำขึ้น รวมถึงมีข่าวเกิดอุบัติเหตุจากอาการป่วยของคนขับมากขึ้น จึงเห็นควรให้เพิ่มเติมคุณสมบัติของผู้ขอใบขับขี่ใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่มีสาเหตุจากตัวผู้ขับ"

          นายอัฌษไธค์กล่าวอีกว่า การประชุมในรอบนี้ กรม และแพทยสภาจะหารือถึงรายละเอียดระดับความรุนแรงในแต่ละอาการ หลังจากแพทยสภาได้ให้ 10 ราชวิทยาลัยแพทย์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาวะความเสี่ยงในโรคนั้นๆ ไปศึกษาระดับความรุนแรง คาดว่าจะหาข้อสรุปทั้งหมดภายใน 1-2 เดือน

          หลังจากนั้นจะเสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาทางกฎหมาย ว่าจะออกเป็นกฎหมายประเภทใด เช่น หากเป็นประกาศกรม จะใช้เวลาเพียง 15 วัน แต่ถ้าเป็นกฎกระทรวงจะใช้เวลา 3 เดือน ขณะเดียวกันทางแพทยสภาจะเร่งอบรมแพทย์ ทั่วประเทศให้รับทราบถึงแนวทางการตรวจสุขภาพ

          อย่างไรก็ตาม คนที่เป็นโรคหรือมีความเสี่ยงใน 10 อาการเหล่านี้ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องถูกห้ามขับรถ หรือห้ามทำใบขับขี่ทั้งหมด เพราะในแต่ละคนก็มีระดับความรุนแรงแตกต่างกัน จึงต้องตรวจอย่างละเอียดว่าแต่ละคนมีอาการรุนแรงขนาดไหน เช่น โรคเบาหวานหากเป็นเล็กน้อยก็ยังขับรถได้

          ที่มา: เว็บไซต์ข่าวสด
http://www.thaihealth.or.th/Content/25640-%22เบาหวาน-หัวใจ-จิตผิดปกติ%22%20งดทำใบขับขี่%20.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,681
Page Views2,010,855
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view