http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

วิธีเลือกลูกชิ้นปลาไร้สารเรืองแสง

แนะวิธีเลือกลูกชิ้นปลาไร้สารเรืองแสง

          สธ.แนะวิธีเลือกลูกชิ้นปลาปลอดภัย ไร้สารเรืองแสง เน้นบรรจุภัณฑ์ปิดสนิท ไม่ฉีกขาด ลูกชิ้นไม่มีเมือกหรือจุดสี ก่อนกินต้องลวกให้สุกเสมอ ย้ำสารเรืองแสงเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หากเป็นชนิดอันตรายทำให้เกิดการติดเชื้อได้ คาดปนเปื้อนจากกระบวนการผลิต

          นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กรณีพบสารเรืองแสงในลูกชิ้นปลาส่วนใหญ่เกิดจากการปนเปื้อนของแบคทีเรีย 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ กลุ่มซูโดโมแนส (Pseudomonas) มักพบบริเวณส่วนเมือกที่ปกคลุมผิวด้านนอกและด้านในทางเดินอาหารของปลา มีทั้งสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายและไม่อันตราย ซึ่งสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายจะเป็นกลุ่ม Pseudomonas aeruginosa มีเอนไซม์สลายเม็ดเลือดแดง ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบปัสสาวะ โลหิตเป็นพิษ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ การติดเชื้อในแผลน้ำร้อนลวก หรือไฟลวก ตาอักเสบ และหนองฝีต่างๆ กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มวิปริโอ (Vibrio) พบได้ทั่วไปในธรรมชาติโดยเฉพาะผัก ผลไม้ และอาหาร มีทั้งชนิดที่เป็นอันตรายและไม่อันตรายเช่นกัน ซึ่งชนิดที่เป็นอันตรายจะก่อให้เกิดอหิวาตกโรค กระเพาะลำไส้อักเสบ แต่แบคทีเรียชนิดนี้สามารถทำลายได้ด้วยความร้อน 56 องศาเซลเซียส

          นพ.ณรงค์ กล่าวว่า การปนเปื้อนของแบคทีเรียอาจเกิดจากกระบวนการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น การฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ไม่เหมาะสมทำให้เชื้อยังไม่หมด หรือปนเปื้อนระหว่างและหลังการผลิต ทั้งจากการบรรจุ อุปกรณ์การผลิต ผู้ผลิต รวมทั้งการขนส่งและระหว่างรอจำหน่ายหากเก็บผลิตภัณฑ์ไว้ในอุณหภูมิที่สูงกว่า 4 องศาเซลเซียส สามารถทำให้เชื้อแบคทีเรียเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

          ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยมีแนวทางในการควบคุมและป้องกันการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียต่างๆ โดยบังคับให้สถานที่ผลิตลูกชิ้นต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดีในการผลิตอาหาร ว่าด้วยสุขลักษณะทั่วไป (GMP) หรือคำแนะนำคณะกรรมการสาธารณสุข ฉบับที่ 6/2549 เรื่องการควบคุมการประกอบกิจการการผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร ซึ่งควบคุมตั้งแต่สถานที่ตั้ง และอาคารที่ใช้ในการผลิต สุขลักษณะของเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต การควบคุมกระบวนการผลิต การสุขาภิบาล การบำรุงรักษา การทำความสะอาด สุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งสุ่มตรวจสอบสุขลักษณะของสถานที่ผลิตครอบคลุมตั้งแต่กรรมวิธีการผลิต แหล่งวัตถุดิบที่นำมาใช้ เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต วิธีการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และกระบวนการขนส่ง สุดท้ายตรวจสอบสถานที่จำหน่าย โดยมีการสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เช่น ลูกชิ้นปลา ลูกชิ้นกุ้ง เพื่อตรวจวิเคราะห์หาจุลินทรีย์ที่ทำให้เรืองแสง จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคอื่น วัตถุเจือปนอาหารที่อาจจะนำมาใช้ในขั้นตอนการผลิต

          “ ผู้บริโภคควรเลือกซื้อลูกชิ้นปลาจากร้านค้าที่เชื่อถือ มีเครื่องหมาย อย. ระบุวัน เดือน ปีหมดอายุ สะอาด มีการจัดเก็บเป็นอย่างดี บรรจุภัณฑ์ควรปิดสนิท ไม่ฉีกขาด หรือกรอบจนเกินไป ลูกชิ้นปลาไม่มีเมือกหรือจุดสี มีสีและกลิ่นตามธรรมชาติ และหลังจากการซื้อควรเก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส ก่อนนำมารับประทานควรนำไปลวกหรือปรุงประกอบด้วยความร้อนให้สุกอย่างทั่วถึง และไม่ควรทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเกิน 2 ชั่วโมง อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

           ที่มา : เว็บไซด์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์
http://www.thaihealth.or.th/Content/25668-แนะวิธีเลือกลูกชิ้นปลาไร้สารเรืองแสง.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,590
Page Views2,010,764
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view