http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ผสานมือช่วยเด็กไทยโตไปไม่อ้วน

ผสานมือช่วยเด็กไทย `โตไปไม่อ้วน`

       นำเมนูสูตรสำเร็จรูปที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนจากมหาวิทยาลัยมหิดล มาเป็นต้นแบบ "อาหารกลางวัน" ผสมกับกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กนักเรียนออกแรง ขยับร่างกาย และพูดคุยกับพ่อแม่ผู้ปกครองให้จำกัดการทานอาหารหวาน-แป้ง-ทอด บวกกับความเข้มแข็ง-จริงจัง ของบุคลากรโรงเรียนผาสุกมณีจักร จ.นนทบุรี ที่ต้องการแก้ปัญหา "เด็กอ้วน" ทำให้วันนี้ถูกยกให้เป็น "ต้นแบบ" ให้โรงเรียนอื่น

      รู้จักโรงเรียนต้นแบบต้านอ้วน

      โรงเรียนผาสุกมณีจักร จ.นนทบุรี อยู่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีนักเรียนทั้งสิ้น 915 คน มีนายวิชัย บำรุงศรี เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนให้ความสำคัญต่อ "สุขภาวะ" อย่างมาก โดยเฉพาะการแก้ไข และป้องกันปัญหา "เด็กน้ำหนักเกินเกณฑ์" ที่อาจส่งผลต่อตัวเด็กได้ในอนาคต ทั้งสติปัญญา สุขภาพ บุคลิกภาพ การใช้ชีวิตในสังคม และเรื่องของสภาพจิตใจที่อาจถูกล้อเลียน

      ผอ.โรงเรียนผาสุกมณีจักร กล่าวว่า โรงเรียนดำเนินการลดเด็กอ้วนอย่างต่อเนื่อง ภาพรวมขณะนี้ยังมีเด็กอ้วนประมาณ 50-60 คน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการขาดออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภค และพื้นฐานในครอบครัว ทำให้โรงเรียนต้องเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนัก ด้วยการจัดอาหารกลางวันให้เด็กตามเมนูโภชนาการของมหาวิทยาลัยมหิดล แบ่งเป็นสำหรับเด็กธรรมดา และกลุ่มเด็กน้ำหนักเกิน ขณะที่ภายในโรงเรียนไม่มีร้านที่ขายอาหารทอด มัน และน้ำอัดลม นอกจากนี้ ทั้งช่วงเช้า กลางวัน เย็น ยังมีกิจกรรมให้เด็กได้ออกกำลังเช่น ตอนเช้า เต้นแอโรบิกสั้นๆ กลางวันฝึกเล่นฮูลาฮูป หรือกีฬาชนิดอื่น ส่วนตอนเย็น เป็นการเต้นแอโรบิกกับผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม แม้โรงเรียนจะเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ แต่พื้นฐาน และพฤติกรรมการบริโภคของครอบครัวก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้เด็กนั้นลดน้ำหนักได้จริง ซึ่งในโรงเรียนมีเด็กนักเรียนจำนวนมากที่น้ำหนักลดลงหลังจากเข้าร่วมโครงการนี้

      ทั้งนี้ ตัวอย่างเพียงแค่โรงเรียนเดียว อาจไม่เห็นผลในภาพใหญ่ ทำให้นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวทีเจาะประเด็น "เด็กอ้วน มหันตภัยสู่โรคอนาคต" เพื่อพูดถึงปัญหา และความสำคัญ ตลอดจนปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร้จอย่างเป็นรูปธรรม

      "โรคอ้วนในเด็ก" เหมือนระเบิดเวลา

      นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนโยบายส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สวน.) ระบุว่า ในอดีตประเทศไทยประสบปัญหาใหญ่ด้านภาวะโภชนาการ ได้แก่ ผอม เตี้ย ขาดสารอาหาร ทำให้หลายคนชะล่าใจว่า ปัญหาเด็กอ้วนเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่ความจริงโรคอ้วนในเด็กเปรียบเหมือนระเบิดเวลา โดยข้อมูลเมื่อปี 2538-2552 หรือในรอบ 14 ปีที่ผ่านมา อัตราน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนในเด็กอายุ 1-5 ปี สูงขึ้นถึง 1.5 เท่า หรือเพิ่มจากร้อยละ 5.8 เป็นร้อยละ 8.5

      นอกจากนี้ จากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย ในรอบ 6 ปี คือตั้งแต่ปี 2549-2555 พบโรคอ้วนในเด็ก 1-5 ปี สูงขึ้น 6.9 เป็นร้อยละ 10.9 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า โรคอ้วนในเด็กปฐมวัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วง 6-7 ปีผ่านมา และหากเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกแล้วจะพบว่าสถิติของเด็กไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลก โดยการเกิดโรคอ้วนในเด็ก 6-12 ปี พบว่า มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าที่พบในเด็กปฐมวัย 1.7 เท่า

      "โรคอ้วนในเด็กไม่ใช่ความน่ารักเหมือนอดีต แต่เป็นความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต เพราะเด็กที่อ้วนมากๆ จะมีช่วงหยุดหายใจ ซึ่งพบมากขึ้นเรื่อยๆ และยังพบว่าเด็กเป็นเบาหวานมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันเด็กอ้วนจะมีปัญหาสุภาพจิต แบ่งแยก ถูกล้อเลียน ความสามารถในการเรียนลดลง ส่วนหนึ่งมาจากการพักผ่อนที่ผิดปกติ คุณภาพชีวิตลดลง ซึ่งเป็นภาพที่มาเร็วของผู้ใหญ่อ้วน" นพ.ทักษพล กล่าว

      นพ.ทักษพล ยังระบุอีกว่า 6,000 ล้านบาท คือ งบประมาณที่ประเทศต้องเสียไป เพื่อรักษาโรคอ้วน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องแก้ปัญหาโรคอ้วนในเด็ก เพื่อไม่ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่อ้วน และเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อไปตลอดชีวิต

      ไม่โยนหน้าที่ให้โรงเรียนอย่างเดียว

      เช่นเดียวกับ อรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รองเลขาธิการ สช. เปิดเผยว่า ปัญหาไม่ได้เกิดแค่ตอนเด็กอยู่บ้าน และโรงเรียน แต่ยังรวมไปถึงชีวิตส่วนอื่นๆ ที่เด็กใช้ด้วย นั่นคือ สภาพแวดล้อมของเด็ก ทั้งครอบครัว และสังคมที่เปลี่ยนไปเป็นสังคมก้มหน้า ทำให้เด็กขยับตัวน้อยลง โดยสถิติเวลาของเด็กและเยาวชนที่ใข้กับเทคโนโลยีใน 1 วัน จากโครงการติดตามสภาวการณ์เด็ก และเยาวชน สภาวการณ์เด่นด้านเด็กและเยาวชนใยรอบปี 2554-2555 พบว่า ใน 1 วัน เด็กเล่นอินเทอร์เน็ต 198 นาที ดูโทรทัศน์ 177 นาที และคุยโทรศัพท์หรือแชต 166 นาที

      ทั้งนี้ การทำนโยบายในระดับโรงเรียนที่ส่งเสริมคุณภาพนั้นไม่เพียงพอ แต่เห็นว่ากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ควรเข้ามาช่วยด้วย โดยเฉพาะการควบคุมคุณภาพอาหารกลางวัน หลังจากที่มีการผลักดันเพิ่มค่าอาหารกลางวันรายหัวของเด็กเพิ่มขึ้นจาก 13 บาท เป็น 20 บาทต่อคนต่อวัน นอกจากนี้ แม้จะมีหน่วยงานเข้าช่วยโรงเรียน แต่ถึงอย่างไรความร่วมมือ และผลลัพธ์ย่อมเกิดจากการร่วมมือจากภาคประชาชน และชุมชนด้วย

      ครอบครัวต้องฉลาดกิน ชุมนุมต้องช่วยเหลือ

      วรลักษณ์ คงหนู นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ กรมอนามัย กล่าวว่า พ่อแม่ และครอบครัวมีส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยควบคุมปัญหาตรงนี้ เช่น การทานอาหารทุกมื้อควรมีผักร่วมด้วย อนุญาตให้เด็กทานของทอด ของหวาน ได้ไม่เกินสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือหากมื้อนี้ทานของทอดของมันแล้ว มื้อถัดไปควรเน้นเป็นเนื้อสัตว์นิ่ง ต้ม หรือย่างมากกว่า ต้องทำให้สมดุลกัน ทั้งนี้ เข้าใจว่า พ่อแม่ต้องการตามใจลูก แต่บางครั้งควรต้องตัดใจ

     วรลักษณ์ ยังกล่าวอีกว่า การแก้ไขนั้นควรเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย โดยเฉพาะการเพิ่มค่าอาหารกลางวัน ที่พบว่า มีบางโรงเรียนที่จัดการได้ดี เลือกวัตถุดิบเป็นไปตามที่กำหนด ขณะบางแห่งไม่ได้ใส่ใจ และไม่ได้จัดอาหารให้สอดคล้องกับเด็ก ดังนั้น การฝึกอบรมนักแม่ครัวจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะบางทีตักอาหารไม่เป็น บางคนได้ผักมาก บางคนไม่มีผัก มีแต่เนื้อสัตว์

      "ควรทำไปทั้งในและนอก เช่น ในครอบครัวจะต้องเป็นครอบครัวที่ฉลาดบริโภค แยกแยะอาหาร ต้องเป็นนักประเมิน อาหารมันเค็มไปหรือไม่ จัดเทคนิค เล่นเกม รวมถึงให้ใช้พลังท้องถิ่นจัดการปัญหา รวมถึงควรมีการจ้างนักโภชนการ เพื่อให้ดูแลคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยกำลังขาดแคลนอยู่มาก" วรลักษณ์ ระบุ

     เพราะซับซ้อน ทุกฝ่ายจึงต้องผสานมือ

     นพ.ทักษพล ระบุว่า ปัญหานี้ซับซ้อน หากต้องการความสำเร็จ ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันทำทุกทาง ทั้งแพทย์ พยาบาล โรงเรียน ครอบครัว นโยบาย ซึ่งเมื่ออยู่ในโรงเรียน ครอบครัวมีส่วนสำคัญอย่างมากในการพัฒนาสุขภาพ ซึ่งภายในสามารถช่วยกันได้ เช่น ลูกเป็นตัวช่วยให้พ่อเลิกเหล้า เลิกบุหรี่ พ่อแม่ก็จัดการให้ลูกทานอาหารอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ยังต้องให้ความสนใจเด็กที่ไม่อ้วนด้วย เช่น ให้ความรู้ หรือเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการทำโทษว่าต้องไปออกกำลังกาย แต่เมื่อทำดีแล้วให้ขนมแทน ซึ่งควรเปลี่ยน

     เช่นเดียวกับ อรพรรณ ที่ระบุว่า สิ่งที่สำคัญ คือ การปรับสิ่งแวดล้อม ทั้งบ้าน โรงเรียน นอกรั้วโรงเรียน ร้านสะดวกซื้อ และวิถีชีวิตด้วย เด็กไทยใช้เวลานั่งเฉยๆ ไม่ได้ไปวิ่งเล่น และใช้แรงลดลง ราคาสินค้าที่มีประโยชน์ก็แพงกว่าน้ำอัดลม ฟาสต์ฟู้ด บางทีพูดเรื่องปัญหาเด็กอ้วน ปัญหาอาหารตอนนี้ เจอปัญหา อาหารหวาน และอาหารเค็ม ซึ่งการแก้ด้วยนโยบายอาจไม่ทันใจ เท่าพื้นที่หรือชุมชนสร้างกรอบ และมาตรการร่วมกัน จึงจะถือว่าเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จจริง คือ ต้องทำแบบป่าล้มเมือง ให้รัฐบาลได้เห็น และใช้มาตรการทางสังคม

      แม้เวทีเจาะประเด็นปัญหา "เด็กอ้วน" แค่เวทีเดียว จะไม่สามารถกระตุ้นเตือนให้สะเทือนไปทั้งวงการได้ แต่อย่างน้อยก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องการให้หลายฝ่าย โดยเฉพาะโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน และภาครัฐ ต้องหันมาดูแลปัญหาอย่างจริงจัง และทำให้เกิดเป็นรูปธรรม เพราะจำนวนงบประมาณที่สูญเสียไปหลายพันล้านบาท เพื่อเยียวยาโรคที่เกิดจากความอ้วน อาจไม่มีความหมายมากเท่า "คุณภาพชีวิตของเด็กๆ" ที่จะต้องเผชิญต่อไปในอนาคตทั้งทางร่างกาย ชีวิต สังคม และสภาพจิตใจ ดังนั้น "ความฉลาดกิน ฉลาดควบคุม" ก็จะสามารถช่วยให้เด็กไทย...โตไปไม่อ้วน!.

      ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์
http://www.thaihealth.or.th/Content/25528-ผสานมือช่วยเด็กไทย%20'โตไปไม่อ้วน'.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,471
Page Views2,010,644
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view