http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เพิ่มมาตรการเฝ้าระวังอีโบลา

เพิ่มมาตรการเฝ้าระวังผู้โดยสาร “อีโบลา”

 

          สธ. เตรียมซักซ้อมแผนรับมือ “อีโบลา” 20 ส.ค. เข้มด่านตรวจคนเข้าเมืองทุกทาง เพิ่มมาตรการเฝ้าระวังผู้โดยสารทั้งลำ หากพบผู้ป่วยจาก 4 ประเทศระบาด พร้อมติดตามอาการต่อเนื่อง 21 วัน

          นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ว่า ภายหลังจากลงนามประกาศกระทรวงฯ 4 ฉบับ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2523 คือ 1. โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาเป็นโรคติดต่อ 2. เป็นโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ 3. เป็นโรคติดต่ออันตราย และ 4. ประกาศกำหนดประเทศเขตติดติดเชื้ออีโบลา ได้แก่ กินี เซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย และเมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย ไปแล้ว หากมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็จะมีผลบังคับใช้ในทันที โดยจะมีมาตรการเตรียมความพร้อม ซ้อมแผน และทบทวนกับผู้ปฏิบัติงาน ทั้งในส่วนของด่านตรวจคนเข้าเมืองทุกด่านทั้งทางบก ทางน้ำ ท่าอากาศยานนานาชาติ โรงพยาบาล โดยได้นำแผนเตรียมการสำหรับโรคระบาดมาปรับใช้ และจะมีการประชุมใหญ่เพื่อซักซ้อมแผน วันที่ 20 ส.ค.

          นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า มาตรการเตรียมพร้อมมีหลายระดับ เช่น หากพบผู้ป่วยที่เดินทางมาจาก 4 ประเทศที่ถูกประกาศให้เป็นเขตติดโรค ระหว่างการเดินทางเข้าประเทศในเครื่องบิน ก็จะมีการกำหนดจุดจอด และจัดทีมนำตัวส่งโรงพยาบาล โดยกำหนดโรงพยาบาลไว้ ได้แก่ สถาบันบำราศนราดูร รพ.ราชวิถี และ รพ.นพรัตน์ราชธานี จากนั้นจะแยกกลุ่มคนที่เดินทางร่วมสายการบินเป็นผู้ที่สัมผัสใกล้ชิด ให้อยู่ในที่ใกล้ชิดสามารถติดตามอาการได้ และกลุ่มผู้โดยสารร่วมสายการบิน จะมีการให้ลงทะเบียนเพื่อแจ้งที่อยู่ที่ติดต่อได้ เป็นต้น

          “ส่วนการเดินทางเข้าประเทศตามปกติจะมีการรายงานตัว ตรวจวัดอุณหภูมิที่ท่าอากาศยาน ด่านตรวจคนเข้าเมืองเพื่อติดตาม 21 วันอยู่แล้ว และหากพบว่าในช่วง 21 วัน ผู้เดินทางเข้ามาอยู่ในข่ายเฝ้าระวังมีไข้ ก็จะนำตัวติดตามอาการในโรงพยาบาลทันที และแยกกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดเพื่อติดตามอาการตามหลักเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม การป้องกันโรคในกลุ่มแพทย์พยาบาล จะมีคู่มือเพื่อปฏิบัติอย่างชัดเจน ส่วนชุดป้องกันโรคจะใช้ชุดแบบกันน้ำ หรือกราวนด์กันน้ำ ก็ถือว่าเพียงพอ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) มีมาตรการและแนวทางแนะนำไว้” อธิบดี คร. กล่าว

           ที่มา : โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 
http://www.thaihealth.or.th/Content/25384-เพิ่มมาตรการเฝ้าระวังผู้โดยสาร%20“อีโบลา”%20.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,743
Page Views2,010,917
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view