http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะวิธีรักษาแบคทีเรียนิคโคไทซิ่งฯ

แบคทีเรียนิคโคไทซิ่งฯ รักษาถูกวิธีไม่เกิดอันตราย

           กระทรวงสาธารณสุข เผยเชื้อแบคทีเรียนิคโคไทซิ่ง ฟาเซียทิทิส (Necrotizing fasciitis) หากได้รับ ดูแลรักษาแผลอย่างดีจะไม่เป็นอันตราย โดยอย่าปล่อยให้แผลเน่า เพราะหากเกิดแผลเน่าอาจลุกลามเข้ากระแสเลือดได้ 

           นพ. โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีมีข่าวพบประชาชนรายหนึ่งเลือกซื้อปลาทับทิมในตลาดและติดเชื้อแบคทีเรียจนเสียชีวิตว่าเบื้องต้นมาจากเชื้อแบคทีเรียที่ออกฤทธิ์รุนแรงซึ่งอาจมาจากเชื้อแอนแอโรบิคแบคทีเรีย (Anaerobic Bacteria) และเชื้อแอโรโบแนสแบคทีเรีย (Aeromonas Bacteria) เชื้อทั้ง 2 ตัวนี้ เป็นเชื้อที่ไม่ต้องอาศัยออกซิเจน เป็นแบคทีเรียที่รุนแรงมากกว่าแบคทีเรียชนิดอื่นหลายเท่า เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเกิดการเน่าตายของเนื้อเยื่อ  และลามไปถึงการติดเชื้อในกระแสเลือดจนช็อคเสียชีวิตในเวลา 48 ชั่วโมง ที่สำคัญแบคทีเรียทั้ง 2 กลุ่มนี้ บุคคลที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อก็คือ คนที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำที่สำคัญเสี่ยงกับบุคคลที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว เพราะหากเป็นแผลเชื้อจะลามมากกว่าบุคคลทั่วไป

          นพ.โอภาส การย์กวินพงษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในสิ่งแวดล้อมมีแบคทีเรียมีหลายชนิดที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่บาดแผล ติดเชื้อในกล้ามเนื้อ ทำลายเนื้อเยื่อ และลุกลาม โดยเฉพาะกรณีที่เป็นบาดแผลลึก ทำให้มีไข้สูง ปวดบริเวณที่เป็นแผล หากรักษาไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เสียชีวิตประมาณ 5-7วัน แต่การเรียกว่าแบคทีเรียกันเนื้อคน ถือเป็นเรื่องพูดเกินจริง เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เกิดได้ไม่บ่อย

          ในประเทศไทยมีรายงานการเสียชีวิตประปราย แต่ไม่มีการเก็บสถิติอย่างจริงจัง เช่น ช่วงที่เกิดสึนามิก็พบมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อแบคทีเรียหลายราย เหมือนกับการถูกแมงมุมสีน้ำตาลกัด อย่างไรก็ตาม  สำหรับแบคทีเรียที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวมีหลายตัว แต่ที่พบในน้ำเน่า และดินเรียกว่า เชื้อแบคทีเรียนิคโคไทซิ่ง ฟาเซียทิทิส (Necrotizing fasciitis)  โดยเมื่อติดเชื้อดังกล่าว หากได้รับ ดูแลรักษาแผลอย่างดีก็จะไม่เป็นอันตราย โดยอย่าปล่อยให้แผลเน่า เพราะหากเกิดแผลเน่าอาจลุกลามเข้ากระแสเลือดได้ 

          “สำหรับน้ำในสระว่ายน้ำ น้ำประปาไม่มีปัญหาเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้แน่นอนแต่เพื่อความแน่ใจหากเกิดบาดแผลแม้เพียงเล็กๆ น้อยระหว่างที่มีการสัมผัสกับน้ำสกปรกก็ให้ไปพบแพทย์อย่างน้อยจะได้ฉีด วัคซีนป้องกันบาดทะยัก ทั้งนี้ สำหรับ ข้อความที่ส่งกันทางไลน์บอกว่าเสียชีวิตใน 2 วันนั้น ส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อที่บาดแผล ติดเชื้อในกล้ามเนื้อ ทำลายเนื้อเยื่อนั้นไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใด” นพ.โอภาส กล่าว

          ด้านนพ.เสรี หงษ์หยก อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) และเพื่อนของผู้เสียชีวิตจากการถูกเงี่ยงปลาตำ กล่าวว่า ได้ทราบข่าวเนื่องจากเพื่อนโทรมาปรึกษาอาการ โดยพบว่าไปเลือกซื้อปลาในวันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม จากนั้นมีอาการปวดในวันที่ 20 กรกฎาคม ไปหาแพทย์ ซึ่งก็ล้างแผลปกติ ต่อมาหกล้มตรงบริเวณบันได มีอาการขาบวม ไปพบแพทย์ก็พบว่าติดเชื้อแล้ว กระทั่งมาทราบอีกทีว่าเสียชีวิตนั่นเอง

          ที่มา : เว็บไซต์มติชน

http://www.thaihealth.or.th/Content/25163-แบคทีเรียนิคโคไทซิ่งฯ%20รักษาถูกวิธีไม่เกิดอันตราย.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,820
Page Views2,010,994
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view