http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อันตรายยาสีฟันเด็กไร้ฉลากฟลูออไรด์

อันตรายยาสีฟันเด็กไร้ฉลากฟลูออไรด์

 

/data/content/25011/cms/e_cdeimq123689.jpg

          กรมอนามัยเผยผลสำรวจพบ "ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์" สำหรับเด็กหลายยี่ห้อ ไม่ได้ระบุปริมาณฟลูออไรด์ไว้ที่ฉลาก เสี่ยงเกิดอันตรายต่อเด็กได้ ล่าสุดเตรียมหารือกับทาง อย. พิจารณาให้มีการระบุปริมาณฟลูออไรด์ลงในฉลากแล้ว

          ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ปัจจุบันได้เกิดการตื่นตัวในเรื่องการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์กันในวงกว้าง เพื่อเป็นตัวช่วยเสริมให้ฟันแข็งแรงป้องกันฟันผุ เพราะการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เป็นการทำให้ฟลูออไรด์สัมผัสกับผิวฟันโดยตรง และเป็นวิธีที่ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้โดยไม่ยุ่งยาก จากการศึกษาพบว่า การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้น 1000 พีพีเอ็ม. จะสามารถป้องกันฟันผุได้มากถึงร้อยละ 30 โดยที่ผ่านมากรมอนามัยโดยสำนักทันตสาธารณสุขได้ส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันฟันผุโดยเฉพาะเด็กที่มีฟันผุหรือเกิดฟันผุได้ง่าย

          ในประเทศไทยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ถูกจัดให้เป็นเครื่องสำอางที่ต้องอยู่ในการควบคุมตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง (พ.ศ. 2535) ซึ่งได้กำหนดปริมาณฟลูออไรด์ที่ผสมไว้ได้ไม่เกิน 0.11% หรือ 1,100 พีพีเอ็ม. ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายจากการได้รับฟลูออไรด์เกิน โดยเฉพาะในเด็กที่อาจได้รับอันตรายจากการกลืนกินยาสีฟันในขณะการแปรงฟัน ซึ่งพบว่าในการแปรงฟันแต่ละครั้ง เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี กลืนยาสีฟันถึงหนึ่งในสามของยาสีฟันที่อยู่บนแปรงสีฟัน โดยเด็กจะกลืนลงไปโดยไม่ตั้งใจ ทำให้ได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหา "ฟันตกกระ" ในฟันแท้ของเด็กคนนั้นๆ ได้(ฟันตกกระเป็นภาวะผิดปกติ ฟันแท้มีสีขาวขุ่น ในเด็กที่เป็นรุนแรงผิวฟันเป็นหลุมอาจมีสีดำหรือน้ำตาล)อีกประการหนึ่งคือยาสีฟันสำหรับเด็กมักแต่งกลิ่นเติมรสเพื่อให้เด็กชอบ อยากแปรงฟัน เช่นรสผลไม้ ส้ม สตรอเบอร์รี่ รสโคล่า รสบับเบิ้ลกัม เป็นต้น ทำให้เด็กบางคนกินยาสีฟันด้วย โดยเฉพาะเด็กวัยอนุบาล ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฟันผุ

          ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า การระบุปริมาณฟลูออไรด์บนฉลากยาสีฟันสำหรับเด็กจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถเลือกใช้ยาสีฟันสำหรับเด็กได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสม แต่จากการเฝ้าระวังตรวจวัดปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟันสำหรับเด็กที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเมื่อปลายปี 2556 ที่ผ่านมาจากทั้งหมด 10 ยี่ห้อ 37 รุ่นผลการตรวจวัดพบว่า ยาสีฟันสำหรับเด็ก34 รุ่น หรือร้อยละ 92 มีฟลูออไรด์เป็นส่วนผสมในจำนวนนี้มีเพียง 13 รุ่นที่ระบุปริมาณฟลูออไรด์ไว้ที่ฉลากยาสีฟัน ส่วนอีก 21 รุ่น ไม่ได้ระบุปริมาณฟลูออไรด์ให้ผู้บริโภคทราบ

          เหตุผลสำคัญที่ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์สำหรับเด็กบางยี่ห้อไม่ได้ระบุปริมาณฟลูออไรด์ลงในฉลากผลิตภัณฑ์ เนื่องจากประเทศไทยได้มีการปรับปรุง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535 เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติเครื่องสำอางอาเซียน (ASEAN Cosmetic Directive : ACD) เนื่องจากได้ลงนามข้อตกลงร่วมกันกับประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนเมื่อปี พ.ศ.2546 ในการปรับกฎระเบียบให้สอดคล้องกัน โดยให้จัดทำฉลากเครื่องสำอางในลักษณะที่เป็นกลางและเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อป้องกันการกีดกันทางการค้าเมื่อไทยเข้าสู่อาเซียน และหลังจากที่มีการปรับปรุง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535คณะกรรมการเครื่องสำอางซึ่งตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.นี้ได้ออกประกาศ(พ.ศ.2554) ให้ระบุชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางโดยให้เรียงลำดับ ตามปริมาณของสารจากมากไปหาน้อยและคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่ออนามัยของบุคคล (ถ้ามี)แต่ไม่ได้ให้ระบุปริมาณของสารที่เป็นส่วนผสมเอาไว้ด้วย ประกาศดังกล่าวนี้จึงมีผลทำให้ยาสีฟันไม่จำเป็นต้องระบุปริมาณฟลูออไรด์ลงในฉลากผลิตภัณฑ์อีกต่อไป

          อธิบดีกรมอนามัย กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการคุ้มครองสุขภาพและลดโอกาสเกิดอันตรายที่เป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในเด็ก และเพื่อประโยชน์สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองในการมีข้อมูลจากฉลากเป็นตัวช่วยในการเลือกซื้อยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ได้เหมาะสมและปลอดภัยกับบุตรหลาน กรมอนามัยได้เตรียมหารือร่วมกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อพิจารณาดำเนินการให้มีการระบุปริมาณฟลูออไรด์ในฉลากยาสีฟันสำหรับเด็กแล้ว

          "ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของเด็ก ขอแนะนำว่าพ่อแม่ควรเตรียมยาสีฟันใส่แปรงให้เด็กเพียงบางๆ และดูแลการแปรงฟันให้ดี โดยควรบีบยาสีฟันให้และช่วยแปรงฟัน เพราะเด็กมักชอบกลืนยาสีฟัน การใช้ยาสีฟันผสมฟูลออไรด์ในเด็กเล็กจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะช่วงก่อนอายุ 3 ปี เป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันตกกระในฟันหน้ามากที่สุด ดังนั้น ในเด็กเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นจนถึงอายุ 3 ปี ควรเลือกใช้ยาสีฟันผสมฟูลออไรด์ที่ปริมาณ 500 พีพีเอ็มใช้ในปริมาณน้อยๆ คือแตะพอชื้นบนแปรงสีฟัน ส่วนเด็กอายุ 3 ถึง 6 ปี ควรใช้ยาสีฟันในปริมาณเท่ากับเมล็ดถั่วเขียวหรือเมล็ดข้าวโพด สำหรับเด็กที่อายุมากกว่า 6 ปี สามารถใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในปริมาณ 1000 พีพีเอ็ม เพราะสามารถควบคุมการกลืนได้แล้ว" อธิบดีกรมอนามัยกล่าว

          ที่มา : เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์
http://www.thaihealth.or.th/Content/25011-อันตราย%20'ยาสีฟันเด็ก'%20ไร้ฉลากฟลูออไรด์.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,642
Page Views2,010,816
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view