http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เข้าป่าฤดูฝนระวังไข้มาลาเรีย

เข้าป่าฤดูฝนระวังไข้มาลาเรีย

/data/content/24965/cms/e_abdfilmnov57.jpg

          สธ.เตือนประชาชนระวังป่วยโรคมาลาเรีย-ไข้จับสั่นช่วงฤดูฝน เผย 6 เดือนปีนี้ป่วยแล้วกว่า 10,000 ราย แนะผู้ที่เดินทางเข้าไปในป่าเขาต้องป้องกันตัวเอง

          นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการติดตามเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรีย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 13 มิ.ย.57 พบผู้ป่วยทั่วประเทศ 11,036 ราย มากที่สุดที่ภาคใต้ 3,745 ราย รองลงมาภาคเหนือ 2,946 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,837 ราย ต่ำสุดที่ภาคกลาง 1,508 ราย จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยสูงสุด 5 อันดับแรกคือ อุบลราชธานี ตาก ยะลา สงขลา และกาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า แนวโน้มโรคมาลาเรียจะพบในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากขึ้น โดยเฉพาะ จ.อุบลราชธานี จังหวัดเดียวพบ 2,384 ราย คิดเป็นร้อยละ 84 ของทั้งภาค สูงกว่าปี 56 กว่า 8 เท่าตัว ที่พบผู้ป่วยเพียง 289 ราย ขณะนี้จึงได้สั่งการให้ให้ทุกพื้นที่เฝ้าระวังโรคมาลาเรียอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะพื้นที่เป็นสวนหรือผู้ที่มีอาชีพเก็บของป่า เสี่ยงถูกยุงก้นปล่องตัวการแพร่เชื้อมาลาเรียกัดได้ และจัดระบบการตรวจและรักษาผู้ป่วยให้รวดเร็วลดอาการรุนแรง

          ด้านนพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคมาลาเรียเป็นโรคติดต่อประจำถิ่นในประเทศเขตร้อน โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค เชื้อที่พบในไทยที่ตรวจพบมากในปีนี้คือ พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ ซึ่งอาการป่วยจะปรากฏหลังถูกยุงกัด 10-14 วัน มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงที่เรียกว่ามาลาเรียขึ้นสมอง ปวดศีรษะรุนแรง ตับโต น้ำตาลในเลือดต่ำ ไตวาย และเสียชีวิตได้ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อมาลาเรีย จะมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ และหากป่วยด้วยโรคนี้ครั้งแรกจะมีอาการรุนแรง เพราะยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อมาลาเรีย แต่หากติดเชื้อซ้ำอีกครั้ง อาการมักจะไม่รุนแรง ดังนั้นประชาชนควรป้องกันอย่าให้ยุงกัด และไม่ควรกินยาป้องกันล่วงหน้า เนื่องจากไม่มีผลในการป้องกัน ภายหลังกลับจากป่า ถ้ามีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ขอให้นึกถึงโรคมาลาเรีย และรีบพบแพทย์รักษาทันที

          ที่มา : เว็บไซต์เดลินิวส์ออนไลน์

http://www.thaihealth.or.th/Content/24965-เข้าป่าฤดูฝนระวังไข้มาลาเรีย.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,699
Page Views2,010,873
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view