http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ไทยพบเชื้อแบคทีเรียดื้อยาสูง

ไทยพบเชื้อแบคทีเรียดื้อยาสูง

 

/data/content/24879/cms/e_clmopuvxz458.jpg

          กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยสถานการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น จึงได้ร่วมมือกับเครือข่ายโรงพยาบาล 60 แห่งทั่วประเทศ         
          นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีเชื้อโรคหลากหลายชนิดทวีการดื้อยามากขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนสถานการณ์ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียในประเทศไทย จากการศึกษาวิจัยและเฝ้าระวังปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพของศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ

          สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ขณะนี้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะของเชื้อแบคทีเรียในประเทศไทยค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะเชื้อหลายชนิดมีแนวโน้มการดื้อยามากขึ้นเป็นลำดับ จากการรวบรวมข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ร่วมกับเครือข่ายโรงพยาบาล 60 แห่งทั่วประเทศ เก็บรวบรวมข้อมูลการดื้อยาของเชื้อโรคแต่ละชนิด พบว่า เชื้อโรคหลายชนิดมีอัตราการดื้อยาสูง เช่น เชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส นิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบที่พบในเด็กอายุไม่เกิน 5 ขวบ มีการดื้อยามากขึ้นเป็นลำดับจาก 47% ในปี 2541 เพิ่มเป็น 65.6% ในปี 2556 เชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม (Enterococcus faecium) มีอัตราดื้อยา vancomycin เฉลี่ยในรอบ 10 ปี (2545-2555) 0.8% เพิ่มเป็น 3.2% ในปี 2556      

           อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าตกใจและวงการแพทย์กังวลมากที่สุด ขณะนี้ก็คือการดื้อยาของเชื้อในกลุ่มเอซินีโทแบคเตอร์ (Acinetobacter) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่มักฉวยโอกาส ก่อโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจผ่านเครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยไอซียู เชื้อเหล่านี้ดื้อต่อยาทุกตัวและมีแนวโน้มดื้อยา กลุ่ม carbapenems ซึ่งเป็นยาที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียแกรมลบ โดยมีอัตราการดื้อยา imipenem เพิ่มจาก 14.4% ในปี 2543 เป็น 66.3 % ใน ปี 2556 นอกจากนี้ยังพบเชื้อ เช่น อีโคไล (E.coli) และเคลบซิลล่า นิวโมเนียอี (Klebsiella pneumoniae) มีแนวโน้มดื้อยากลุ่ม carbapenems อย่างต่อเนื่องด้วย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยก็เป็นกังวลจึงได้ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เฝ้าระวังเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด     

          นายแพทย์อภิชัย กล่าวต่ออีกว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 โดยการสนับสนุนขององค์การอนามัยโลกเพื่อสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ ซึ่งใน 2 ปีแรกมีโรงพยาบาลสมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่าย 33 แห่ง และเพิ่มขึ้นเป็น 60 แห่ง ในปี พ.ศ.2547 หนึ่งในภารกิจหลักของศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ คือจัดทำ antibiogram ซึ่งจะทำให้ทราบสถานการณ์ของเชื้อดื้อยาในภาพรวมของประเทศ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้โปรแกรม WHONET ในการจัดทำฐานข้อมูลของโรงพยาบาลเครือข่ายและวิเคราะห์ข้อมูลผลการทดสอบความไวของเชื้อแบคทีเรียต่อยาเพื่อจัดทำ antibiogram โปรแกรมนี้ดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ ขององค์การอนามัยโลกและถูกแนะนำไปยังทุกประเทศที่เป็นสมาชิก ตัวโปรแกรมมีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอมี 17 ภาษา รวมทั้งภาษาไทย และสามารถนำไปใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้ทุกประเทศรายงานสถานการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว      

          ด้วยเหตุนี้ ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จึงจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลผลการทดสอบความไวของเชื้อแบคทีเรียต่อยาต้านจุลชีพด้วยโปรแกรม WHONET โดยการอบรมครั้งนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการข้อมูลสารสนเทศเชื้อแบคทีเรียดื้อยาระดับประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย นักเทคนิคการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และโรงพยาบาลเครือข่าย เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การวิเคราะห์และองค์ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการที่ช่วยให้การป้องกันและควบคุมโรคของประเทศ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

          ที่มา : เว็บไซต์ไทยโพสต์

http://www.thaihealth.or.th/Content/24879-ไทยพบเชื้อแบคทีเรียดื้อยาสูง%20.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,762
Page Views2,010,936
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view