http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โรคมือเท้าปากรุกหนัก

โรคมือเท้าปากรุกหนัก แนะตรวจไข้ นร.

       กรมควบคุมโรคเตือนโรคมือเท้าปากระบาดช่วงฤดูฝน หลังพบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น แนะครูศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลตรวจไข้เด็กทุกเช้า หากพบมีไข้ ตุ่มใสขึ้นตามมือและในปาก ให้หยุดเรียนทันที

        นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน อากาศเย็นและชื้น เอื้อต่อการเจริญของเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งโรคที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือ โรคมือเท้าปาก เนื่องจากในปี 2557 พบผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-15 มิ.ย. มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 17,277 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ 1-3 ปี โดย 5 จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และจันทบุรี ดังนั้นเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาด กรมควบคุมโรคจึงได้ประสานไปยังสำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัดและกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ซึ่งมีเด็กอยู่รวมกันจำนวนมาก กำชับให้ครูตรวจไข้เด็กทุกวันตอนเช้า หากพบมีไข้ มีตุ่มใสขึ้นตามมือและในปาก ขอให้สงสัยว่าอาจเป็นโรคมือเท้าปากให้เด็กหยุดเรียนจนกว่าอาการป่วยจะหาย

      ทั้งนี้ โรคมือเท้าปากมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโรคนี้จะติดต่อกันและเข้าทางปาก โดยเชื้อติดมากับมือที่สัมผัสกับน้ำมูก น้ำลาย น้ำในตุ่มพอง หรือแผล และอุจจาระของผู้ป่วย อาการป่วยจะเริ่มจากมีไข้ มีตุ่มแดงขึ้นในปาก มักพบที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ทำให้เจ็บปากไม่อยากทานอาหาร นอกจากนี้อาจพบตุ่มที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า ก้น และที่หัวเข่าด้วย โดยอาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นภายใน 7-10 วัน

        "โรคนี้ไม่มียารักษาและวัคซีนป้องกัน การรักษาจะเน้นเพื่อบรรเทาอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาทาแก้ปวดแผลที่ลิ้นและกระพุ้งแก้ม โดยผู้ดูแลเด็กควรเช็ดตัวลดไข้เป็นระยะ และให้เด็กรับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด ดื่มน้ำ น้ำผลไม้หรือไอศกรีมเย็นๆ และนอนพักผ่อนมากๆ ถ้าเป็นเด็กอ่อนอาจต้องป้อนนมให้แทนการดูดนม เพื่อลดการปวดแผลในปาก ที่สำคัญคือการป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงถึงเสียชีวิต โดยหากผู้ปกครองสังเกตเห็นลูกที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก และอาการไม่ดีขึ้น มีไข้สูง ซึม อาเจียนบ่อยๆ หายใจหอบ แขน-ขาอ่อนแรง ไม่รับประทานอาหารและนํ้า ขอให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที" อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าว

       นพ.โสภณกล่าวต่อว่า สำหรับวิธีป้องกันการป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก ควรรักษาความสะอาดร่างกาย ตัดเล็บให้สั้น และหมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่บ่อยๆ โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร ทั้งนี้ หากโรงเรียนอนุบาล ศูนย์เด็กเล็ก หรือสถานรับเลี้ยง พบเด็กป่วยด้วยโรคมือเท้าปาก ต้องแยกเด็กป่วยออกจากกลุ่มเพื่อน ให้พักที่บ้านเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และให้ทำความสะอาดพื้น ห้องน้ำ สุขา เครื่องใช้ ของเล่น สนามเด็กเล่น ตลอดจนเสื้อผ้าที่อาจปนเปื้อนเชื้อ โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ทั่วไป และหากมีเด็กป่วยจำนวนมากอาจจำเป็นต้องปิดสถานที่ชั่วคราว 1-2 สัปดาห์ และทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค โดยอาจใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนผสมกับน้ำ 30 ส่วน.

        ที่มา: เว็บไซต์ไทยโพสต์

http://www.thaihealth.or.th/Content/24840-โรคมือเท้าปากรุกหนัก%20แนะตรวจไข้%20นร..html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,764
Page Views2,010,938
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view