http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เร่งพัฒนาคุณภาพอาหารเด็กไทย

เร่งพัฒนาคุณภาพอาหารเพื่อเด็กไทย 

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เร่งพัฒนาคุณภาพอาหารกลางวันเด็กตั้งเป้า 10 ปี ข้างหน้า ส่งเสริมให้เด็กไทยมีโภชนาการสมวัย ไอคิวดี สามารถ ลดภาวะผอม อ้วน และเตี้ย หนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน มีการจัดบริการอาหารแบบครัวกลาง 1 ตำบล 1 ครัวมาตรฐาน พร้อมจัดทำนวัตกรรมโภชนาการสมวัย ฉบับปรับปรุงใหม่ที่ง่ายต่อการนำไปใช้พัฒนา งานด้านการจัดการอาหารและโภชนาการ อย่างมีประสิทธิภาพ

         นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดี กรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายด้านการจัดการอาหาร และโภชนาการ" ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ว่า จากการสุ่มประเมินคุณภาพอาหารโรงเรียนใน 4 ภาค 20 จังหวัด รวม 66 แห่ง ของกรมอนามัยร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 4-14 มีนาคม 2557 โดยทำการสุ่ม ประเมินหลังจากโรงเรียนได้รับค่าอาหารกลางวัน นักเรียนเพิ่มจาก อัตราวันละ 13 บาท/คน เป็น 20 บาท/คน พบว่า มีเพียงร้อยละ 20 ของโรงเรียนเท่านั้นที่สามารถจัดอาหารกลางวัน มีคุณภาพได้มาตรฐาน ที่เหลือยังต้องปรับปรุงทั้งคุณภาพ ปริมาณ และความสะอาด รวมทั้งทักษะด้านการเรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ จะช่วยให้ภาคีเครือข่ายเข้าใจ หลักการสามารถ ถ่ายทอดและนำชุดความรู้ สื่อ นวัตกรรม ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการอาหารและโภชนาการให้มีคุณภาพได้มาตรฐานโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และอาหารปลอดภัย รวมทั้งขยายผลแหล่งเรียนรู้ด้าน การจัดการอาหารและโภชนาการในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน จากปี 2556 ที่มีอยู่ 706 แห่งเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 300 แห่ง ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดจังหวัดต้นแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและ โภชนาการ อย่างน้อย ภาคละ 1 จังหวัด ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเด็กไทยประมาณ 6 ล้านคน ได้กินอิ่มอย่างมีคุณภาพ และคาดหวังว่าภายใน ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2567) จะสามารถลดภาวะผอม จากร้อยละ 9.1 เหลือร้อยละ 7 ภาวะอ้วนและเตี้ย จากร้อยละ 17 และ 16.3 เหลือไม่เกินร้อยละ 11 หรืออย่างน้อย ภาวะอ้วน และเตี้ยลดลงได้ ร้อยละ .5  ต่อปีเมื่อเทียบกับสถานการณ์เดิม และส่งเสริมให้เด็กไทยเพศหญิงและเพศชายมีความสูง เฉลี่ย 165, 175 ซม. และมีไอคิวเฉลี่ยมากกว่า 100 จุด

          นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า ใน ปี 2557 นี้ กรมอนามัยมีเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการอาหาร และโภชนาการมากที่สุดใน 3 เรื่อง คือ 1) การบรรจุนักโภชนาการหรือ นักจัดการอาหารและโภชนาการ ระดับตำบล โดยใช้งบประมาณท้องถิ่น 2) การผลักดัน ให้ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  โรงเรียนมีการจัดบริการอาหารแบบครัวกลาง 1 ตำบล 1 ครัวมาตรฐาน  3) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ให้มีทักษะการจัดการอาหารและโภชนาการ และได้รับการ ตรวจสุขภาพประจำปีทุกคน โดยมี 4 มาตรการขับเคลื่อนงานสู่ความสำเร็จ คือ 1) เร่งรัดให้กระทรวงศึกษาธิการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำมาตรฐานการจัดการอาหารและโภชนาการไปใช้ใน การพัฒนา ควบคุม กำกับ ติดตาม และตรวจสอบ คุณภาพอาหาร ขนม นม และเครื่องดื่ม รวมทั้ง มีกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ครอบครัว และชุมชน ในการพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการที่พึงประสงค์ 2)  ผลักดันให้ ทุกจังหวัดบรรจุงานอาหารและโภชนาการ   เพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย ไว้ในยุทธศาสตร์ จังหวัดและแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยมีงบประมาณ รองรับ และนำสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนพัฒนากลไก กฎระเบียบหรือแนวทางที่เอื้อต่อการจัดการอาหารและโภชนาการ ได้ทันเวลาและมีคุณภาพตามมาตรฐาน 3) ส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีระบบควบคุม กำกับ ติดตาม และประเมินผล การจัดการคุณภาพอาหาร  ทั้งในระดับพื้นที่ และระดับจังหวัด  ปีละ 2 ครั้ง สำหรับส่วนกลาง ประเมินปีละครั้ง พร้อมทั้งมีการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของ เด็กปฐมวัย และเด็กวัยเรียน ต่อเนื่อง โดยการชั่งน้ำหนัก  วัดส่วนสูง อย่างน้อย ปีละ ๒ ครั้ง สำหรับเด็กกลุ่มเสี่ยงได้รับการ แก้ไขปัญหาโดยมีการติดตามเดือนละครั้ง และ 4) เสริมพลัง สร้างแรงจูงใจให้ทุก อปท. จัดทำและขับเคลื่อนมาตรการทางสังคม ธรรมนูญสุขภาพตำบล หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นด้านการจัดการอาหารและโภชนาการที่นำสู่การปฏิบัติได้จริงอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งผลให้ เด็ก ผู้ปกครอง และชุมชน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โภชนาการที่พึงประสงค์ได้ง่าย และยั่งยืน
          "ทั้งนี้ กรมอนามัยยังได้จัดทำนวัตกรรมโภชนาการสมวัย ฉบับปรับปรุงใหม่ที่ง่ายต่อการนำไปใช้พัฒนางาน  ด้านการจัดการอาหารและโภชนาการอย่าง มีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1) ชุดเรียนรู้สร้างเสริมสุขภาพ เพื่อนักเรียนไทย มีโภชนาการสมวัย ซึ่งบูรณาการใน 8 กลุ่ม สาระการเรียนรู้ ตั้งแต่ ป.1- 6  2) คู่มือมาตรฐาน อาหารสำหรับครู ผู้ดูแลเด็ก แม่ครัว และ ผู้ประกอบอาหาร ใช้กำหนดอาหารที่จำหน่ายหรือบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน ชุมชน ตามเกณฑ์โภชนาการ 3) เครื่องมือการ เฝ้าระวังตนเองด้านอาหารและโภชนาการ ทั้งระดับปัจเจกบุคคล และระดับองค์กร สำหรับชุมชน ศุนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และ อปท. ใช้เป็นเครื่องมือประเมินตนเอง เพื่อให้ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านโภชนาการ ของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง เด็กปฐมวัย และเด็ก วัยเรียน " รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด

         ที่มา: มติชนออนไลน์

http://www.thaihealth.or.th/Content/24843-เร่งพัฒนาคุณภาพอาหารเพื่อเด็กไทย.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,459
Page Views2,010,632
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view