http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ระวังสารตะกั่วในเครื่องทำน้ำเย็น

ระวังสารตะกั่วในเครื่องทำน้ำเย็น

          สธ.ขอความร่วมมือโรงเรียนเฝ้าระวังการปนเปื้อน "ตะกั่ว" ในน้ำดื่ม ด้วยการทำความสะอาด "ตู้น้ำดื่ม" สัปดาห์ละครั้ง หวั่นอันตรายจากตู้น้ำดื่มที่ไม่ได้มาตรฐาน เผยหากได้รับพิษตะกั่วสะสมเป็นเวลานาน เสี่ยงเป็นอัมพาตได้

          นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงการเฝ้าระวังตู้น้ำดื่มในโรงเรียน ว่า ตู้ทำน้ำดื่มในโรงเรียนถือเป็นจุดเสี่ยงอันตรายที่มีผลต่อสุขภาพของนักเรียน หากไม่มีการทำความสะอาดเป็นประจำ โดยเฉพาะสารตะกั่วในน้ำดื่มจากตู้ทำน้ำดื่มที่ไม่มีคุณภาพ หากได้รับพิษตะกั่วอย่างต่อเนื่องและปริมาณมาก จะก่อให้อันตรายต่อร่างกายอย่างเฉียบพลัน คือ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง เมื่อพิษสะสม จะทำให้ระบบประสาทส่วนปลายเป็นอัมพาตที่นิ้วเท้าและมือ เหนื่อยง่าย และอ่อนเพลียได้ เพราะจากข้อมูลสำรวจการปนเปื้อนตะกั่วในน้ำดื่มจากตู้ทำเย็นของโรงเรียนในจังหวัดต่างๆ พบว่าส่วนหนึ่งยังมีค่าสูงเกินมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคกรมอนามัย พ.ศ.2553 คือ 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร และจากการเก็บตัวอย่างน้ำมาตรวจสอบสภาพของแหล่งน้ำและเครื่องทำน้ำเย็นที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวเชื่อมตะเข็บรอยต่อทั้งใหม่และตู้เก่าที่ผ่านการซ่อม    

          ทั้งนี้ พบว่ามีการเชื่อมทั้งบริเวณมุมของภายในช่องท่อต่อน้ำเข้าเครื่องบริเวณลูกลอยกับก้าน และช่องท่อส่งน้ำออกบริเวณพื้นตัวถังไปสู่ก๊อกน้ำ ทำให้น้ำที่ไหลผ่านตู้น้ำมีตะกั่วปนเปื้อน รวมทั้งที่เก็บน้ำมีความสกปรก ขาดการดูแลอย่างสม่ำเสมอ หากดื่มเข้าไปทำให้ร่างกายได้รับน้ำที่ปนเปื้อน ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ทั้งอุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์ อหิวาต์ ในกลุ่มเด็กนักเรียน ซึ่งสถานการณ์โรคอุจจาระร่วงในกลุ่มเด็กปี 2557 จากรายงานการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา พบผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 7-9 ปี จำนวน 22,798 ราย และในกลุ่มอายุ 10-14 ปี จำนวน 24,631 ราย

          ด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยได้สนับสนุนให้ดื่มน้ำที่สะอาด ปลอดภัย ซึ่งการป้องกันอันตรายสารตะกั่วจากตู้น้ำดื่ม จึงควรเริ่มตั้งแต่การเลือกซื้อตู้ทำน้ำเย็น ที่ประกอบด้วยเหล็กกล้าไร้สนิมเกรดดี ชนิดหนา เพื่อป้องกันการได้รับสารตะกั่วในร่างกาย เพราะถึงแม้จะปนเปื้อนจำนวนน้อย ก็ส่งผลกระทบต่อเด็กได้ง่าย เนื่องจากเด็กมีความไวต่อการสัมผัส หากร่างกายได้รับสารตะกั่วในปริมาณสูงก็จะเกิดอาการเป็นพิษได้ โดยถังเก็บน้ำต้องทำด้วยวัสดุเหล็กกล้าไร้สนิมที่ใช้กับอาหาร ไม่มีตะกั่วเป็นส่วนผสม เชื่อมตะเข็บรอยต่อด้วยก๊าซอาร์กอน หรือก๊าซ สำหรับเชื่อมอื่นที่ไม่มีสารพิษปนเปื้อน และไม่มีผลตกค้างในถังน้ำ ช่องต่อท่อน้ำออก ท่อระบายน้ำทิ้ง ก๊อกน้ำ ช่องรอยต่อข้อต่างๆ เป็นข้อต่อพลาสติกใช้กับอาหารที่ไม่ทำให้น้ำมีกลิ่น รส สีเปลี่ยนไปจากเดิม และต้องไม่มีสารพิษในเนื้อพลาสติก

          "โรงเรียนต้องหมั่นดูแลทำความสะอาดตู้น้ำดื่ม โดยการล้างที่เก็บน้ำภายในตู้ทุกสัปดาห์ ทำความสะอาดก๊อกน้ำและบริเวณผิวภายนอกตู้ให้สะอาดทุกวัน โดยใช้ผ้านุ่ม หรือฟองน้ำล้างภายในด้วยน้ำยาล้างจาน จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด ตรวจสอบสายไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพดี รวมถึงดูแลบริเวณติดตั้งตู้น้ำดื่มให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่มีน้ำขังนอง เพื่อความปลอดภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร" อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

          ที่มา : เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์

http://www.thaihealth.or.th/Content/24738-ระวังสารตะกั่วในเครื่องทำน้ำเย็น.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,753
Page Views2,010,927
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view