http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

สับสนเฉียบพลันมักพบในผู้สูงอายุ

 สับสนเฉียบพลัน’ มักพบในผู้สูงอายุ

          ผู้ป่วยที่มีอาการสับสนเฉียบ พลันจะมีอาการพูดคุยคนละเรื่อง ไม่เป็นเรื่องราว จับต้นชนปลายไม่ถูก หลงวัน เวลา และสถานที่ มีอาการเห็นภาพหลอนที่คนอื่นไม่เห็น

          อาการนี้มักพบในผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่นๆ ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งมีความเสี่ยงสูง เพราะเซลล์สมองเริ่มตายมากขึ้น ทำให้ความสามารถของสมองลดลง รองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆของร่างกายได้ไม่ดีเท่าคนหนุ่มสาว ผู้สูงอายุที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลร้อยละ 10-20 เกิดอาการนี้ขณะนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และถ้าต้องได้รับการผ่าตัด เช่น ผ่าตัดข้อสะโพก หรือป่วยอาการหนัก โอกาสเกิดอาการนี้ยิ่งสูงขึ้น

          อาการสับสนเฉียบพลันถือเป็นภาวะค่อนข้างเร่งด่วนที่ต้องไปพบแพทย์ เนื่องจากเกิดจากความผิดปรกติบางอย่างของร่างกายที่ซ่อนอยู่ ไม่ใช่เกิดจากโรคของจิตใจ

          สำหรับความผิดปรกติทางกายที่สำคัญที่มักเป็นสาเหตุของอาการนี้ ได้แก่ 1. ยา ถ้ารับประทานยาหลายชนิดยิ่งมีโอกาสเกิดสูง เพราะฉะนั้นถ้าเพิ่งได้รับยาใดมาไม่นาน หรือมีการปรับขนาดยาหรือวิธีการรับประทานก่อนเกิดอาการสับสนเฉียบพลัน ให้หยุดยาดังกล่าวและปรึกษาแพทย์ โดยนำตัว อย่างยาทั้งหมดไปให้แพทย์ดูด้วย

          2. โรคติดเชื้อ 3. ความผิดปรกติของระดับน้ำตาล เกลือแร่ในร่างกาย กรณีนี้มักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคบางอย่างอยู่เดิม เช่น เป็นโรคเบาหวาน

     4. โรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจวาย หัวใจสูบฉีดเลือดไม่ดี โรคถุงลมโป่งพอง หรือเป็นโรคตับแข็ง และ 5. ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมอยู่เดิม

          การป้องกันอาการสับสนเฉียบพลันโดย 1. พยายามให้ผู้ป่วยได้ทำกิจวัตรประจำด้วยตนเอง อย่างเช่น อาบน้ำเอง แต่งตัวเอง 2. พยายามพูดคุยกับผู้สูงอายุบ่อยๆ เช่น การถามคำถามเกี่ยวกับความเป็นอยู่ พูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆในครอบครัวและสังคม

          3. ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องการมองเห็นและการได้ยิน ให้ผู้ป่วยสวมแว่นสายตาและเครื่องช่วยฟัง เพราะจะทำให้มองเห็นและได้ยินดีขึ้น 4. ถ้าผู้สูงอายุไม่ค่อยได้ไปไหนมาไหน อยู่แต่ในบ้าน พยายามให้ผู้สูงอายุได้สัมผัสแสงแดดบ้างในช่วงเช้าและเย็น ถ้านอนอยู่แต่บนเตียง ลุกเดินไม่ได้ พยายามเปิดผ้าม่านหน้าต่างหรือเปิดไฟให้สว่างในเวลากลางวัน และพยายามหรี่หรือปิดไฟในช่วงกลางคืน

          5. ถ้ามานอนโรงพยาบาล ควรให้ญาติหรือผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุเป็นประจำได้อยู่เฝ้า และนำอุปกรณ์ เครื่องใช้ประจำตัวของผู้ป่วยมาที่โรงพยาบาล เพราะผู้ป่วยจะคุ้นเคย 
          6. หานาฬิกาและปฏิทินวางไว้ในตำแหน่งที่ผู้ป่วยสูงอายุสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เพื่อช่วยกระตุ้นเตือนไม่ให้สับสนวันและเวลา 7. พยายามให้ผู้ป่วยสูงอายุได้รับการพักผ่อนเพียงพอ 
          8.ควรทบทวนวัน เวลา และสถานที่ ให้ผู้ป่วยสูงอายุรับทราบเป็นครั้งคราว 9. หลีกเลี่ยงการใช้ยาเอง ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยาใดๆ

          10. เมื่อมีอาการเจ็บไข้ไม่สบายใดๆควรไปรักษาตั้งแต่แรก 
          11. ในกรณีที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือต้องได้รับการผ่าตัด ควรได้รับการประเมินจากแพทย์ถึงความเสี่ยงต่อการเกิดอาการสับสนเฉียบพลันและการป้องกันไว้ด้วย 12. กรณีที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล แพทย์และพยาบาลควรอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติตัว ขั้นตอนการตรวจและการรักษาให้ผู้ป่วยฟังเป็นระยะ จะช่วยทำให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวล ซึ่งอาจนำมาซึ่งอาการสับ สนได้ และ 13. ในกรณีที่เกิดอาการสับสนแล้วให้ รีบหยุดยาที่ไม่แน่ใจและนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ เนื่องจากอาจเกิดจากความผิดปรกติบางอย่างที่เป็นอันตรายและต้องรักษาอย่างรวดเร็ว

         ที่มา : หนังสือพิมพ์โลกวันนี้วันสุข

http://www.thaihealth.or.th/Content/24393-‘สับสนเฉียบพลัน’%20มักพบในผู้สูงอายุ.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,818
Page Views2,010,992
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view