http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ให้เครื่องตรวจน้ำตาลผู้ป่วยคุ้มค่า

ให้เครื่องตรวจน้ำตาลผู้ป่วยเบาหวาน “คุ้มค่า”

        HITAP เผยผลวิจัยชี้ชัด ให้เครื่องตรวจน้ำตาลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หรือผลิตอินซูลินไม่ได้ตั้งแต่เด็ก มีความคุ้มค่า ลดโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น เตรียมยื่น สปสช. เคาะ

        ภญ.ปรียานุช ดีบุกคำ ผู้ช่วยวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ (HITAP) กล่าวถึง งานวิจัยเรื่องการให้เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองแก่ผู้ป่วยเบาหวาน คุ้มหรือไม่” ว่า เบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่น่าห่วงคือ มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2554 ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานประมาณ 285 ล้านคน คาดว่า อีก 20 ปี จะมีผู้ป่วยเพิ่มเป็น 439 ล้านคนทั่วโลก โดยอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยในประเทศยากจนและกำลังพัฒนามากกว่าประเทศพัฒนาแล้วประมาณ 3 เท่า การศึกษาในครั้งนี้ จึงทำเพื่อประเมินต้นทุนของการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองร่วมกับการดูแลรักษาขั้นพื้นฐานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ในประเทศไทย และนำเสนอต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อพิจารณาต่อไป

         ภญ.ปรียานุช กล่าวว่า โรคเบาหวาน แบ่งเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 คือ เกิดจากความผิดปกติของร่างกายตั้งแต่เด็กที่ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ และเบาหวานชนิดที่ 2 คือ เกิดจากปัจจัยอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังจนทำให้ร่างกายมีการผลิตอินซูลินที่ผิดปกติไปจนถึงไม่สามารถผลิตได้เลย ซึ่งการศึกษาทำเพื่อหาความคุ้มค่าในการแจกเครื่องตรวจวัดน้ำตาลร่วมกับการรักษา พบว่า การให้เครื่องตรวจน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มีความคุ้มค่ามากกว่า โดยต้นทุนจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นมูลค่า 346,316 บาท ตลอดชีวิตผู้ป่วย 1 ราย และทำให้มีปีสุขภาวะดีเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการให้เครื่องตรวจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เฉพาะที่ต้องให้อินซูลิน พบว่าสัดส่วนต้นทุนสูงถึง 1,014.203 บาทต่อปีสุขภาวะ

       “การให้เครื่องตรวจน้ำตาลกับผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ถือว่ามีประโยชน์แต่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ยังถือว่ามีความเห็นที่หลากหลาย เพราะการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 มักมาจากพฤติกรรมและมีปัจจัยที่จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้หลายอย่าง การประเมินเครื่องตรวจน้ำตาลกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1จึงสามารถช่วยลดโรคแทรกซ้อนที่จะสร้างความทุกข์ทรมาน โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไต ประสาท สายตา แผลเรื้อรังที่แขนขา ซึ่งหลายประเทศได้สนับสนุนเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลให้ผู้ป่วย ซึ่งในประเทศไทย เครื่องฯยังไม่ครอบคลุมอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ ยังต้องรอการพิจารณาต่อไป” ภญ.ปรียานุช กล่าว

      ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์

http://www.thaihealth.or.th/Content/24270-ให้เครื่องตรวจน้ำตาลผู้ป่วยเบาหวาน%20“คุ้มค่า”.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,777
Page Views2,010,951
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view