http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โรคพิษสุนัขบ้า ร้ายกว่าที่คิด

          กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตือนประชาชนระวังโรคพิษสุนัขบ้า หากได้รับเชื้อและแสดงอาการ เสียชีวิตทุกราย แนะฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค พร้อมเผยกรมวิทย์ฯ ยกเลิกการตรวจพิษสุนัขบ้าในสุนัขมานานแล้ว แต่ยังให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคในคนต่อไป

          นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยมีเชื้อเรบีส์ไวรัส (Rabies virus) เป็นสาเหตุของโรค ซึ่งในประเทศไทยจะพบมากในสุนัขและแมว ขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น ลิง กระรอก หนู โค กระบือ ก็สามารถเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้เช่นกัน

          เชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าสามารถติดต่อสู่คนได้โดยถูกสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด ระยะเวลาที่เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจนแสดงอาการส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 2-8 สัปดาห์ แต่อาจสั้นเพียงแค่ 7 วันหรือยาวเกินกว่า  1 ปี ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความรุนแรงของบาดแผล ปริมาณของเชื้อที่ได้รับ และโรคนี้สามารถเกิดได้ตลอดทั้งปีไม่ใช่เฉพาะหน้าร้อน

          อาการของโรคมักเป็นการอักเสบของสมองและเยื่อสมอง 2-3 วันแรกผู้ป่วยจะปวดเมื่อยตามตัว มีไข้ ชา เจ็บเสียวหรือปวดบริเวณรอยแผลที่ถูกกัด คันอย่างรุนแรงที่แผลและลำตัว

          อาการของผู้ป่วยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มแรกแบบคลุ้มคลั่ง อาจมีอาการกระวนกระวาย ระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ ประสาทหลอน อาจมีชัก หายใจหอบ หมดสติและเสียชีวิตในที่สุด  และกลุ่มที่ 2 แบบอัมพาต เป็นอาการที่พบได้น้อย โดยมีอาการอัมพาตของแขน ขา พูดไม่ชัด น้ำลายมาก มีอาการกลัวน้ำ กลัวลม พบได้ประมาณร้อยละ 50 หลังแสดงอาการจะอยู่ได้นานกว่าแบบคลุ้มคลั่งและจะเสียชีวิตในที่สุด

          ดังนั้น เมื่อถูกสุนัข แมว หรือสัตว์อื่นๆ กัด ให้ล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ให้ถึงก้นแผล แล้วล้างสบู่ออกให้หมดและใส่ยาฆ่าเชื้อจะช่วยลดอัตราเกิดโรคได้ถึงร้อยละ 80-90 จากนั้นให้รีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้ ถ้าคนหรือสัตว์ที่ได้รับเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าและแสดงอาการแล้วจะเสียชีวิตทุกราย แต่สามารถป้องกันโรคได้ด้วยวัคซีน

          ผู้มีโอกาสสัมผัสสัตว์ หรือสัตว์เลี้ยงที่บ้านควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามโปรแกรมที่กำหนด ซึ่งตาม พ.ร.บ.โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535 กำหนดให้ลูกสุนัขทุกตัวต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตั้งแต่อายุ 2-4 เดือน และฉีดซ้ำทุกปีหรือตามที่สัตวแพทย์กำหนด ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และต้องห้อยเหรียญแสดงการฉีดวัคซีนด้วย

          อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวอีกว่า ห้องปฏิบัติการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้าในคน ที่สงสัยป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ด้วยเทคนิค 3 วิธี ได้แก่ วิธี Fluorescence Antibody Technique (FAT) ใช้ตัวอย่างเนื้อสมอง อย่างน้อย 5 มิลลิกรัม และเซลล์กระจกตาที่แตะบนกระจกสไลด์สะอาด 2 จุด

          วิธีที่ 2 Cell Isolation ตรวจในตัวอย่างเนื้อสมองอย่างน้อย 5 มิลลิกรัม น้ำไขสันหลัง 3 มิลลิลิตร น้ำลาย 5-10 มิลลิลิตร ปัสสาวะ 10-20 มิลลิลิตร และเทคนิคสุดท้ายคือ Nested RT-PCR สามารถตรวจได้ทั้งในตัวอย่างเนื้อสมอง น้ำไขสันหลัง น้ำลาย ปัสสาวะและเซลล์กระจกตา (ปริมาตรเท่ากับการเก็บตัวอย่างตรวจด้วยวิธีที่ 1 และ 2)

          โดยเก็บตัวอย่างใส่ในหลอดบรรจุตัวอย่างที่สะอาด แล้วติดฉลาก ชื่อ นามสกุล ผู้ป่วยที่ข้างหลอดบรรจุตัวอย่าง นำหลอดบรรจุตัวอย่างใส่ในถุงพลาสติกกันน้ำ มัดถุงให้แน่นใส่ในภาชนะเก็บความเย็นที่บรรจุน้ำแข็ง กรอกประวัติและอาการของผู้ป่วยที่ตรวจพบ และวันที่เก็บตัวอย่างให้ชัดเจนในแบบฟอร์มนำส่งตัวอย่าง รีบนำส่งห้องปฏิบัติการทันที หากไม่สามารถนำส่งได้ทันที ให้เก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส

          นอกจากนี้ยังให้บริการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคพิษสุนัขบ้าในคน กรณีที่ฉีดวัคซีนภายหลังถูกสุนัขหรือสัตว์อื่นๆ กัด หรือฉีดวัคซีนเพื่อการป้องกันโรคแล้วต้องการทราบว่าตนเองมีภูมิคุ้มกันหรือไม่ โดยใช้ตัวอย่างน้ำเหลือง 2 มิลลิลิตร ภายหลังฉีดวัคซีนมาแล้วอย่างน้อย 1 เดือน

          ทั้งนี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขได้ปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 แต่ผู้ประสงค์ขอรับบริการตรวจวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้าและตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคพิษสุนัขบ้าในคน สามารถส่งตัวอย่างตรวจได้ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทร.0-2589-9855 , 0-2589-9857 ต่อ 99248

          ที่มา : เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

http://www.thaihealth.or.th/Content/24282-โรคพิษสุนัขบ้า%20ร้ายกว่าที่คิด.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,595
Page Views2,010,769
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view