http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ผู้หญิงเสี่ยงเข่าเสื่อมกว่าผู้ชาย 3 เท่า

ผู้หญิงเสี่ยงเข่าเสื่อมกว่าผู้ชาย 3 เท่า

กรมแพทย์เผยผู้หญิงป่วยข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า เริ่มเป็นมากในวัย 40 ปีขึ้นไป แนะลดน้ำหนัก นั่งห้อยขาให้ฝ่าเท้าราบกับพื้นพอดี เลี่ยงนั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ

          นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ เมื่อมีการใช้งานผิวข้อที่สึกจะมีการขัดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมา ซึ่งพบมากในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า

           อธิบดีกรมการแพทย์ เผยอีกว่า ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้  1.อายุที่เพิ่มขึ้น 2.การใช้งานข้อเข่ามาก 3.น้ำหนักตัวที่มากขึ้นทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักและแรงกดทับ 4.การได้รับบาดเจ็บ เช่น การมีเอ็นไขว้หรือหมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาดหรือมีกระดูกผิวข้อแตก และ 5.มีคนในครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

           อาการข้อเข่าเสื่อม คือปวดข้อเข่า รู้สึกเมื่อย ตึงที่น่องและข้อพับเข่า ผิวหนังบริเวณข้ออุ่นหรือร้อนขึ้น ข้อขัด ข้อฝืด เหยียดงอเข่าได้ไม่สุด มีเสียงดังในข้อเวลาขยับข้อเข่าจากการเสียดสีกันของผิวข้อที่ไม่เรียบ ข้อเข่าบวมเพราะน้ำไขข้อมากขึ้นจากการอักเสบ หรือมีก้อนถุงน้ำในข้อพับเข่าจากเยื่อบุข้อเข่าแตกออกมา เข่าคดเข้า เข่าโก่งออก หรือมีกระดูกงอก ทำให้ข้อผิดรูปร่าง กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง

           การรักษา มีหลายวิธีได้แก่ กายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อาจใช้ผ้ารัดเข่า เฝือกอ่อนพยุงเข่า แต่ถ้าใช้นาน ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อลีบ การกินยาบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ไตวาย ความดันโลหิตสูง ยากระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนผิวข้อ ยาชะลอความเสื่อม ฉีดน้ำไขข้อเทียม ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นเฉลี่ย 6 เดือน - 1 ปี แต่มีราคาค่อนข้างสูง การผ่าตัดถือเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ใช้ในการรักษาสำหรับผู้ที่มีอาการมาก และรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล เช่น ผ่าตัดจัดแนวกระดูกใหม่เพื่อลดเข่าโก่ง ส่องกล้องเข้าไปในข้อหรือผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

          การป้องกัน คือ ควรลดน้ำหนักเพื่อให้เข่ารับแรงกดน้อยลง จัดท่านั่งบนเก้าอี้ที่เหมาะสมสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี ไม่ควรนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยองๆ หรือนั่งราบบนพื้น เพราะจะทำให้ผิวข้อเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น เวลาเข้าห้องน้ำควรนั่งบนโถนั่งชักโครก ควรนอนบนเตียงที่มีความสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าแตะพื้นพอดี ไม่ควรเดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมากหรือทางเดินที่ขรุขระ เพราะทำให้น้ำหนักตัวลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้นและอาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ยหรือไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควรและมีขนาดกระชับพอดี

          ผู้ที่ปวดมากหรือข้อเข่าโก่งผิดรูปควรใช้ไม้เท้า เพื่อช่วยรับน้ำหนักและช่วยพยุงตัว ที่สำคัญควรออกกำลังกายที่มีความเหมาะสม เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็วๆ วิ่งเหยาะๆ เป็นต้น ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องลงน้ำหนักที่เข่าเพิ่มขึ้น เช่น วิ่งเร็วๆ เต้นแอโรบิก ฟุตบอล เทนนิส แบดมินตัน บาสเกตบอล เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเข่าเกิดการฉีกขาด และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ ถ้ามีอาการปวดให้พักการใช้ข้อเข่าและประคบด้วยความเย็นความร้อนหรือใช้ยานวดร่วมด้วยได้" อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว

             ที่มา : เว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์

http://www.thaihealth.or.th/Content/24015-ผู้หญิงเสี่ยงเข่าเสื่อมกว่าผู้ชาย%203%20เท่า%20.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,695
Page Views2,010,869
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view