http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ห่วงเด็กไทยป่วย ‘โรคไอกรน’ เพิ่มขึ้น

ห่วงเด็กไทยป่วย ‘โรคไอกรน’ เพิ่มขึ้น

          สธ.เผยมีเด็กไทยป่วยและเสียชีวิตด้วย "โรคไอกรน" มากขึ้น เตือนผู้ปกครองนำบุตรเข้ารับวัคซีน เผยสถิติปี 56 พบผู้ป่วย 24 ราย ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปีสูงสุดสุด

          นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคไอกรน (Pertussis) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดได้กับประชาชนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคทุกคน ทุกวัย โรคนี้ป้องกันได้ด้วยการฉัดวัคซีน ซึ่งขณะนี้ได้พัฒนาเป็นวัคซีนรวม 1 เข็ม ป้องกันโรคได้ 3 โรค คือคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (DTP) เป็นวัคซีนพื้นฐานที่กระทรวงสาธารณสุขจัดบริการฉีดให้เด็กทุกคนในประเทศไทย โดยฉีด 5 ครั้ง เริ่มครั้งที่ 1เมื่ออายุ 2 เดือน และฉีดซ้ำเมื่ออายุ 4 เดือน, 6 เดือน,1 ปี 6 เดือน และอายุ 4 ปีผู้ที่ได้รับวัคซีนครบชุดทุกคน มีโอกาสป่วยจากโรคไอกรนน้อยมาก หรือหากป่วยอาการจะไม่รุนแรง เนื่องจากร่างกายมีภูมิคุ้มกันบางส่วนที่ได้จากวัคซีนแล้ว

          หากเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีป่วยเป็นโรคไอกรน มักจะมีอาการรุนแรง เนื่องจากระดับภูมิต้านทานโรคในร่างกายยังมีน้อย จึงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตคือโรคปอดอักเสบหรือปอดบวม เช่นในปี 2556 ตลอดปีพบผู้ป่วย 24 ราย ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี มากสุดคืออายุ 1-3 เดือนพบร้อยละ 33 โดยพบมีเด็กอายุ 2 เดือนเสียชีวิต 2 ราย รายที่ 1 ที่ จ.ชลบุรี เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนคือปอดอักเสบ ได้รับการฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน 1 ครั้ง ทำให้ร่างกายยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ รายที่ 2 ที่ จ.บึงกาฬ โรคแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิตคือสมองอักเสบ รายนี้ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเนื่องจากป่วยก่อนถึงวันนัดฉีดวัคซีน ซึ่งเด็กทั้ง 2 รายนี้เป็นเด็กเล็กเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย การป้องกันการเสียชีวิตในภาวะนี้ทำได้โดยผู้ปกครองต้องพาไปโรงพยาบาลตั้งแต่เริ่มป่วย เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ทันท่วงที ซึ่งมียาปฏิชีวนะรักษาได้ จะลดโรคแรกซ้อน รักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้

          ดั้งนั้น เพื่อป้องกันการป่วยและลดอันตรายจนถึงชีวิตในเด็กเล็กจากโรคไอกรน ขอให้ผู้ปกครองทุกคนนำบุตรหลานเข้ารับการรับวัคซีนตามนัดที่ปรากฏในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กให้ครบตามช่วงวัย ควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่แออัดหรือในพื้นที่ที่มีโรคระบาด และที่สำคัญคือในกลุ่มประชาชนที่ย้ายที่อยู่บ่อย เช่นรับจ้างก่อสร้าง แรงงานภาคเกษตร อุตสาหกรรม ลูกมีความเสี่ยงได้รับวัคซีนไม่ครบ จึงควรพาลูกหลานไปรับวัคซีนต่อเนื่องในสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้ รวมทั้งแรงงานต่างด้าวที่นำครอบครัวและบุตรเข้ามาทำงานในประเทศไทย ควรพาบุตรหลานเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบถ้วนในสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โดยบุตรแรงงานต่างด้าวที่อายุไม่เกิน 7 ปีบริบูรณ์ สามารถซื้อบัตรประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขได้ในอัตราคนละ 365 บาท เฉลี่ยวันละ 1 บาท มีอายุคุ้มครอง 1 ปี นับจากวันที่ซื้อบัตรประกันสุขภาพ ซึ่งจะได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนเหมือนเด็กไทย

          ด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจอักเสบ และเกิดอาการไอ อาการที่เป็นลักษณะพิเศษของโรคนี้คือ ไอเป็นชุดๆ คือไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้น จนเด็กหายใจไม่ทัน และมีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียงวู๊ป (Whooping cough) สลับไปกับการไอเป็นชุดๆ โรคนี้ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม รดกันโดยตรง ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะป่วยเกือบทุกราย มักพบได้บ่อยในเด็กเล็กดังนั้นหากพบลูกหลานมีอาการป่วยที่กล่าวมา ขอให้สงสัยว่าเป็นโรคไอกรน ต้องรีบพบแพทย์โดยเร็ว โรคนี้มียารักษาหาย

          ปัจจุบันโรคไอกรนลดลงมาก จากการเพิ่มระดับความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ซึ่งในไทยมีค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 98 โดยในไทยยังพบโรคนี้ได้ประปรายในชนบท และพบในเด็กอายุเกิน 5 ปีมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน พบการระบาดเป็นครั้งคราวในเด็กนักเรียนชั้นประถม การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคนี้คือ ให้เด็กที่ป่วยพักผ่อน ดื่มน้ำอุ่น อยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลารักษาประมาณ 6-10 สัปดาห์โรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือ ปอดอักเสบ เลือดออกในเยื่อบุตา อาจมีอาการชัก โดยกรมควบคุมโรคได้จัดระบบเฝ้าระวังโรคนี้ทั่วประเทศ รายงานทุกสัปดาห์เพื่อติดตามควบคุมป้องกันการแพร่ระบาด อย่างใกล้ชิดและรวดเร็ว

          ที่มา : เว็บไซต์ไทยรัฐ
http://www.thaihealth.or.th/Content/23753-ห่วงเด็กไทยป่วย%20‘โรคไอกรน’%20เพิ่มขึ้น.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,533
Page Views2,010,706
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view