http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ซื้อลูกหมา ระวังโรคพิษสุนัขบ้า

ซื้อลูกหมา ระวังโรคพิษสุนัขบ้า

          เตือนประชาชนที่เอาลูกสุนัขพันธุ์พูเดิลจากมหาสารคามไปเลี้ยง สธ.ประกาศรีบพาไปฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าด่วน หลังแม่กับลูกอีกตัวตายแล้วตัดหัวไปตรวจพบเชื้อโรคกลัวน้ำ สั่งเจ้าหน้าที่ออกควานหาตัวลูกสุนัขที่เหลืออีก 3 ตัว เชื่อติดเชื้อพิษสุนัขด้วย

         นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้กระทรวงสาธารณสุขได้รับรายงานจากสำนักงานสาธารณสุข จ.มหาสารคาม ว่ามีสุนัขพันธุ์พูเดิล อายุ 3 ปี ตายขณะทำหมันกับสัตวแพทย์ที่ จ.มหาสารคาม เมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา ต่อมาได้ส่งหัวสุนัขไปตรวจและทราบผลเมื่อวันที่ 28 มี.ค. ยืนยันว่าติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ทาง สธ.เลยได้ส่งทีมเคลื่อนที่เร็วร่วมกับปศุสัตว์ลงพื้นที่เพื่อสอบสวนโรคทันทีพบว่าสุนัขตัวดังกล่าวเป็นเพศเมียก่อนหน้านั้นได้ตกลูกออกมา 5 ตัว เมื่อประมาณเดือนม.ค.จากนั้นเจ้าของได้ส่งลูกสุนัขไปให้ญาติที่กรุงเทพฯ 2 ตัว ก่อนที่ญาติจะนำกลับไปที่บ้าน จ.พิษณุโลก 1 ตัว และบุรีรัมย์ 1 ตัว ต่อมาตัวที่ถูกส่งไปที่พิษณุโลกถูกรถชนตายส่วนตัวที่ส่งไปที่บุรีรัมย์ตายเช่นกันโดยผลการตรวจพบติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า สำหรับลูกสุนัขอีก 3 ตัว ที่เหลือเจ้าของได้นำไปขายที่ตลาดนัดข้างมหาวิทยาลัยมหาสารคามเมื่อวันที่ 27 ก.พ.

         นพ.ณรงค์กล่าวต่อว่า ขณะนี้ได้สั่งให้สำนักโรคติดต่อทั่วไป สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคสำนักงานป้องกันควบคุมโรคประจำพื้นที่กรุงเทพฯ นครราชสีมา ขอนแก่น และพิษณุโลกร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม บุรีรัมย์ พิษณุโลก ดำเนินการควบคุมร่วมกับปศุสัตว์จังหวัดเป็นการด่วนและใกล้ชิด 3 มาตรการ ได้แก่ 1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ครอบคลุมในพื้นที่ดังกล่าว 2. ประชาสัมพันธ์ย้ำเตือนให้ประชาชนที่เลี้ยงสุนัขทั้งหมดพาสุนัขไปฉีดวัคซีนที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและอำเภอ 3. ให้เร่งติดตามผู้สัมผัสที่เกี่ยวข้องกับสุนัขที่ติดเชื้อทั้งแม่และลูก 5 ตัว ทุกรายทั้งในจังหวัดมหาสารคามกรุงเทพฯ พิษณุโลกและบุรีรัมย์ไม่ว่าจะเป็นผู้เลี้ยงหรือคนที่อุ้มเล่นให้ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกรายเป็นการด่วนที่โรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับทุกแห่งในต่างจังหวัดหรือใน กทม.และให้แจ้งแพทย์ด้วยว่ามีประวัติสัมผัสกับสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าที่พบใน จ.มหาสารคาม เพื่อป้องกันการเสียชีวิต เนื่องจากโรคนี้ป้องกันได้ด้วยวัคซีนหากหลังติดเชื้อและมีอาการป่วยแล้วไม่รีบมาฉีดวัคซีนจะเสียชีวิตทุกรายภายใน 10 วัน

         ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เกิดจากเชื้อไวรัสเรบี่ส์ (Rabies) สัตว์นำโรคที่สำคัญที่สุดในประเทศไทยคือ สุนัข ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้ามากกว่าร้อยละ 95 มีสาเหตุมาจากสุนัขกัด หรือข่วน รองลงมาคือแมวซึ่งสามารถตรวจพบเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในน้ำลายได้ 1-7 วัน ก่อนแสดงอาการโรคพิษสุนัขบ้าโดยโรคพิษสุนัขบ้าในคนระยะฟักตัวนานหลายเดือนถึงเป็นปีบางรายอาจสั้นมากคือไม่ถึงสัปดาห์หรืออาจนานเกิน 1 ปี อาการเริ่มแรกคือ เบื่ออาหาร เจ็บคอ มีไข้ อ่อนเพลีย คันรุนแรงบริเวณที่ถูกกัด และลามไปส่วนอื่น ต่อมาจะมีอาการกระสับกระส่าย กลัวแสง กลัวลม ไม่ชอบเสียงดัง พูดเพ้อเจ้อ กลืนลำบาก โดยเฉพาะของเหลว กลัวน้ำ ปวดท้องน้อย และกล้ามเนื้อขากระตุกแน่นหน้าอก หายใจไม่ออกหรืออาจชัก เกร็ง อัมพาตหมดสติ และตายในที่สุด

          โอกาสป่วยหลังถูกสัตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัดหรือข่วนขึ้นอยู่กับ 1. จำนวนเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าที่เข้าไปในร่างกายหากบาดแผลถูกกัดที่มีขนาดใหญ่ลึกหรือมีบาดแผลหลายแห่งเชื้อจะมีโอกาสเข้าสู่ร่างกายได้มาก2. ตำแหน่งที่ถูกกัดหรือตำแหน่งที่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้าเข้าสู่ร่างกาย เช่น ศีรษะ หรือ บริเวณที่มีปลายประสาทมาก เช่น มือหรือเท้าเชื้อโรคจะเข้าสู่ระบบประสาทได้ง่าย 3. อายุคนที่ถูกสุนัขกัดหรือข่วนเช่นเด็กและผู้สูงอายุจะมีความต้านทานต่อโรคนี้ต่ำกว่าคนหนุ่มสาว 4. สายพันธุ์ของเชื้อชนิดนี้ถ้าเป็นสายพันธุ์จากสัตว์ป่าอาการจะรุนแรงกว่าสายพันธุ์จากสัตว์เลี้ยงกระทรวงสาธารณสุขได้เร่งกวาดล้างให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทยภายใน พ.ศ. 2558 โดยเร่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยงทุกตัวและควบคุมจำนวนสุนัขจรจัดในปี 2556 ทั่วประเทศมีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 7 ราย ใน 6 จังหวัดได้แก่ ปราจีนบุรี 2 ราย สระแก้ว สงขลา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และเชียงรายจังหวัดละ 1 ราย โดยพบทุกกลุ่มอายุปีนี้มีรายงานเสียชีวิต 1 ราย ที่ จ.ปราจีนบุรี

         นพ.โสภณ กล่าวต่อว่าประชาชนที่ต้องการซื้อลูกสุนัขไปเลี้ยงขอแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้ 1. ให้ซื้อจากแหล่งซื้อขายที่มีความน่าเชื่อถือคือมีประวัติพ่อแม่สุนัขประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรค 2. หลังจากซื้อลูกสุนัขไปแล้วให้รีบพาไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์และฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์อายุเช่นวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าฉีดเมื่ออายุ 3 เดือนขึ้นไป 3. หากสุนัขเลี้ยงตายผิดปกติขอให้ส่งหัวสุนัขตรวจใน กทม. ส่งที่สถานเสาวภา สภา กาชาดไทย หรือที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในต่างจังหวัดส่งที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและอำเภอ

         ทั้งนี้ในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีข้อแนะนำดังนี้ 1. เจ้าของสุนัขต้องนำสุนัขไปฉีดวัคซีนครั้งแรกเมื่อสุนัขอายุ 2-4 เดือน แล้วฉีดซ้ำตามกำหนดนัดทุกปี 2. ต้องไม่ปล่อยสุนัขเลี้ยงออกนอกบ้านตามลำพัง 3. ต้องช่วยกันลดจำนวนสุนัขที่ไม่มีเจ้าของหรือสุนัขที่ไม่มีผู้รับผิดชอบ 4. ลดความเสี่ยงถูกสุนัขกัดหรือทำร้ายพร้อมกับเน้น 5 อย่า คือ 1. อย่าแหย่ให้สุนัขโกรธ 2. อย่าเหยียบหาง หัว ตัว ขา หรือทำให้สุนัขหรือสัตว์ต่าง ๆ ตกใจ 3. อย่าแยกสุนัขหรือสัตว์ต่าง ๆ ที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า 4. อย่าหยิบจานข้าวหรือเคลื่อนย้ายอาหารขณะที่สุนัขกำลังกินอาหาร 5. อย่ายุ่งหรือเข้าใกล้สุนัขหรือสัตว์ต่าง ๆ ที่ไม่รู้จักหรือไม่มีเจ้าของนพ.โสภณ กล่าวอีกว่าหากถูกสุนัขกัดขอให้ล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่หลายครั้ง กักสัตว์ไว้ดูอาการ 10 วัน ไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

         ที่ถูกต้องหากพบเห็นสัตว์ที่สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าโดยมีอาการดังนี้ หางตก เดินโซเซ น้ำลายย้อย ลิ้นห้อยตาขวาง ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือผู้นำชุมชนและให้ช่วยกันจับโดยระวังอย่าให้ถูกกัดแล้วนำหัวสัตว์ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการประชาชนที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนสำนักโรคติดต่อทั่วไป โทร. 0-2590-3177-78 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรคโทร. 1422.

          ที่มา : เว็บไซต์เดลินิวส์
http://www.thaihealth.or.th/Content/23775-ซื้อลูกหมา%20ระวังโรคพิษสุนัขบ้า%20.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,632
Page Views2,010,806
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view