http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

คนออฟฟิศจ้องจอ นั่งนาน สารพัดโรค

        ออฟฟิศซินโดรม โรคฮิตในกลุ่มคนทำงานในออฟฟิต สธ.แนะควรเลือกเก้าอี้ทำงานให้เหมาะสม ปรับคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา และปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม

        นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้คนไทยนิยมทำงานในสำนักงาน หรือออฟฟิศมากขึ้น และใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการทำงาน ทั้งชนิดตั้งโต๊ะ และชนิดพกพา ผู้ทำงานต้องนั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลานาน ร่างกายเคลื่อนไหวน้อย สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ฯลฯ ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) หากบางรายมีอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว หากทำงานในอิริยาบถที่ผิดซ้ำอีก จะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น

          นพ.ณรงค์กล่าวว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจในปี 2553 ทั่วประเทศมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ประมาณ 19 ล้านคน มีผลสำรวจพนักงานที่ทำงานในสำนักพิมพ์แห่งหนึ่ง 400 คน พบว่าร้อยละ 60 มีภาวะดังกล่าว ที่พบบ่อยมี 3 อาการ ได้แก่ 1.ปวดหลังเรื้อรัง การใช้ชีวิตอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละ 8 ชั่วโมง โดยเฉพาะนั่งหลังค่อม จะทำให้กล้ามเนื้อที่ต้นคอ สะบัก เมื่อยตึงตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นสาเหตุสำคัญเกิดอาการปวดเมื่อย และการนั่งในท่าดังกล่าวจะทำให้หายใจไม่อิ่ม กระบังลมขยายไม่เต็มที่ สมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ จะทำให้เกิดอาการง่วง หาวนอน หรือที่เรียกว่า สมองไม่แล่น ศักยภาพทำงานไม่เต็มร้อย 2.ไมเกรนหรือปวดศีรษะเรื้อรัง เครียดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ และ 3.มือชา เอ็น อักเสบ นิ้วล็อก การอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็นนิ้วมือ พบมากขึ้น

          ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สิ่งที่พนักงานออฟฟิศควรปฏิบัติ คือ ควรเลือกใช้เก้าอี้ที่เอนได้และมีความสูงของเก้าอี้และโต๊ะได้ระดับ มีหมอนหนุนหลัง คอมพิวเตอร์ที่ใช้ต้องปรับให้จออยู่ในระดับสายตา คือ กึ่งกลางของจอ อยู่ระดับสายตา การพิมพ์งาน แป้นคีย์บอร์ดควรอยู่ในระดับข้อศอก ข้อมือ ปรับพฤติกรรมการนั่งเก้าอี้ขณะนั่งทำงาน โดยนั่งให้เต็มก้น หลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ กะพริบตาบ่อยๆ พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุก 10 นาที เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุก 1 ชั่วโมง เป็นต้น

          ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
http://www.thaihealth.or.th/Content/23788-คนออฟฟิศจ้องจอ%20นั่งนาน%20สารพัดโรค.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,565
Page Views2,010,739
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view