http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

พบผู้เสียชีวิตทำงานที่อับอากาศ

พบผู้เสียชีวิต ทำงานในที่อับอากาศเพิ่มขึ้น


กระทรวงสาธารณสุข พบผู้เสียชีวิตจากการทำงานในที่อับอากาศสูงถึงร้อยละ
88 เตือนบุคคลที่ทำงานในสถานที่อับอากาศ ควรได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน

         นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า อันตรายจากการทำงานในที่ อับอากาศ (Confined space) เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ไซโล ท่อ เตา เกิดขึ้นเป็นระยะๆ และมักเสียชีวิตหมู่ เนื่องจากลงไปช่วยคนที่หมดสติที่ก้นบ่อ โดยขาดความรู้และขาดอุปกรณ์ป้องกันตัว สำนักระบาดวิทยารายงานในรอบ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2546-2556 มีเหตุการณ์ทั้งหมด 9 ครั้ง ผู้ประสบเหตุ 32 ราย เสียชีวิต 28 ราย คิดเป็นอัตราตายสูงถึงร้อยละ 88 ผู้เสียชีวิตมากกว่า ร้อยละ 50 เป็นผู้ที่ลงไปช่วยเหลือ กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบให้สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค เร่งให้ความรู้และเผยแพร่มาตรการความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ แก่สถานประกอบการ และประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในหน้าแล้ง ประชาชนมักจะขุดบ่อลึกเพื่อหาน้ำใต้ดินและเตรียมรองรับน้ำในฤดูฝน

          นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สาเหตุการเสียชีวิตในที่อับอากาศที่พบในประเทศส่วนใหญ่มาจาก 2 สาเหตุ คือ 1. ขาดอากาศหายใจ พบประมาณร้อยละ 60 ซึ่งบริเวณบ่อ หลุมที่มีความลึกหรือท่อมักจะมีออกซิเจนน้อย หากต่ำกว่าร้อยละ 20 จะเป็นอันตราย และ 2. สูดก๊าซพิษที่พบบ่อย 3 ชนิด ได้แก่ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide) หรือก๊าซไข่เน่า ก๊าซมีเทน และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งก๊าซเหล่านี้มีน้ำหนัก มากกว่าก๊าซอื่น จะลอยอยู่ที่ก้นบ่อ โดยเฉพาะก๊าซไข่เน่าที่มีความเข้มข้นสูงถึง 100 พีพีเอ็ม  เมื่อสูดเข้าไปจะทำให้หยุดหายใจ เสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว หรือหากมีความเข้มข้นสูง 66 พีพีเอ็ม ขึ้นไปให้ออกจากพื้นที่นั้น

          ในการป้องกันอันตรายขณะทำงานในที่อับอากาศ ก่อนจะลงไปทำงานต้องใช้เครื่องมือตรวจวัดปริมาณออกซิเจน สารเคมีอันตราย หรือก๊าซพิษก่อน จัดเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะถังบรรจุออกซิเจนและหน้ากาก ต้องมี ผู้ช่วยเหลืออยู่ที่ปากบ่อหรือปากทางอย่างน้อย 1 คน และผู้ควบคุมการทำงาน 1 คน ทั้งหมดจะต้องผ่านการฝึกอบรมทั้งการกู้ภัยและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นอย่างดี และควรผูกเชือกที่เอวของผู้ปฏิบัติงานไว้ เพื่อให้ผู้ที่อยู่ปากบ่อรู้การเคลื่อนไหวตลอดเวลา

          หากเห็นว่า มีอาการหรือท่าทางผิดปกติ ต้องรีบนำตัวออกมาทันที กรณีที่เป็นประชาชน ไม่มีเครื่องมือตรวจวัดปริมาณก๊าซ ให้ใช้วิธีการสังเกต หากเป็นบ่อน้ำให้ดูสีและกลิ่น หากมีสีดำเข้ม และให้ใช้ไม้กวนน้ำเพื่อให้ก๊าซไข่เน่าฟุ้งกระจายออกมา หากมีกลิ่นเหม็นรุนแรงเหมือนไข่เน่า ให้สันนิษฐานว่ามีก๊าซไข่เน่าอยู่ ห้ามลงไปเด็ดขาด

          ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

http://www.thaihealth.or.th/Content/23680-พบผู้เสียชีวิต%20ทำงานในที่อับอากาศเพิ่มขึ้น.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,629
Page Views2,010,803
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view