http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

หลีกเลี่ยงพิษทางอากาศ

         เรื่องของ 'มลพิษทางอากาศ" ในประเทศไทย นับวันก็จะยิ่งน่าเป็นห่วง และจำเป็นต้องกลัว ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของกลิ่น ควัน แก๊สพิษ ซึ่งสามารถก่ออันตรายแก่ร่างกายมนุษย์ได้ ทั้งแบบที่รู้ตัว และไม่รู้ตัว หรือรู้อีกทีก็สายเกินแก้ สามารถจะทำให้เจ็บป่วย หรือถึงขั้นเสียชีวิต โดยระยะหลัง ๆ มานี้ก็เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ

          อย่างเช่นกรณี "ไฟไหม้บ่อขยะ" หรือกรณี "แก๊สพิษในบ่อพักน้ำเสีย"

          ทั้งนี้ กับกรณี "ไฟไหม้บ่อขยะ" ที่เมื่อเร็ว ๆ นี้เกิดเหตุใหญ่ขึ้นที่ จ.สมุทรปราการ ทางกระทรวงสาธารณสุขระบุถึงอันตรายที่อาจจะตามมาเอาไว้ อาทิ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ไล่ตั้งแต่แค่ทำให้มีอาการแสบจมูก แสบตา คอแห้ง ระคายเคืองผิวหนัง ทำลายเนื้อเยื่อปอด และในระยะยาวอาจจะเป็น มะเร็งปอด ได้, คาร์บอนไดออกไซด์ นี่ก็อย่าคิดว่าไม่ร้าย หากร่างกายได้รับเป็นเวลานาน จะมีผลทำให้สมองขาดออกซิเจน ทำให้ง่วงซึม ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หมดสติ และอาจถึงขั้น เสียชีวิต ได้กับกรณี "แก๊สพิษในบ่อพักน้ำเสีย" เมื่อเร็วๆ นี้ เกิดเหตุใหญ่ขึ้นที่ จ.ภูเก็ต มีผู้เสียชีวิตถึง 4 ราย โดยสาเหตุนั้นก็มีการระบุถึง ไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือ แก๊สไข่เน่า

          ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า อันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศเกิดเป็นระยะ และมักมีการเสียชีวิตหมู่ ซึ่งในช่วงปี 2546-2556 เกิดเหตุการณ์ 9 ครั้ง มีผู้ประสบเหตุ 32 ราย เสียชีวิตถึง 28 ราย หรือร้อยละ 88 และผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 50 เป็นผู้ที่ลงไปช่วยเหลือผู้ที่หมดสติโดยขาดอุปกรณ์ป้องกันแก๊สพิษ เช่น แก๊สไข่เน่า, แก๊สมีเทน, คาร์บอนมอนอกไซด์

          นี่เป็นตัวอย่าง 'อันตราย" ที่เพิ่งจะเกิดขึ้น มีทั้งแบบที่รู้เลย และที่ยังต้องติดตามดู??

          อย่างไรก็ตาม ว่ากันถึงเรื่องอันตรายจากมลพิษทางอากาศ กลิ่น ควัน แก๊สพิษ ยังมีอีกหลายกรณี ซึ่งทางนักวิชาการผู้สันทัดกรณี ดร. ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้ความเข้าใจผ่าน "สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์" มาว่า มลพิษทางอากาศมีหลายชนิด ได้แก่ ฝุ่นละออง สารอินทรีย์ระเหย โลหะหนัก และแก๊สต่าง ๆ โดยแหล่งกำเนิดที่สำคัญ ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม, การจราจร, การก่อสร้าง, กิจกรรมในครัวเรือน, การเกิด ไฟป่า, การย่อยสลายสารอินทรีย์โดยจุลชีพ หากพิจารณาถึงโอกาสการรับสัมผัสสารพิษทางอากาศของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในเขตเมือง    

          ดร.ทรรศนีย์ ระบุว่า การจราจร การเผาไหม้เชื้อเพลิงยานพาหนะ ก่อให้เกิดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 และ 10 ไมโครเมตร, สารอินทรีย์ระเหยง่าย (สารเบนซิน โทลูอีน เอทิลเบนซิน ไซลีน ฟอร์มัลดีไฮด์ สารกลุ่มอัลดีไฮด์), สารอินทรีย์กึ่งระเหย (สารพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน) เป็นต้น

          นอกจากนี้ กิจกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่างก็อาจก่อให้เกิดมลพิษใกล้ตัวได้ เช่น จุดธูป จุดกำยาน ซึ่งมีการตรวจพบสารพิษอันตรายบางชนิดในควันธูป ได้แก่ โลหะหนักทองแดง ตะกั่ว สังกะสี เหล็ก ที่เป็นองค์ประกอบที่พบในฝุ่นขนาดเล็ก สารเบนซีน โทลูอีน เอทิลเบนซีน ไซลีน พอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน

          'จากตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว สารพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นโดยส่วนมากมาจากกระบวนการเผาไหม้สารอินทรีย์แบบไม่สมบูรณ์"

ดร.ทรรศนีย์ ระบุ พร้อมทั้งบอกต่อไปว่า กรณีที่ในบางพื้นที่มีการเผาขยะในที่โล่งเป็นประจำ ก็ถือเป็นเส้นทางการสัมผัสสารพิษทางอากาศในกลุ่มที่คล้ายการเผาไหม้สารอินทรีย์จากแหล่งอื่นๆ เช่นกัน และยังอาจจะมีกลุ่มสารไดออกซินเกิดขึ้นด้วยหากมีการเผาไหม้ขยะพลาสติกร่วมด้วย

          ทั้งนี้ นักวิชาการภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ยังระบุด้วยว่า อันตรายของสารพิษทางอากาศที่มีต่อสุขภาพมนุษย์มีหลายระดับ บางชนิดก่อให้เกิดผลกระทบระยะสั้น มีอาการที่สังเกตได้ชัดเจน และฟื้นฟูสภาพร่างกายให้เป็นปกติได้ บางชนิดก่อผลกระทบในลักษณะเฉียบพลัน และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต บางชนิดก่อให้เกิดผลกระทบระยะยาว และเรื้อรังจนก่อเกิดมะเร็งในระบบทางเดินหายใจและอวัยวะบางแห่ง

          ในกลุ่มหลัง ร่างกายจะไม่แสดงอาการใดให้เห็นชัดเจนจนกว่าจะถึงขั้นของการเกิดเซลล์มะเร็ง โดยสารพิษทางอากาศที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ได้แก่ สารเบนซีน (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) สารเอทิลเบนซีน (มะเร็งในท่อไต) สารฟอร์มัลดีไฮด์และสารพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนบางชนิด (มะเร็งปอดและระบบทางเดินหายใจ)

          "จากหลักฐานการตรวจพบสารมลพิษต่าง ๆ ในอากาศ สะท้อนให้เห็นว่าอันตรายจากการรับสัมผัสอากาศที่เป็นพิษเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม และเป็นเรื่องใกล้ตัวโดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ การหลีกเลี่ยงการรับสัมผัสสารต่าง ๆ เป็นแนวทางที่ทำให้ลดผล กระทบที่อาจเกิดต่อสุขภาพได้" ดร.ทรรศนีย์ ทิ้งท้าย

          ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 

http://www.thaihealth.or.th/Content/23727-หลีกเลี่ยง%20อย่าละเลย%20%60พิษทางอากาศ%60%20.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,746
Page Views2,010,920
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view