http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เภสัชฯห่วงใช้ยาอักเสบมาก ดื้อยาสูง

 เภสัชกรจุฬาฯ เตือนคลินิกรักษาสิวจ่ายยาแก้อักเสบมากเกิน 1 สัปดาห์ ก่อปัญหาดื้อยาไม่รู้ตัว ด้านนักวิชาการนานาประเทศเตรียมหาทางออกเร็วๆ นี้

  ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีรายงานข่าวจากประเทศอังกฤษ ว่า โรงพยาบาลเซ็นทรัลแมนเชสเตอร์พบเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง จนทำให้มีคนเสียชีวิตไปแล้วราว 16 คน ซึ่งการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ หรือที่มักเรียกว่า ยาแก้อักเสบ ณ ขณะนี้พบได้ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย เพียงแต่ไม่มีหน่วยงานใดมาตรวจสอบว่าคนไทยมีภาวะดื้อต่อยาปฏิชีวนะมากน้อยแค่ไหน และมีผู้เสียชีวิตจากกรณีนี้หรือไม่ เนื่องจากส่วนใหญ่จะระบุว่าเสียชีวิตจากภาวะปอดบวม แต่ไม่ได้วิเคราะห์เชิงลึกว่า มาจากเชื้อดื้อยาด้วยหรือไม่ ซึ่งการขาดระบบรองรับเป็นเรื่องน่าวิตก โดยเฉพาะกลุ่มยาแก้อักเสบต่างๆ ที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย และหาซื้อง่าย ทั้งในร้านขายยาทั่วไป หรือแม้กระทั่งสถานเสริมความงามต่างๆ ก็พบการจ่ายยาชนิดนี้สูง

  "ปัญหาที่พบมาก คือ สถานเสริมความงามชื่อดังต่างๆ ที่รักษาผู้ที่มีปัญหาเรื่องสิว แพทย์มักจ่ายยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะยาอะม็อกซิซิลลิน (Amoxicillin) ซึ่งจัดเป็นยาต้านการอักเสบชนิดหนึ่ง แต่ไม่แน่ชัดว่ายาชนิดนี้จะแก้ปัญหาสิวได้อย่างไร เพราะจริงๆ แล้ว หากจะทำให้ทุเลาก็น่าจะเป็นสิวอักเสบที่เป็นหนอง แต่ที่รับทราบมาเป็นสิวบวมแดงก็มีการจ่ายยาชนิดนี้ด้วย ที่น่ากังวล คือหากมีการจ่ายยากลุ่มดังกล่าวให้รับประทานเกิน 1 สัปดาห์ ติดต่อกันเป็นเวลานานย่อมมีโอกาสเกิดอาการดื้อยาได้ในที่สุด

  หากเป็นเช่นนั้น เมื่อเกิดเจ็บป่วยและต้องใช้ยากลุ่มนี้ก็ต้องใช้ยาที่มีฤทธิ์แรงขึ้น และถ้าไม่มีสุดท้ายก็จะไม่มียารักษา ซ้ำร้ายอาจลุกลามไปถึงขั้นการดื้อต่อยาปฏิชีวนะทุกชนิด ที่เรียกกันว่า ปัญหาเชื้อซุปเปอร์บั๊ก หากถึงขั้นนั้นก็สายเกินไป" ผศ.ภญ.นิยดา กล่าว และว่า ขณะนี้นักวิชาการด้านเชื้อดื้อยาจากทั่วโลกเตรียมจะประชุมหารือถึงปัญหาดังกล่าว เพื่อหาทางออกร่วมกันในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2557 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยตนได้รับเชิญเข้าร่วมในครั้งนี้เช่นกัน

  ผู้จัดการ กพย. กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดควบคุมการใช้ยาในลักษณะนี้ มีเพียงการควบคุมการจ่ายยาของแพทย์ไม่ให้เกินความจำเป็น แต่ในทางกลับกันก็ควรมีหน่วยงานควบคุมการใช้ยาในระดับพื้นที่ด้วย ทั้งร้านขายยา สถานเสริมความงาม รวมทั้งการให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง เพราะยาปฏิชีวนะมีค่อนข้างจำกัด หากเกิดการดื้อยาทั้งหมดก็จะไม่มียาตัวใดมาทดแทน ขณะที่บริษัทยาข้ามชาติ ไม่มีแผนในการวิจัยและพัฒนายาตัวใหม่ๆ ทำให้ต้องควบคุมการใช้ยาเพียงอย่างเดียว

          ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

http://www.thaihealth.or.th/Content/23587-เภสัชฯ%20ห่วงใช้ยาอักเสบมาก%20ดื้อยาสูง%20%20.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,637
Page Views2,010,811
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view