http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อันตรายขวดน้ำพลาสติกใช้ซ้ำ

ระวังอันตรายขวดน้ำพลาสติกใช้ซ้ำเสี่ยงติดเชื้อโรค

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงสุขภาพประชาชน เตือนเลี่ยงนำขวดน้ำพลาสติกมาใช้ซ้ำ ชี้เสี่ยงอันตรายจากการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย แนะหากจำเป็นต้องใช้ควรมีการทำความสะอาดที่ถูกวิธี และหมั่นสังเกตลักษณะของขวด หากมีรอยชำรุด รั่ว แตกร้าว บุบ ไม่ควรนำมาใช้ พร้อมเน้นย้ำให้ดื่มน้ำที่สะอาดเท่านั้น

          ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ประชาชนที่มีการนำขวดพลาสติกเปล่าที่ผ่านการใช้งานแล้วมาใส่น้ำไว้สำหรับดื่มหรือใช้ในครัวเรือนนั้น บางครั้งไม่ได้ผ่านการทำความสะอาดที่ถูกวิธี โดยเฉพาะบริเวณ ปากขวดและฝาขวดที่เกิดจากการใช้ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้ขวดน้ำกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ที่มักพบมากในน้ำบรรจุขวดพลาสติกที่มีการเติมน้ำซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง ซึ่งผลจากการเก็บน้ำดื่มบรรจุขวดโดยกรมอนามัย ปี 2555 เพื่อตรวจสอบ จำนวน 131 ตัวอย่าง พบมีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 85 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ 65 ประชาชนจึงควรให้ความสำคัญโดยเฉพาะสารเคมีที่เป็นอันตรายจากพลาสติก เพราะการขัดถูเพื่อล้างทำความสะอาดขวดน้ำ อาจทำให้เกิดรอยขูดขีดหรือการบุบชำรุดของขวดที่เกิดจากการนำมาใช้ซ้ำ หรือหากขวดน้ำตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความร้อนหรือได้รับแสงแดด อาจทำให้สารเคมีจากขวดพลาสติกปนเปื้อนลงในน้ำที่อยู่ในขวดได้ แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องนำขวดพลาสติกเก่ามาใช้ ควรทำความสะอาดให้ทั่วถึงและต้องสังเกตลักษณะของขวด หากมีรอยชำรุด รั่ว แตกร้าว บุบ ก็ไม่ควรนำมาใช้ หรือหากเป็นขวดที่มีการปนเปื้อนดิน ควรหลีกเลี่ยงในการนำมาใช้ซ้ำเช่นกัน

          ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือ ความสะอาดปลอดภัยของน้ำดื่ม โดยเฉพาะในพื้นที่ทุรกันดารที่ขาดแคลนน้ำสะอาด ก่อนนำมาดื่มควรต้มให้เดือดอย่างน้อย 5 นาที เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด ส่วนการนำน้ำจากแม้น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำผิวดินแหล่งอื่น ๆ มาใช้โดยตรง ควรปรับปรุงคุณภาพน้ำและ ฆ่าเชื้อโรคก่อน ด้วยการแกว่งสารส้มชนิดก้อนในน้ำและให้สังเกตตะกอนในน้ำ หากเริ่มจับตัวให้นำสารส้มออกตั้งทิ้งไว้จนตกตะกอน แล้วนำเฉพาะน้ำใสมาฆ่าเชื้อโรคโดยใช้หยดทิพย์ อ.32 ของกรมอนามัย ซึ่งเป็นสารละลายคลอรีนชนิดเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วน 1 หยดต่อน้ำ 1 ลิตร หรือเติมผงปูนคลอรีนตามปริมาณที่กำหนด จากนั้นปล่อยให้มีระยะเวลาฆ่าเชื้อโรคอย่างน้อย 30 นาที ก่อนนำไปใช้ ซึ่งจะช่วยป้องกันเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำ และไม่ก่อให้เกิดโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อตามมาได้

          “สำหรับการเลือกซื้อน้ำแข็งนั้น ให้สังเกตลักษณะของน้ำแข็งจะต้องใส สะอาด บรรจุในซองพลาสติกหรือถุงพลาสติกที่ปิดผนึกเรียบร้อย มีเครื่องหมาย อย. รับรองอย่างถูกต้อง ซึ่งร้านอาหารหรือแผงลอยต้องเก็บน้ำแข็งในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด ไม่เป็นสนิม และตั้งสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร ห้ามน้ำอาหารหรือเครื่องดื่มมาแช่ในน้ำแข็งที่ใช้บริโภค เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคและสิ่งสกปรก” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

ที่มา : เว็บไซด์กรมอนามัย

http://www.thaihealth.or.th/Content/23437-ระวังอันตรายขวดน้ำพลาสติกใช้ซ้ำเสี่ยงติดเชื้อโรค.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,701
Page Views2,010,875
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view