http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย.เฝ้าระวังขนมเด็กหลังมีข่าวผสมยาบ้า

อย. เฝ้าระวัง เก็บตรวจขนมเด็กทันที หลังมีข่าวลือผสมยาบ้า

         อย. ตามติดขนมเด็กประเภทลูกอมที่แพร่ว่อนในโลกออนไลน์ ทั้งเฟซบุ๊ค ไลน์ และเว็บไซต์ อ้างว่ามียาบ้า

ผสมอยู่ อย. ส่งทีมออกสำรวจขนมหน้าโรงเรียนที่มีลักษณะเหมือนในข่าวลือ ตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น

“ไม่พบยาเสพติดใด ๆ” ขอผู้บริโภคอย่าตระหนก แนะพ่อแม่ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด รวมทั้ง

ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อและการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารโดยเฉพาะขนมอย่างถูกต้อง พร้อมย้ำผู้ประกอบการ

ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด หากฝ่าฝืนเจอโทษทั้งจำทั้งปรับ

           ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ในฐานะโฆษก อย. เปิดเผยว่า

จากกรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลทางโซเชียลมีเดีย ทั้งเฟซบุ๊ค ไลน์ และการเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ เรื่อง ยาเสพติด

(เมล็ดกลมสีชมพูที่ระเบิดในปาก) ในโรงเรียน โดยเป็นข้อความเตือนและให้ส่งต่อข้อมูลกรณีพบยาเสพติดรูปแบบ

ใหม่ที่รู้จักกันในชื่อ “สตอเบอรี่ควิก” มีลักษณะเป็นก้อนใส ๆ ขนาดเล็ก เมื่อใส่ปากจะส่งเสียงซ่าและค่อย ๆ

ระเบิด มีกลิ่นเหมือนสตรอว์เบอร์รี่ และอาจพบในกลิ่นช็อกโกแล็ต เนยถั่ว โคล่า เชอรี่ องุ่น ส้ม ซึ่งจะแจกให้เด็ก ๆ

ตามโรงเรียน และเมื่อเด็ก ๆ รับประทานเข้าไปจะถูกนำส่งโรงพยาบาลในสภาพที่น่ากลัวนั้น

        หลังทราบข่าวดังกล่าว อย. มิได้นิ่งนอนใจ ได้ให้เจ้าหน้าที่รีบตรวจสอบเฝ้าระวัง และได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์

ที่มีลักษณะดังกล่าว โดยตรวจสอบด้วยชุดทดสอบเบื้องต้นหาสารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีน โคเดอีน และ

เฮโรอีน ซึ่งผลการตรวจสอบปรากฏว่า ไม่พบสารเสพติดดังกล่าวในผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด จึงขอให้ผู้บริโภคที่

ทราบข่าวลือนี้ อย่าได้ตื่นตระหนก อย่างไรก็ตาม อย. จะส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจวิเคราะห์

ส่วนประกอบ เช่น สีที่ใช้ในการผสมอาหาร วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล อย่างละเอียดต่อไป อีกทั้ง อย. จะได้

ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัยในการ

บริโภค 

       รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ขนมลักษณะดังกล่าวเป็นอาหารประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมในกลุ่ม

เด็ก ๆ และวัยรุ่นเป็นอย่างมาก ผู้ปกครองจึงควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด รวมทั้งให้คำแนะนำและให้ความรู้แก่

บุตรหลานเกี่ยวกับการบริโภคขนมหวานรวมถึงลูกอมอย่างถูกต้อง เพราะการบริโภคมาก ๆ อาจทำให้ฟันผุ หรือ

ได้รับน้ำตาลมากเกินไป อาจทำให้เป็นโรคอ้วน และไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว นอกจากนี้ควรตักเตือน

บุตรหลานของท่าน อย่าได้ซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ขนม หรือลูกอม ที่มีสีสันฉูดฉาด เนื่องจากสีที่ผสมลงในอาหาร

อาจเป็นสีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สีผสมอาหาร อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน และถ้าสะสมในร่างกาย

มากขึ้นอาจทำให้เกิดอาการพิษจากโลหะหนัก เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก

          อย่างไรก็ตาม ขอให้พิจารณาฉลากให้ถี่ถ้วนก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารใด ๆ โดยฉลากต้องมีข้อความภาษาไทย

ที่แสดงรายละเอียดครบถ้วน เช่น ชื่ออาหาร เลขสารบบอาหาร 13 หลัก ในกรอบเครื่องหมาย อย. ชื่อและที่อยู่ของ

ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า น้ำหนักสุทธิ ส่วนประกอบสำคัญ วันเดือนปีที่ผลิต และ/หรือวันเดือนปีที่หมดอายุ เป็นต้น รวมทั้ง

ควรสังเกตภาชนะบรรจุจะต้องสะอาด ไม่มีรอยฉีกขาด ถ้าเป็นพลาสติก ส่วนที่สัมผัสกับขนมจะต้องไม่มีสี

         รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ขนมรวมถึงลูกอมปฏิบัติตาม

กฎหมายอย่างเคร่งครัด อย่าใส่สีหรือสารอันตรายใด ๆ ที่อาจเป็นอันตรายลงในผลิตภัณฑ์เป็นอันขาด มิฉะนั้น

จะได้รับโทษตามกฎหมาย อาทิ กรณีการใช้สีสังเคราะห์ในอาหารไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

(ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท กรณีตรวจพบสิ่งที่

น่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ

        อย่างไรก็ตาม อย. จะดำเนินการตรวจสอบและเฝ้าระวังเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาตรวจวิเคราะห์คุณภาพ

อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ขอให้ผู้บริโภคช่วยเป็นหูเป็นตาแทน อย. หากพบการผลิต หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ที่คาดว่าผิดกฎหมาย ขอได้โปรดแจ้งร้องเรียนมายัง อย. ที่สายด่วน อย. 1556 หรืออีเมล์: 1556@fda.moph.go.th

หรือส่งจดหมายไปที่ ตู้ ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือเดินทางมาร้องเรียนด้วยตัวเอง

พร้อมตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาที่ ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย. อาคาร 1 ชั้น 1

ได้ทุกวันในเวลาราชการ เพื่อ อย. จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวด อีกทั้งเพื่อเป็นการ

คุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคอีกด้วย

 ที่มา : กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 ข่าวแจก 30 /ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557__

http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ข่าวเมจิกป๊อป.pdf

 

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,485
Page Views2,010,658
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view