http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

กินน้ำตาลมากเด็กไทยฟันผุเกินครึ่ง

บริโภคน้ำตาลมากไป เด็กไทยฟันผุเกินครึ่ง

 เด็กไทยฟันผุเกินครึ่ง เสี่ยงสูญเสียฟันตั้งแต่วัยเด็ก และฟันหายหมดปากเร็วขึ้น เหตุชอบกินขนม น้ำอัดลมมาก แต่การดูแลช่องปากไม่ดี กรมอนามัยเร่งเดินหน้าเด็กไทยไม่กินหวาน หวังแก้ปัญหา

 ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปการดำเนินงานการพัฒนารูปแบบและนโยบายลดการบริโภคน้ำตาลในเด็กไทยในพื้นที่ โครงการการรณรงค์ขับเคลื่อนสังคมเพื่อเด็กไทยไม่กินหวาน ว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็กมีสาเหตุสำคัญมาจากการบริโภคน้ำตาลมากเกิน ทั้งน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ แต่การดูแลอนามัยช่องปากไม่สม่ำเสมอ ทำให้มากกว่าครึ่งของเด็กไทยมีฟันผุ

จากผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของคนไทยพบว่า เด็กวัยเรียนมีปัญหาโรคฟันผุมาก โดยเด็กอายุ 3 ปี ฟันน้ำนมผุร้อยละ 52 เฉลี่ย 2.7 ซี่/คน เด็กอายุ 12 ปี หรือ ป.6 มีฟันแท้ผุร้อยละ 52 เฉลี่ย 1.3 ซี่/คน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวด ติดเชื้อ และสร้างปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร กระทบต่อน้ำหนัก การเจริญเติบโต และบุคลิกภาพ ที่สำคัญคือกระทบต่อการเรียน ทำให้เด็กหยุดเรียน และปัญหาฟันผุจะนำไปสู่การสูญเสียฟันตั้งแต่วัยเด็ก และสะสมจนสูญเสียฟันทั้งปากในวัยสูงอายุ

ทพ.สุธา กล่าวอีกว่า สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ได้รณรงค์ลดพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาลในเด็กไทยตั้งแต่ปี 2545 โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.การพัฒนาด้านวิชาการ 2.มาตรการเชิงนโยบาย โดยเฉพาะเรื่องโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม และฉลากโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์ขนมเด็ก และ 3.สร้างกระแสสังคม และสนับสนุนการลดการบริโภคน้ำตาล ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

ปัจจุบันมีการดำเนินงานครอบคลุม 21 จังหวัด ในปี 2556 ได้พัฒนาพื้นที่ตัวอย่างให้ดำเนินงานอย่างเป็นระบบและประเมินผลลัพธ์ในระดับพฤติกรรม เน้นการจัดการอาหารและเครื่องดื่มรอบรั้วโรงเรียน รวมทั้งขยายผลสู่นโยบายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมครอบคลุมร้อยละ 72 โดยร่วมกับ สพฐ.ขับเคลื่อนผ่านเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และร้อยละ 83.5 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จัดอาหารว่างเป็นผัก ผลไม้อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์

“การจัดประชุมภายใต้การรณรงค์ขับเคลื่อนสังคมเพื่อเด็กไทยไม่กินหวานครั้งนี้ ถือเป็นการสรุปบทเรียน เพื่อต่อยอดและขยายภาคีเครือข่าย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาพช่องปาก เพื่อสุขภาพของเด็กเล็กและเด็กวัยเรียนให้ครอบคลุมมากขึ้น รวมทั้งขยายผลเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานไปสู่เด็กในระดับมัธยมศึกษาต่อไป” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/38688

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,776
Page Views2,010,950
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view