http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ไม่ควรดื่มน้ำหมักหลังพบสารอันตราย

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจสอบผลิตภัณฑ์น้ำหมักจำนวน 3 ตัวอย่าง จากสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา พบมีส่วนผสมของยา และสารเคมีอันตรายแนะประชาชนไม่ควรนำมาบริโภค

นายแพทย์อภิชัย มงคลอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า เมื่อไม่นานมานี้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่9 นครราชสีมาได้รับตัวอย่างส่งตรวจจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นครราชสีมาจำนวน 3 ตัวอย่าง จำแนกเป็นของเหลวใสในขวดแก้วสีชาจำนวน 1 ตัวอย่างและตัวอย่างเครื่องดื่มน้ำหมักในภาชนะบรรจุปิดสนิทจำนวน 2 ตัวอย่าง

ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อ โคลิฟอร์ม (Coliforms) และอี.โคไล (E. coli)ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษในปริมาณที่เกินมาตรฐานกำหนดรวมทั้งมีส่วนผสมของยา และสารเคมีอันตรายในเครื่องดื่มน้ำหมักทั้ง 2 ตัวอย่าง ได้แก่สารไดคลอโรมีเทน (Dichloromethane)สารไซ-โปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine)โดยพบสารไดคลอโรมีเทนในเครื่องดื่มน้ำหมักพืชแท้เต็มพลังตราผู้ใหญ่สุพรรณ 4,695มิลลิกรัม/ลิตรในน้ำสมุนไพรหมักเต็มพลังตราโสมตังเซียมพบไดคลอโรมีเทน 5,174มิลลิกรัม/ลิตรส่วนในของเหลวใสในขวดแก้วสีชาตรวจพบสารไดคลอโรมีเทนในปริมาณสูงถึง 692,088มิลลิกรัม/ลิตร

อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่9 นครราชสีมาได้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้แก่สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมาเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้วดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ผู้บริโภคไม่ควรซื้อน้ำหมักดังกล่าวมาบริโภค

นายแพทย์อภิชัย กล่าวต่ออีกว่า หากผู้บริโภคดื่มเครื่องดื่มสมุนไพรน้ำหมักที่มีสารไดคลอโรมีเทนจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนอาจทำให้เกิดแผล และมีเลือดออกในทางเดินอาหารทำให้มีเอนไซม์ตับสูงขึ้นและอาจจะเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้นอกจากนี้ เชื้อโคลิฟอร์มและอี.โคไลที่ตรวจพบในน้ำหมัก จะทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการท้องร่วงเล็กน้อยจนกระทั่งรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว อาจจะมีเลือดปนและมีไข้ได้ อย่างไรก็ตามแม้ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรจะได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.)ถ้าผู้ผลิตยังเติมสารอันตรายลงในผลิตภัณฑ์และมี สุขลักษณะการผลิตที่ไม่ดีผู้บริโภคจึงมีความเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษ ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

ด้านนางธิดารัตน์ บุญรอดผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่9 นครราชสีมา กล่าวว่า ไดคลอโรมีเทนจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่1ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ของกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นสารที่มีสภาพเป็นของเหลวใส ไม่มีสีระเหยได้ง่ายไม่ติดไฟ และไม่ระเบิดใช้เป็นตัวละลายไขมัน และเป็นตัวทำละลายแว็กซ์และเรซินจึงมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสีพลาสติก และฟิล์มถ่ายภาพหากกลืนกินจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนเกิดแผล และมีเลือดออกในทางเดินอาหารหากหายใจเอาสารดังกล่าวเข้าไป จะก่อให้เกิดการระคายเคืองไอ หายใจลำบากเจ็บแน่นทรวงอกกล้ามเนื้อหัวใจตายและหัวใจหยุดเต้นได้

นอกจากนี้ มีรายงานว่าสารไดคลอโรมีเทนเป็นสารที่ก่อให้เกิดเนื้องอกในระบบทางเดินหายใจตับ และเต้านม ในสัตว์ทดลองรวมถึงอาจเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ด้วย

มีคำแนะนำสำหรับการปฐมพยาบาลถ้ากลืนกินสารเข้าไป อย่ากระตุ้นให้อาเจียนควรนำส่งแพทย์ ทันทีถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์หากผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอดและนำส่งแพทย์ถ้าสัมผัสถูกผิวหนังให้ล้างออกด้วยสบู่ถ้าถูกลูกตาให้ล้างทันที ด้วยน้ำอย่างน้อย15 นาที

สำหรับไซโปรเฮปตาดีนเป็นยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีนจัดเป็นยาแผนปัจจุบัน ประเภทยาอันตรายตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510ใช้รักษาอาการแพ้ เช่นผื่นคัน น้ำมูกไหล ลมพิษทั้งยังมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางใช้ป้องกันอาการปวดศีรษะจากไมเกรนและยานี้มีผลข้างเคียง ทำให้ง่วงซึมปากแห้งหรือมองภาพไม่ชัดเจนช่วยกระตุ้นให้ทานอาหารได้การรับประทานยาไซโปรเฮปตาดีนจึงควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/38702

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,713
Page Views2,010,887
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view