http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

5 กลุ่มเสี่ยงอาการเครียดจากการเมือง

กระทรวงสาธารณสุข ห่วงประชาชน 5 กลุ่มที่ติดตามสถานการณ์การเมือง เสี่ยงเกิดอาการพีเอสเอสหรือเครียดจากการเมือง แนะ 6 วิธีคลายเครียด

 นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า จากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง ทำให้ประชาชนตื่นตัว สนใจติดตามข่าวสารบ้านเมืองอย่างใกล้ชิด และอยู่ภายใต้สภาวะกดดัน ทำให้มีผลกระทบต่ออารมณ์และเกิดความเครียดโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หากไม่สามารถจัดการกับความเครียดให้หายไปได้ หรือไม่หายไปตามระยะเวลาที่ควรจะเป็น และสะสมความไม่สบายใจไปเรื่อยๆ  อาจพัฒนาไปสู่กลุ่มอาการที่เรียกว่า เครียดจากการเมืองหรือเรียกว่า พีเอสเอส (PSS: Political Stress Syndrome ) ซึ่งไม่ใช่โรคจิต แต่เป็นปฏิกิริยาของอารมณ์และจิตใจที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือติดตามสนใจปัญหาการเมืองอย่างใกล้ชิด หรือมีความเอนเอียงไปกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จนทำให้เกิดอาการทางจิตใจ ทางกายและกระทบต่อสัมพันธภาพกับผู้อื่น ที่สำคัญคืออาจมีความคิดคาดการณ์ที่นำไปสู่ความวิตกกังวล หรือกังวลต่อเหตุการณ์ในอนาคต เช่นกลัวว่าจะเกิดความรุนแรงเช่นในอดีต ซึ่งเป็นความหวั่นวิตกที่แฝงอยู่ในใจคนส่วนหนึ่ง

 นายแพทย์วชิระกล่าวต่อว่า บุคคลที่มีความเสี่ยงเกิดอาการพีเอสเอส มี 5 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ 1.กลุ่มนักการเมือง 2.กลุ่มที่สนับสนุนทั้ง 2 ฝ่าย   3.กลุ่มผู้ติดตาม 4.กลุ่มผู้ที่สนใจข่าวสารการเมือง และ5.กลุ่มผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ลักษณะกลุ่มอาการพีเอสเอส จะปรากฏออกมา 3 อาการ คือทางกาย จิตใจ และกระทบต่อความสัมพันธภาพกับผู้อื่น โดยสามารถสังเกตได้ดังนี้ 1.อาการทางกาย จะมีอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ  ตึงบริเวณขมับ ต้นคอ แขน ขา นอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ ตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อไม่ได้ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หายใจไม่อิ่ม แน่นหรือปวดท้อง และชาตามร่างกาย  2.อาการทางใจ จะมีความวิตกกังวล ครุ่นคิดตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย โกรธ ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง รู้สึกไม่มีทางออก ไม่มีสมาธิ ฟุ้งซ่าน หมกมุ่นมากเกินไป และ3. มีปัญหาพฤติกรรมสัมพันธภาพกับผู้อื่น โดยมีการโต้เถียงกับผู้อื่น หรือแม้กระทั่งคนในครอบครัว ใช้อารมณ์ปานกลางถึงรุนแรง ยับยั้งตนเองไม่ได้ มีความคิดที่จะตอบโต้โดยใช้กำลังในการเอาชนะ หรือเอาชนะทางความคิดกับคนที่เคยสนิทกัน เป็นต้น

 นายแพทย์วชิระกล่าวต่อไปว่า หากมีอาการดังกล่าว แนะให้ปฏิบัติ 6 วิธี เพื่อช่วยในการผ่อนคลาย ได้แก่ 1. ให้หันเหความสนใจไปเรื่องอื่นๆ แทน 2. ลดความสำคัญของปัญหาการเมือง ลงมาชั่วขณะ ให้ความสำคัญกับเรื่องเร่งด่วนอื่นๆ 3. พูดคุยกับผู้ที่มีแนวคิดใกล้เคียงกัน เพื่อระบายปัญหาออกไป  4.ออกกำลังกายตอนเช้าหรือตอนเย็น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน วันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที และพักผ่อนให้เพียงพอ  5. ฝึกผ่อนคลายด้วยตนเอง เช่น การฝึกสติ ฝึกการทำสมาธิ  ฝึกโยคะ ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  และ6.หันมาหาวิธีการทำให้จิตใจสงบ อาจใช้ศาสนาช่วยในการขัดเกลาจิตใจ เพื่อปล่อยวาง  

 ทั้งนี้เมื่อสถานการณ์คลี่คลายหรือเมื่อละความสนใจ ไปสนใจเรื่องอื่น อาการต่างๆจะหายได้เอง แต่หากยังมีอาการเกิน 1 สัปดาห์ แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้านทันที   หรือใช้บริการปรึกษาทางสายด่วนสุขภาพจิต หมายเลข1323 และ 1667 ตลอด 24 ชั่วโมง

 ที่มา : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/38636

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,584
Page Views2,010,758
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view