http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

คนไทยอายุยืนแต่มีโรคเรื้อรังก่อนวัย

คนไทยอายุยืน แต่ป่วยโรคเรื้อรังก่อนวัยอันควร

 เผยคนไทยอายุยืนยาวขึ้น แต่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังก่อนวัยหรือเร็วขึ้น ชี้ต้องทนเจ็บป่วยไปจนกว่าจะตาย เร่งดัน 5 ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาเริ่มจากปลายทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพตนเอง

 นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ประธานอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวบรรยายในหัวข้อ “หลักการแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค” ในการประชุมพัฒนางานการมีส่วนร่วมเครือข่ายองค์กรประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่า การสร้างเสริมสุขภาพไม่ใช่แค่เรื่องการฉีดวัคซีน แจกถุงยางอนามัย หรือการให้สุขศึกษาเท่านั้น แต่เป็นกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ เรียกว่าเป็นการเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน โดยทำให้มีความรู้เพื่อดูแลตนเอง ซึ่งการมีสุขภาพที่ดีต้องมีองค์ประกอบที่ดีตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด 3 ด้าน ได้แก่ กาย ใจ และสังคม บวกกับที่ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ระบุเพิ่มเติม คือ จิตวิญญาณ ก็จะทำให้เกิดความสามารถในการสร้างผลผลิตต่อเศรษฐกิจและสังคมได้ เกิดสิ่งแวดล้อมที่ดี สุขภาวะที่ดี ซึ่งถือเป็นปัจจัยพื้นฐาน

 นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า การจะทำให้เกิดสุขภาพที่ดีจนเกิดสุขภาวะ ต้องเริ่มที่ปลายทาง คือจากตัวชาวบ้านก่อน และขยายไปยังครอบครัว ชุมชน ตำบล อำเภอ และจังหวัด จึงจะสำเร็จ แต่หากให้หน่วยงานกลางกำหนดลงไปคงทำไม่ได้ เพราะเรื่องเหล่านี้ปลายทางจะทราบปัญหาสุขภาพในพื้นที่ที่เกิดขึ้น และจะสามารถแก้ไขได้ถูกจุด นอกจากนี้ เมื่อดูผลตอบแทนด้านสุขภาพ หากต้องการได้ผลตอบแทนที่ดีด้วยการมีสุขภาพที่ดีนั้น จะต้องมีการดูแลและสร้างสุขภาพที่ดีไปตลอดชีวิต ไม่แค่ช่วงใดช่วงหนึ่งของอายุ และยังต้องเริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์มารดา การตรวจและดูแลครรภ์ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ประเทศได้คุณภาพประชากรที่ดี แต่ต้องเป็นการดูแลสุขภาพที่ต้องทำต่อเนื่องไปจนตลอดชีวิต

 “ที่เห็นได้ชัดคือปัจจุบันผู้หญิงไทยมีอายุยืนยาวขึ้น แต่กลับป่วยด้วยโรคเรื้อรังเร็วขึ้น เช่น โรคข้ออักเสบ หากป่วยตอนอายุ 40 ปี หมายความว่าจะต้องทนเจ็บป่วยด้วยโรคข้อไปจนกว่าจะเสียชีวิต เมื่อเป็นเช่นนี้ต้องถามว่าการมีชีวิตที่ยืนยาวเป็นตัวชี้วัดสุขภาวะที่ดีหรือไม่ ดังนั้น จึงต้องมีการผลักดันให้เกิดดูแลสุขภาพด้วยตนเอง เพราะเป็นสุขภาพของตนเอง เพื่อให้ชีวิตมีคุณภาพในระยะยาว” นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าว

 นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวด้วยว่า กระบวนการที่ทำให้เกิดการสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดีต้องใช้การมีส่วนร่วม โดยเฉพาะจากเครือข่ายในพื้นที่ เบื้องต้นจึงมีการกำหนด 5 ยุทธศาสตร์ที่เน้นการส่งเสริมและมีส่วนร่วมเครือข่ายองค์กรประชาชนเพื่อขับเคลื่อน คือ 1.เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกและมาตรฐานการคุ้มครองด้านประกันสุขภาพสำหรับทุกคนที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย 2.พัฒนากระบวนการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ และปราศจากช่องว่างกับองค์กรด้านสุขภาพ ภาคีทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่ความเป็นเจ้าของระบบร่วมกัน 3.สร้างความเข้มแข็งของระบบบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะระบบปฐมภูมิที่เหมาะสมในทุกมิติและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ 4.หนุนเสริมระบบหลักประกันสุขภาพทุกระบบของประเทศ ให้เกิดการบริการที่เชื่อมโยง สอดคล้องและกลมกลืนกัน และ 5.เสริมสร้างและพัฒนาธรรมาภิบาลของการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพ หากสามารถดำเนินการได้ตามยุทธศาสตร์นี้จะช่วยให้เกิดระบบที่เข้มแข็งและช่วยดูแลให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้

 ที่มา : เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/38622

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,606
Page Views2,010,780
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view