http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย.ดำเนินคดีเดือนเดียว 122 ราย 1.7 ล้าน

อย.เผยผลดำเนินคดีเดือนเดียว 122 ราย ปรับมูลค่ากว่า 1.7 ล้าน

         อย. เผยดำเนินคดีช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา พบโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายจำนวนมากถึง 122 ราย

ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ และเครื่องสำอางทางสื่อต่าง ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต และโอ้อวดสรรพคุณ

เกินจริง  โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโฆษณาเข้าข่ายเป็นยา ทำให้เสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง พร้อม

เตือนผู้ประกอบการ หากกระทำผิดซ้ำจะได้รับโทษทวีคูณ สำหรับผู้บริโภค หากพบเบาะแสการโฆษณาโอ้อวด

สรรพคุณเกินจริง หรือพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายขอให้แจ้งที่ อย. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

เพื่อดำเนินการให้หลาบจำ

              ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และโฆษกสำนักงานคณะกรรมการอาหาร

และยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์

สุขภาพทางสื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง หากพบการโฆษณาที่ไม่ได้ขออนุญาตหรือมีการโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงหลอกลวง

ผู้บริโภคให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ จะมีการดำเนินการตามกฎหมายอย่างเฉียบขาด ทั้งการเปรียบเทียบปรับ ดำเนินคดี

และแจ้งให้เจ้าของผลิตภัณฑ์และสื่อโฆษณาระงับการโฆษณาทันที พร้อมทั้งส่งข้อมูลให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการ

กระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

โดยบูรณาการการทำงานร่วมกัน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และ

กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก. ปคบ.) สำหรับในส่วนภูมิภาคมอบ

ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดดำเนินการ

         ในช่วงเดือนธันวาคม 2556 อย. ได้ดำเนินคดีกับผู้ประกอบการจำนวนทั้งสิ้น 122 คดี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,728,500

บาท พบว่าเป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตในผลิตภัณฑ์อาหารมากถึง 51 คดี รองลงมาเป็นผลิตภัณฑ์ยา 22 คดี

ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ 1 คดี เครื่องสำอาง 2 คดี และคดีอื่นๆ อีก 46 คดี ส่วนมากพบการโฆษณาทางนิตยสาร

โทรทัศน์ดาวเทียม และเว็บไซต์ โดยพบโฆษณาในลักษณะโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง และไม่ได้ขออนุญาตโฆษณา ใน

ผลิตภัณฑ์นม เช่น “  แสดงประโยชน์ลักษณะน้ำนมแพะคล้ายกับนมคน มีโปรตีนที่มีโครงสร้างใกล้เคียงนมคน ย่อยง่าย

ช่วยลดปฏิกิริยาการเกิดภูมิแพ้ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ไม่ทำให้ท้องผูก แสดงประโยชน์ในลักษณะมีโฟเลตสูง ช่วยป้องกัน

ความพิการของลูกในครรภ์ เป็นต้น” ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “ระบุข้อความคุณแน่ใจหรือ? แค่แคลเซียม จะเพียงพอต่อ

กระดูกคุณ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ให้มากกว่าแคลเซียม เป็นต้น” อ้างช่วยคุมน้ำหนัก เผาผลาญไขมัน ทำให้ผิวพรรณ

สวยเปล่งปลั่งกระจ่างใส ช่วยลดอาการปวดข้อ ปวดกระดูก เสริมสร้างส่วนที่สึกหรอของร่างกาย บำรุงตับ บำรุงประสาท

และสมอง เสริมสร้างความจำและป้องกันโรคอัลไซเมอร์เป็นต้น ”

               ซึ่งข้อความโฆษณาเหล่านี้ล้วนเป็นการโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาตและเข้าข่ายหลอกลวงโอ้อวดเกินจริงทั้งสิ้น  เพราะ

ผลิตภัณฑ์อาหารไม่ใช่ยา ไม่สามารถอวดอ้างรักษาโรคได้ สำหรับผลิตภัณฑ์ยา พบการโฆษณาขายยาโดยแสดงสรรพคุณ

อันเป็นเท็จ โฆษณาขายยาโดยมีการรับรองหรือยกย่องสรรพคุณโดยบุคคลอื่น และโฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น

“ระบุมีสรรพคุณบำรุงร่างกายสำหรับผู้หญิง รักษาอาการปวดท้องปวดประจำเดือน เลือดออกเป็นลิ่ม..เป็นต้น” “อ้างช่วย

เสริมสร้างกำลังให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยบำรุงปอดและหัวใจ มีส่วนในการบำรุงสมอง ช่วยปรับระบบประสาทให้สมดุล อ้าง

รักษาโรคมะเร็ง หัวใจ เบาหวาน อัมพฤกต์ อัมพาต” ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พบการโฆษณาเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้

รับอนุญาตและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง พบการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยว

กับเครื่องสำอาง เป็นต้น

           ภก.ประพนธ์ อางตระกูล กล่าวในตอนท้ายว่า ขอเตือนประชาชนอย่าได้ซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้ขออนุญาตจาก

อย. ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ และอย่าหลงเชื่อการโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณ

เกินจริงเพราะจะทำให้สิ้นเปลืองเงินทองโดยไม่ได้ผลตามที่โฆษณาอวดอ้าง มิหนำซ้ำยังอาจได้รับอันตรายจากผลิต

ภัณฑ์นั้น หรือเสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง ทั้งนี้ อย. ได้มีการดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดตามพระราช

บัญญัติต่างๆ ในความรับผิดชอบของ อย.เป็นประจำสม่ำเสมอ โดยผู้สนใจสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้กระทำผิดพร้อม

รายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ www.fda.moph.go.th คลิก “ ผลการดำเนินคดี ” เพื่อเป็นข้อมูลในการเฝ้าระวัง และหาก

พบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องขออนุญาตจาก อย. แต่ไม่ขออนุญาต หรือพบการโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค ขอให้

ร้องเรียนมายังสายด่วน อย. โทร. 1556เพื่อ อย. จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

          ที่มา : กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค 14 มกราคม 2557 ข่าวแจก 24 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557__

http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ผลดำเนินคดีธันวาคม56.pdf

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,483
Page Views2,010,656
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view