http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะดูแลเด็กใกล้ชิดป้องกันอุบัติภัย

แนะดูแลเด็กใกล้ชิด ป้องกันอุบัติภัยในเด็ก

 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เตือนอุบัติภัยในเด็กมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทั้งอุบัติเหตุทางถนน จมน้ำ และไฟฟ้าดูด พร้อมแนะผู้ปกครองดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด 

ควรเพิ่มความระมัดระวังในการพาเด็กเดินถนน ข้ามถนน  ให้เด็กสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่โดยสารรถจักรยานยนต์ ไม่นำเด็กซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์เกิน 2 คน พร้อมดูแลมิให้เด็กเล่นน้ำในอ่างน้ำหรืออาบน้ำตามลำพัง ให้เด็กสวมเสื้อชูชีพทุกครั้งที่ท่องที่ยวทางน้ำหรือประกอบกิจกรรมทางน้ำ รวมทั้งติดตั้งปลั๊กไฟให้สูงจากพื้นและพ้นจากมือเด็ก จัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่ให้เด็กใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า อุบัติภัยในเด็กมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากความซุกซนและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก การไม่ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและสภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัย เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอเตือนอุบัติภัยที่มักก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กดังนี้

อุบัติเหตุทางถนน :

ควรให้เด็กเดินชิดด้านในของถนนหรือบนฟุตบาท โดยจูงมือเด็กให้แน่น ไม่พาเด็กเดินบนถนน และไม่ควรให้เด็กวิ่งเล่นบริเวณริมถนน เพื่อป้องกันเด็กถูกรถเฉี่ยวชน  พร้อมพาเด็กข้ามถนนตรงทางม้าลาย สะพานลอยหรือบริเวณที่ปลอดภัย ไม่พาเด็กวิ่งข้ามถนนหรือวิ่งตัดหน้ารถในระยะกระชั้นชิด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ หากนำเด็กโดยสารรถจักรยานยนต์ ควรให้เด็กสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานและมีขนาดพอดีกับศีรษะเด็ก

ไม่นำเด็กเล็กโดยสารรถจักรยานยนต์ รวมถึงไม่นำเด็กซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์มากกว่า 2 คน เพราะจะทำให้รถทรงตัวไม่ดี ทำให้เด็กพลัดตกจากรถได้ กรณีนำเด็กโดยสารรถยนต์ ควรให้เด็กนั่งที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กบริเวณตอนกลางของเบาะหลังรถ ไม่ควรนำเด็กนั่งตักขับรถ เพราะจะส่งผลต่อสมรรถนะและสมาธิในการขับรถ จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ พร้อมกดล็อกประตูและกระจกรถ เพื่อป้องกันเด็กยื่นศีรษะ แขน ขา ออกนอกรถ ทำให้ได้รับอันตราย

อุบัติภัยจากการจมน้ำ :

กรณีเป็นเด็กอายุ 1- 4 ปี ไม่ควรให้เด็กเล่นน้ำในอ่างน้ำหรืออาบน้ำในห้องน้ำตามลำพัง ปิดประตูห้องน้ำให้สนิท จัดให้มีฝาปิดครอบภาชนะเก็บน้ำ พร้อมจัดทำรั้วกั้นรอบบ่อน้ำ สระน้ำ อ่างเลี้ยงปลา รวมถึงไม่ให้เด็กเล่นใกล้แหล่งน้ำ เพราะเด็กอาจลื่นตกน้ำ ทำให้จมน้ำเสียชีวิต กรณีเป็นเด็กอายุ 5 – 17 ปี ควรสอนให้เด็กว่ายน้ำเป็น พร้อมดูแลเด็กขณะเล่นน้ำอย่างใกล้ชิด รวมถึงให้เด็กสวมเสื้อชูชีพทุกครั้งที่ท่องเที่ยวทางน้ำและประกอบกิจกรรมทางน้ำ หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะช่วยพยุงตัวเด็กไม่ให้จมน้ำ

อุบัติภัยจากไฟฟ้า :

ควรติดตั้งปลั๊กไฟในระดับที่พ้นจากมือเด็กโดยติดตั้งปลั๊กไฟให้สูงจากพื้นประมาณ 1.5 เมตร หากปลั๊กไฟอยู่ในระดับที่ต่ำ ควรจัดหาที่ครอบปลั๊กไฟ เพื่อป้องกันเด็กเล่นปลั๊กไฟ ทำให้ถูกไฟฟ้าดูด พร้อมจัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณที่ปลอดภัย โดยเฉพาะพัดลม เตารีด กระติกน้ำร้อน จะช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับเด็ก ไม่ให้เด็กใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะการเสียบและถอดปลั๊กไฟ การเปิด-ปิดสวิตซ์ไฟ พร้อมถอดปลั๊กไฟและปิดสวิตซ์ไฟทุกครั้งหลังใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะความซุกซนและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก อาจทำให้เด็กถูกไฟฟ้าดูดได้ ท้ายนี้ ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด พร้อมสอนเด็กให้เรียนรู้

วิธีป้องกันอุบัติภัย จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายกับเด็ก

ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/situations/38389

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,208
Page Views2,012,394
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view