http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ทลายแหล่งผลิตยาแผนโบราณไม่มีทะเบียน

อย. แถลงร่วม บก.ปคบ. ส่งท้ายปี 56 ทลายแหล่งผลิตยาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน

อ้างรักษาสารพัดโรค พบลักลอบใส่ยาสเตียรอยด์ อันตรายสุด ๆ ผู้ใช้อาจเสียชีวิต 

        อย. เดินหน้า จับมือตำรวจ ปคบ. และ สสจ. มหาสารคาม บุกจับแหล่งผลิตยาเม็ดลูกกลอน โฆษณา

สรรพคุณอ้างรักษาโรคปวดข้อ ปวดเส้น กระดูกทับเส้น ภูมิแพ้ ไซนัส หอบหืด ตรวจพบมียาแผนปัจจุบันเด็ก

ซา เมทาโซน ซึ่งเป็นยาสเตียรอยด์ จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น และพบยาไดโคลฟีแนค

ยาในกลุ่มยาแก้ปวด จัดเป็นยาอันตรายผสมอยู่ ยึดของกลาง มูลค่ากว่า 1.5 ล้านบาท พร้อมดำเนินคดีโทษ

ฐานผลิตยาแผนโบราณที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา  เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อซื้อยาลูกกลอนหรือยาชุด

ที่อ้างรักษาสารพัดโรค หากมีการใส่ยาสเตียรอยด์ จะมีผลข้างเคียงสูง ถึงขั้นเสียชีวิต

          นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา , ภก.ประพนธ์ อางตระกูล

รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และโฆษก อย. ร่วมกับตำรวจ บก.ปคบ. กองบัญชาการตำรวจ

สอบสวนกลาง นำทีมโดย พล.ต.ต.นรศักดิ์ เหมนิธิ ผบก. ปคบ., พ.ต.อ.ไพฑูรย์ คุ้มสระพรหม

รอง ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.ล้ำพันธุ์ พรรธนประเทศ ผกก.4 บก.ปคบ. และ พ.ต.ท.อานันท์ วิชเศรษฐสมิต สว.

กก.4 บก.ปคบ. ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขในกวาดล้างการผลิตและ

จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายให้หมดสิ้นไปจากเมืองไ

        สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้สนองนโยบายดังกล่าวอย่างเข้มงวด เพื่อคุ้มครองความ

ปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อย. ร่วมกับ บก.ปคบ. ทลายจับยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน

ตำรับยาและลักลอบใส่ยาสเตียรอยด์อย่างต่อเนื่องเพราะมักพบปัญหาการใส่ยาสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ

และประชาชนบางส่วนเชื่อว่ารับประทานแล้วอาการเจ็บป่วยหายและได้ผลเร็ว โดยไม่รู้ว่ายาดังกล่าวมักไม่ได้

ขึ้นทะเบียนตำรับยาและอาจมีส่วนผสมของยาอันตราย

          ดังนั้น อย. จึงประสานงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเฝ้าระวัง เพื่อมิให้ประชาชนในท้องถิ่น

ตกเป็นเหยื่อ ล่าสุด สสจ. เชียงใหม่ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลสันทรายว่ามีประชาชนซื้อยาลูกกลอน

สมุนไพรจากคนในชุมชน ลักษณะเป็นยาเม็ดลูกกลอน จัดเป็นชุด ๆ ละ 5 เม็ด มี 3 สี คือสีแดง 2 เม็ด สี

น้ำตาล 2 เม็ด และสีดำ 1 เม็ด ฉลากระบุ ยาสมุนไพร หมอชู โฆษณาสรรพคุณรักษาโรคปวดข้อ ปวดเส้น

กระดูกทับเส้น ภูมิแพ้ ไซนัส โรคหอบหืด และมียาชุดลักษณะดังกล่าวฉลากระบุ เภสัชกรแพทย์แผนไทย ทอง

อินทร์ จึงได้ส่งตรวจวิเคราะห์สเตียรอยด์ พบว่า ยาเม็ดสีแดงและสีน้ำตาล พบเด็กซาเมทาโซน ไดโคลฟีแนค

และวิตามินบี 1 ยาเม็ดลูกกลอนสีดำ พบยาไดโคลฟีแนค เพื่อมิให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากยาเม็ดลูกกลอน

ดังกล่าว

         ทาง อย. จึงได้ประสานงานกับเครือข่ายจังหวัดเชียงใหม่ สืบสวนพบว่า ยาลูกกลอนที่พบปัญหานั้นผลิตและ

ขายอยู่ที่จังหวัดมหาสารคาม ทั้งนี้ อย. จึงได้ขอความร่วมมือจากตำรวจ ปคบ. ในการติดตามและตรวจจับ

โดยประสานไปที่ สสจ. มหาสารคาม นำหมายค้นของศาลจังหวัดมหาสารคาม เข้าตรวจสอบสถานที่ผลิต

2 แห่ง เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2556 แห่งแรก เลขที่ 2 ซอยริมคลองสมถวิล 3 ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม

และแห่งที่สองคือสถานที่ผลิตยาแพทย์แผนไทย ทองอินทร์เภสัช เลขที่ 1348/3 ถ.สมถวิลราษฎร์ 3 ต.ตลาด

อ.เมือง จ.มหาสารคาม ผลการตรวจจับ พบวัตถุดิบสมุนไพรที่ใช้ผลิตยาจำนวนมาก และพ บ ย า เ ม็ด ลูก ก ล อ น

สำ เ ร็จ รูป ที่มีห ล า ย ท ร ง แ ล ะ ห ล า ย สี ซึ่ง ส่ว น ใ ห ญ่ไ ม่ไ ด้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ตัวอย่างเช่น เหงือก

ปลาหมอ พริกไทย ผสมน้ำผึ้ง (ยาลูกกลอนเม็ดกลมสีดำ) อ้างสรรพคุณ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย โรคภูมิแพ้

หวัดเรื้อรัง หืดหอบ อาการนอนไม่หลับ เป็นยาอายุวัฒนะ,หญ้าหนวดแมวผสมน้ำผึ้ง (ยาลูกกลอนเม็ดกลมสีดำ)

อ้างสรรพคุณ ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว , ยากัดไขมัน (ผู้ที่มีความอ้วนผิดปกติ) (ยาสมุน

ไพรปรุงเฉพาะคนไข้) อ้างสรรพคุณ ใช้รักษาโรคกัดไขมันในเส้นโลหิต ละลายไขมันทั่วร่างกาย และลดความดัน

สูง-ต่ำ และยาแผนโบราณไม่มีฉลาก เป็นต้น  มูลค่าของกลางกว่า 1.5 ล้านบาท เจ้าหน้าที่ได้ยึดของกลางและ

เก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์หายาสเตียรอยด์ต่อไป  ในเบื้องต้นได้แจ้งข้อหาที่จะดำเนินคดี คือ ผลิตและขายยา

ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

           เลขาธิการ ฯ อย. กล่าวต่อว่า การลักลอบผสมยาเด็กซาเมทาโซน ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งจัดเป็น

ยาควบคุมพิเศษ ต้องสั่งจ่ายและควบคุมการใช้โดยแพทย์เท่านั้น เพราะแม้เป็นยาที่ดูเหมือนจะให้ผลการรักษา

หายเร็วทันใจ แต่เป็นยาที่มีผลข้างเคียงสูงมากมาย เช่น มีอาการบวมน้ำ กระดูกผุ เยื่อบุกระเพาะอาหารบาง

ลงอาจถึงขั้นกระเพาะทะลุ ภูมิต้านทานโรคต่ำ บางรายถึงขั้นไตวาย เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ยังพบยา

ไดโคลฟีแนค ซึ่งเป็นยาในกลุ่มยาแก้ปวด มีฤทธิ์ลดการอักสบ เช่นปวดข้อปวดกระดูก จัดเป็นยาอันตราย ต้อง

จ่ายยาโดยเภสัชกร ไม่ควรซื้อยามากินเอง เพราะมีผลข้างเคียงมากมาย โดยมีฤทธิ์ระคายเคืองระบบทางเดิน

อาหาร หากแพ้ยา จะทำให้คลื่นไส้มาก หายใจติดขัด อาการอื่นที่พบได้ เช่น ปวดศีรษะ ผื่นคัน สภาวะตับ

อักเสบ ไตล้มเหลวเฉียบพลัน ขณะนี้ยังปรากฏว่ามีการระบาดของยาชุดในต่างจังหวัดอยู่จำนวนมากและ

แผ่วงกว้างไปทั่ว โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ ผู้ที่ใช้แรงในการทำงาน ซึ่งมักจะพบว่า ยาชุดดังกล่าวมีการลักลอบ

ผสมยาสเตียรอยด์ และยาอันตรายอื่น ๆ ที่สำคัญโฆษณาชวนเชื่ออวดอ้างรักษาสารพัดโรค โดยเฉพาะโรค

เรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคข้อ ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต มะเร็ง เป็นต้น เมื่อใช้ยาในช่วงแรก ๆ

จะรู้สึกหายเร็วทันใจ แต่ในความเป็นจริงแล้ว แค่เป็นการบดบังภาวะโรค เข้าใจว่าเป็นยาดี กินแล้วถูกกับโรค

ทำให้มีการกินอย่างต่อเนื่อง เกิดการสะสมพิษของยา ทำให้เจ็บป่วยหนักกว่าเดิม บางรายถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด 

       อย่างไรก็ตาม อย.จะเดินหน้ากวาดล้างยาแผนโบราณที่มีส่วนผสมยาสเตียรอยด์อย่างต่อเนื่องโดยร่วมมือกับ บก.ปคบ.

และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ที่จะเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้บริโภคในการใช้ยา นอกจากนี้ ยังจะ

ร่วมมือกับองค์กรอิสระ มูลนิธิต่าง ๆ ในการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อยาแผนโบราณ ดังนั้น ขอแนะนำผู้บริโภค

ควรเลือกซื้อยาจากร้านขายยาที่มีใบอนุญาตถูกต้อง และควรตรวจสอบฉลากยา โดยฉลากต้องระบุชื่อยา เลขทะเบียน

ตำรับยา เช่น ทะเบียนยาเลขที่ G 888/50 ปริมาณของยาที่บรรจุ เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต ชื่อและที่ตั้งของ

ผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตยา และแสดงคำว่า “ยาแผนโบราณ” ให้เห็นได้ชัดเจน เป็นต้น

      หากพบเบาะแสการผลิต/จำหน่ายยาแผนโบราณผิดกฎหมาย หรือทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ขอให้แจ้งมาได้

ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หรือสายด่วน บก.ปคบ 1135 เพื่อดำเนินคดี

กับผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวด

ที่มา : กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค 27 ธันวาคม 2556 แถลงข่าว 6 /ปีงบประมาณ พ.ศ.2557__

http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/อย._แถลงร่วม_บก.ปคบ.แถลงจับแหล่งผลิตยาแผนโบราณ.pdf

 

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,377
Page Views2,012,563
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view