http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ระวัง! ยาทาผิวขาว อันตราย-ขาลาย

อย.เตือนภัยครีมผิวขาว หลังพบวัยรุ่นเพชรบุรีมีผลข้างเคียงเกิดจ้ำเลือดจนน่องลาย พบทั้ง สเตียรอยด์และสารต้องห้ามเพียบ บางชนิดมีส่วนผสมยาอันตราย ใช้แล้วแพ้ผื่นคัน เผยพบในครีมกระปุกแบ่งขาย ผสมเอง และบนฉลากภาษาจีนที่วางขายตามตลาดนัด ร้านเสริมสวยและอินเตอร์เน็ต กำลังฮิตในหมู่วัยรุ่นขนาดผิวคล้ำแต่เกิดยังซื้อใช้ หวังให้ผิวขาวมีออร่า

เมื่อวันที่ 5 ม.ค. นายประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ขณะนี้วัยรุ่นและนักศึกษาไทยมีค่านิยมอยากมีผิวขาวใสหรือที่เรียกว่าผิวมีออร่า จนทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ทำให้ผิวขาวได้รับความนิยม มีการโฆษณา ชวนเชื่อและจำหน่ายทางอินเตอร์เน็ต หรือบอกปากต่อปากในกลุ่มเพื่อนและคนใกล้ชิด ทำให้อยากลองใช้แม้ตัวเองจะมีผิวคล้ำมาแต่กำเนิดก็ตาม ซึ่งเกิดความเสี่ยงได้รับผลข้างเคียงจากเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน

นายประพนธ์กล่าวว่า จากการสำรวจท้องตลาดขณะนี้พบผลิตภัณฑ์ใหม่กำลังได้รับความนิยม เช่น ครีมกระปุกหรือครีมที่ขายเป็นกิโลกรัมและแบ่งขายเป็นกระปุกหรือเป็นขวดที่ไม่มีฉลาก โดยจ.เพชรบุรีได้รับรายงานว่ากลุ่มวัยรุ่นอายุ 16-18 ปี มีอาการแพ้ ผิวหนังมีผื่นคันและแตกเป็นลายที่บริเวณขา ซึ่งเกิดจากการใช้เครื่องสำอาง นักเรียนให้ข้อมูลว่าส่วนใหญ่ซื้อครีมจากร้านค้าแผงลอยในตลาดนัด รองลงมาคือร้านจำหน่ายเครื่องสำอางที่น่าเชื่อถือ ร้านเสริมสวย ร้านชำทั่วไป สั่งซื้อจากอินเตอร์เน็ต และซื้อจากเพื่อนและญาติ โดยกลุ่มวัยรุ่นใช้ครีมดังกล่าวทาผิววันละ 2-3 ครั้ง นาน 6 เดือนถึง 2 ปี จนเกิดอาการที่กล่าวมาข้างต้น

น.ส.จารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม กล่าวว่า ทางศูนย์และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ติดตามคุ้มครองผู้บริโภคมากว่า 1 ปี โดยเก็บตัวอย่างครีม โลชั่นทาผิว 11 ตัวอย่างที่วางขายในจ.เพชรบุรี ประกอบด้วยครีม 4 ประเภท ได้แก่ 1.ครีมผสมเองแบ่งขายใส่กระปุกที่ไม่มีฉลาก 2.ครีมที่ผสมเองแบ่งขายใส่กระปุกที่มีฉลากแต่ไม่ได้จดแจ้ง 3.ครีมที่มีฉลากภาษาจีน และ 4.ครีมที่มีฉลากภาษาจีนซึ่งเป็นยาใช้ภายนอก ผลตรวจวิเคราะห์พบสารสเตียรอยด์ชนิดโคลเบทาซอล โพรพิโอเนต (Clobetasol propionate) ในครีมทั้ง 11 ตัวอย่าง ปริมาณ 8.0-449.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นส่วนผสมที่สูงมาก นอกจากนี้ยังตรวจพบสารคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ซึ่งจัดเป็นยาในทุกตัวอย่าง และบางตัวอย่างตรวจพบการใส่วัตถุกันเสีย 2 ชนิด คือ เมทิลพาราเบน (Methylparaben) และโพรพิลพราราเบน (Propylparaben) ด้วย

น.ส.จารุวรรณกล่าวว่า สารโคลเบทาซอล โพรพิโอเนต เป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง สารดังกล่าวเป็นยาสเตียรอยด์ใช้ทาภายนอกร่างกายที่มีความแรงสูงสุด ใช้รักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน โรคผื่นผิวหนังที่ดื้อยาสเตียรอยด์ชนิดรุนแรงปานกลาง หรือใช้ในบริเวณผิวหนังที่หนา เช่น ขาหรือส้นเท้า สารชนิดนี้เมื่อใช้ไปนานๆ จะทำให้ผิวหนังบางลง เกิดจ้ำเลือดง่าย หรือมีรอยแตกที่ผิวหนัง เป็นต้น เบื้องต้นพบว่าครีมดังกล่าวมาจากประเทศจีน มักขายตามแนวชายแดน มีฉลากภาษาจีนเป็นยาใช้ภายนอก ข้างกล่องจะมีตัวย่อ OTC (Over the Counter drug) หมายถึงกลุ่มยาที่ประชาชนสามารถเลือกซื้อใช้ได้เองจากร้านขายยาและร้านค้าทั่วไปในประเทศจีน แต่ในไทยจัดเป็นยาอันตราย ต้องซื้อจากร้านขายยาที่มีเภสัชกรแผนปัจจุบันประจำอยู่เท่านั้น

น.ส.จารุวรรณกล่าวว่า ปี 2557 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม ร่วมกับกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในเครือข่ายทั้ง 8 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม และสุพรรณบุรี เฝ้าระวังการใช้เครื่องสำอางอันตรายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องเพื่อกวาดล้างเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐานจากท้องตลาด เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความรู้ต่างๆ จากการใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมสารอันตรายหรือสารต้องห้ามเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ผู้ประกอบการผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางจะต้องไปจดแจ้งกับ อย. ก่อนวางขายในท้องตลาด เมื่อจดแจ้งแล้วผลิตภัณฑ์นั้นจะได้เลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก โดยจะต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้งดังกล่าวไว้บนฉลากของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วย ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ก่อนตัดสินใจซื้อจากเว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือจาก Oryor Smart Application หรือสอบถามที่ อย. โทร.0-2590-7441 หรือ 0-2590-7273-4 

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 7 ว่าด้วยการกำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ปรับปรุงจากประกาศฉบับเดิมให้มีความทันสมัยตามข้อเสนอของคณะกรรมการควบคุมเครื่องสำอาง และเพื่อการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งรมว.สาธารณสุขลงนามแล้วตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค. 2556 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2556 มีผลบังคับใช้หลังจากครบ 180 วันนับตั้งแต่วันที่ลงในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 15 มี.ค.2557 เป็นต้นไป 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/38314

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,570
Page Views2,012,756
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view