http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ลดตาย-เจ็บ สัญจรปีใหม่ปลอดภัย

ลดตาย-ลดเจ็บ สัญจรปีใหม่อย่างปลอดภัย

 สพฉ.จัดเสวนา ลดตาย-ลดเจ็บ สัญจรปีใหม่อย่างปลอดภัย ด้วยการเรียนรู้เทคนิคช่วยชีวิตฉุกเฉิน ระบุไทยตายจากอุบัติเหตุเป็นอันดับ 3 ของโลก ปัจจัยเกิดจาก คน-รถ-สภาพรถ...

 เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 56 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จัดเสวนา "ลดตาย-ลดเจ็บ" สัญจรปีใหม่อย่างปลอดภัย ด้วยการเรียนรู้เทคนิคช่วยชีวิตฉุกเฉิน พร้อมรณรงค์ให้ประชาชนหลีกทางให้รถพยาบาล โดยให้คิดเสมอว่าคนในรถฉุกเฉินเป็นญาติ เพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

 นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ในแต่ละปี จะมีผู้ป่วยฉุกเฉินและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เป็นจำนวนมาก จากสถิติในช่วง 7 วันอันตราย ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2556 พบการเกิดอุบัติเหตุทางถนน มีผู้เสียชีวิต 356 ราย บาดเจ็บ 3,329 คน จากการวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ 3 ด้าน คือ

1.พฤติกรรมของคน โดยเกิดจากการขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ผู้ขับขี่มีอาการอ่อนล้า หลับใน การไม่สวมหมวกะนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และการโดยสารท้ายรถกระบะ

2.รถ คือสภาพรถไม่พร้อมต่อการเดินทาง และ

3.สภาพถนน คือถนนที่มีการเปลี่ยนแปลง ทางโค้ง ทางแยก และจากสถิติของอุบัติเหตุดังกล่าว ส่งผลให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 3 ของโลก ที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุมากที่สุด คิดเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 ราย

 อย่างไรก็ตาม สพฉ.ได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมแผนป้องกันและลดอุบัติเหตุ โดยได้ประสานไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุ และสั่งการทางการแพทย์ฉุกเฉินทั่วประเทศ ทั้ง 78 ศูนย์ ให้ตรวจสอบหมายเลย 1669 เพื่อพร้อมใช้งาน ตลอด 24 ชั่วโมง และสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินอีกทาง คือ เรียกร้องให้ประชาชนที่ใช้รถใช้ถนน หลีกเลี่ยงทางให้ทันทีเมื่อได้ยินเสียงรถพยาบาลฉุกเฉิน ควรชิดซ้ายหรือขวา เพื่อเปิดช่องว่างให้รถพยาบาลฉุกเฉินผ่านไปได้ และนำเสนอหลักคิดว่าให้คิดเสมอว่าผู้ป่วยฉุกเฉินที่อยู่ในรถอาจจะเป็นญาติของเรา

 ด้าน นพ.อัจฉริยะ แพงมา ผู้อำนวยการสำนักจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ได้ให้ความรู้และการสังเกตรถพยาบาลฉุกเฉิน โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.รถพยาบาลทั่วไป ที่ใช้ในการส่งต่อผู้ป่วย จะเป็นรถตู้ มีไฟบนหลังคาเป็นสีน้ำเงิน และ 2.รถพยาบาลการแพทย์ฉุกเฉิน จะเป็นในลักษณะของรถตู้และรถกระบะ โดยมีสัญลักษณ์เป็นไฟสีแดง-น้ำเงิน อยู่บนหลังคารถ ซึ่งไฟสีแดงหมายถึง รถต้องไปรับผู้ป่วย คือไม่มีผู้ป่วยอยู่บนรถ และไฟสีน้ำเงิน หมายถึง มีผู้ป่วยที่อาการหนักอยู่ในรถ ต้องเร่งนำตัวส่งโรงพยาบาล โดยตั้งเป้าว่า ต้องนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลภายในเวลา 8 นาที จึงเป็นเหตุผลที่รถพยาบาลฉุกเฉินต้องใช้ความเร็วมากกว่าปกติ

 ทั้งนี้ ทางสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ในฐานะที่ต้องทำหน้าที่ในการกำกับดูแลรถพยาบาลการแพทย์ฉุกเฉิน จึงกำหนดสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสภาพ และการตรวจรับรองรถ โดยมีในเรื่องของสติกเกอร์ที่ติดกับรถฉุกเฉิน ซึ่งสติกเกอร์จะแสดงให้เห็นว่า รถคันนี้เป็นรถของการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยเงื่อนไขของรถที่จะมีสติ๊กเกอร์นี้ได้ จะต้องเป็นรถที่ได้มาตราฐาน มีอุปกรณ์พร้อมและบุคลกรที่เพียงพอ และสิ่งสำคัญคือจะต้องมีหน่วยงานที่สังกัดที่ชัดเจน โดยสติ๊กเกอร์นี้มีผลใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2557 เป็นต้นไป และมีระยะเวลาสิ้นสุด 2 ปี

 ที่มา :  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/38231

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,355
Page Views2,012,541
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view